CIMjournal
banner ภูมิแพ้ผู้ใหญ่ 2

Allergy and COVID-19


พญ. อัญชลี เสนะวงษ์
กุมารเวชศาสตร์ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา
สถาบันภูมิแพ้ Samitivej Allergy Institute (SAI)
โรงพยาบาล BNH สมิติเวชธนบุรี และสมิติเวชศรีราชา

 

อาการแตกต่างกันอย่างไร เราจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นแค่ภูมิแพ้ หรือโรค COVID-19


โรคหอบหืด หรือภูมิแพ้จมูกจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็น COVID-19 หรือไม่

จากรายงานการศึกษาในประเทศจีน เกาหลี และอเมริกา ยังไม่พบว่า หอบหืดเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโควิดชนิดรุนแรง หากโรคหอบหืดควบคุมอาการไม่ได้จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคปอดอักเสบที่รุนแรงมากขึ้น


โรคหอบหืด หรือภูมิแพ้จมูกควรดูแลตนเองอย่างไรในช่วง COVID-19

แนะนำผู้ป่วยใช้ยาอย่างสม่ำเสมอปฏิบัติตาม asthma action plan ตามแพทย์แนะนำ หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่กระตุ้นให้เกิดอาการ

การตรวจบางอย่างอาจยังต้องมีข้อจำกัด เช่น การทดสอบสมรรถภาพปอดในคนไข้หอบหืด ยังควรหลีกเลี่ยงในช่วงที่มีการระบาดของโรค

แนะนำเลือกน้ำยาฆ่าเชื้อที่ไม่กระตุ้นให้หืดกำเริบ เช่น hydrogen peroxide (ความเข้มข้นไม่เกิน 3%) หรือ ethanol (ethyl alcohol) ไม่แนะนำ bleach หรือสารฟอกขาว (sodium hypochlorite) หรือสารจำพวกแอมโมเนีย quaternary ammonium compounds (เช่น benzalkonium chloride)


อาการไม่ได้กลิ่นจะแยกได้อย่างไรว่าเกิดจากภูมิแพ้จมูก หรือติดเชื้อ SARS-CoV-2

ในโรคภูมิแพ้จมูก ผู้ป่วยมักจะมีอาการจมูกไม่ได้กลิ่น เป็น ๆ หาย ๆ มานานมีอาการคัดแน่นจมูก คันจมูก คันตาร่วมด้วย อาการมากน้อยขึ้นกับอาการกำเริบของผู้ป่วยแต่ละคน ถ้ามีไซนัสอักเสบจะมีอาการปวดตึงหน้า น้ำมูกเขียวมีกลิ่นเหม็นได้ ในขณะที่โรค COVID-19 จะมีอาการไม่ได้กลิ่นเฉียบพลัน อาการมักพบที่เฉลี่ย 3 – 5 วัน (median time) รุนแรงมากน้อยต่างกันไป มาพร้อมกับอาการอื่น ๆ เช่น ไข้ ท้องเสีย ปวดเมื่อยตามตัวโดยอาการไม่ได้กลิ่นมักเป็นอยู่นานประมาณ 7 – 10 วัน


อาการไม่ได้กลิ่นที่เกิดจากติดเชื้อ SARS-CoV-2 มีสาเหตุแตกต่างจากภูมิแพ้จมูกอย่างไร

การติดเชื้อ SARS-CoV-2 เกิดจากการอักเสบของปลายประสาทที่เกิดจากทางเข้าของไวรัสที่เรียกว่า angiotensin-converting enzyme 2 (ACE2) and TMPRSS2 พบได้มากที่เส้นประสาทการรับกลิ่น ส่วนอาการไม่ได้กลิ่นจากโรคภูมิแพ้เยื่อบุจมูกเกิดจากการอักเสบของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เกี่ยวกับภูมิแพ้ หรือ type-2 inflammation หรือเกิดจากภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อในโพรงจมูก และไซนัส คือ โพรงอากาศรอบ ๆ จมูกในโรคไซนัสเรื้อรัง


โรคโควิดสามารถมีอาการผื่นได้หรือไม่ จะแยกจากผื่นภูมิแพ้ได้อย่างไร

อาการทางผิวหนังในโรค COVID-19 พบได้ประมาณ 12 – 20% ลักษณะที่สามารถพบได้แบ่งเป็น 1. ผื่นผดแดงทั่วไป ผื่นลมพิษ ผื่นตุ่มน้ำใสคล้ายงูสวัด หรือ 2. ผื่นที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือด (thrombovascular events) เช่น ผื่นจุดเลือดออก ผื่นคล้ายปลายมือปลายเท้าขาดเลือด (petechiae, acro-ischemia, dry gangrene) ในขณะที่โรคผื่นภูมิแพ้ อาการจะเป็นมานานผิวแห้ง มีขุย บางคนเป็นเรื้อรัง มีร่องตามผิวหนัง หรือผิวหนังสีคล้ำขึ้น
นอกจากนั้น การล้างมือบ่อย และการใช้แอลกอฮอล์เช็ดมือในช่วงนี้ อาจทำให้เกิดผื่นชนิดผิวแห้งสูญเสียความชุ่มชื้นได้ หรือแพ้สัมผัส แนะนำสารให้ความชุ่มชื้นที่มีส่วนประกอบของ hyaluronic acid, Vitamin E, ceramide หรือ urea

 

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก