พญ. อัญชลี เสนะวงษ์
ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา สถาบันภูมิแพ้ Samitivej Allergy Institute (SAI)
โรงพยาบาล BNH และ สมิติเวชธนบุรี
ผู้ป่วยหอบหืดชนิด mild asthma นั้น พบได้บ่อย และส่งผลรบกวนชีวิตประจำวัน ในอดีตผู้ป่วยโรคหอบหืดที่มีอาการน้อย มักจะได้รับการรักษาโดยใช้ Short-acting bronchodilator (SABA) เมื่อมีอาการเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่า ในผู้ป่วยโรคหอบหืดที่มีอาการไม่รุนแรง คือ มีอาการน้อยกว่า 2 ครั้งต่อเดือนนั้น ยังพบว่า มีความเสี่ยงต่อการหอบกำเริบรุนแรงได้ การศึกษาของ Dusser, Allergy 20071 พบว่า 16% ของผู้ป่วยที่มี near-fatal asthma และ 15 – 20% ของผู้ใหญ่ที่เสียชีวิตจากหอบหืดนั้น มีอาการน้อยกว่าอาทิตย์ละครั้งใน 3 เดือนที่ผ่านมา
GINA guideline 20192 มีการปรับคำแนะนำในผู้ป่วย mild asthma (ตารางที่ 1, รูปที่ 1)
ตารางที่ 1 ตารางเปรียบเทียบคำแนะนำจาก GINA guideline ปี 2018 และ 2019
รูปที่ 1 แสดง GINA guideline 2019 ในการรักษาวัยรุ่นและผู้ใหญ่
.
STEP 1: GINA 2019 ยกเลิกคำแนะนำ SABA-only treatment โดยตั้งแต่ ปี 2018 ได้เพิ่มคำแนะนำโดยให้พิจารณา daily low dose Inhaled corticosteroid (ICS) ใน step 1 เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดหอบหืดกำเริบรุนแรง และในปี 2019 ได้เพิ่มเติม preferred controller เป็น as-needed low dose combination ICS-formoterol ในผู้ป่วยวัยรุ่นและผู้ใหญ่
STEP 2: GINA 2019 ได้ปรับคำแนะนำ preferred controller options จากปี 2018 เป็น daily low dose ICS plus as-needed SABA หรือ as-needed low dose ICS-formoterol ในผู้ป่วยวัยรุ่นและผู้ใหญ่ สำหรับในผู้ป่วยเด็กยังแนะนำเป็น daily low dose ICS plus asneeded SABA
การศึกษาสำคัญเกี่ยวกับการรักษา mild asthma ได้แก่
- Novel START study (Novel Symbricort Turbuhaler Asthma Reliever Therapy)3
การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ open-label ศึกษาผู้ป่วยโรคหอบหืดที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป 668 คนที่มีอาการเข้าได้กับ GINA step 1 หรือ 2 คือ มีการรักษาแค่ as-needed SABA โดยแบ่งกลุ่มสุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้ albuterol เป็น reliever, กลุ่มที่ได้ budesonide 200 μg สองครั้งต่อวัน เป็น maintenance therapy ร่วมกับ as-needed albuterol และ กลุ่มที่ได้ budesonide-formoterol 200/6 μg (combination) as-needed เป็นเวลา 52 อาทิตย์วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาเพื่อดูอัตราการหอบกำเริบต่อปี วัตถุประสงค์รองเพื่อดูคะแนนการควบคุมอาการ ACQ-5, สมรรถภาพปอดค่า FEV1, ก๊าซไนตริกออกไซด์ในลมหายใจออก (FeNO) และจำนวนการเกิดหืดกำเริบรุนแรงผลการศึกษาพบว่า อัตราการเกิดหอบหืดกำเริบในกลุ่ม budesonideformoterol น้อยกว่าในกลุ่ม as-needed albuterol; 0.195 vs 0.4; 95% CI 0.33 to 0.72, P<0.001 คิดเป็นrelative risk ประมาณ 50% และไม่ต่างกับกลุ่ม budesonide maintenance therapy อย่างมีนัยสำคัญ; 0.195 vs 0.175; 95%CI 0.70 to 1.79, P=0.65นอกจากนั้น อัตราการเกิดหอบหืดกำเริบรุนแรงต่อปี ในกลุ่ม budesonide-formoterol ยังน้อยกว่าอีกสองกลุ่ม คือ 9 vs.23 เทียบ as-needed albuterol และ 9 vs.21 เทียบกลุ่ม budesonide maintenance ในการศึกษานี้ยังพบว่าค่าการอักเสบของหลอดลม FeNO มีค่าการลดลง ทั้งกลุ่ม budesonide-formeterol และ budesonide twice per day คือ ลดลงจากประมาณ 40 เป็น 25 ppb ในเวลา 12 เดือน บ่งบอกถึง anti-inflammatory effect ระยะยาวของการรักษา ทั้งนี้ขนาดของ budesonide ของกลุ่ม combination นั้นน้อยกว่าการใช้ budesonide วันละสองครั้ง ประมาณ 100 μg ต่อวัน (รูปที่ 2)
.
รูปที่ 2 แสดงผลการศึกษาของ Novel START study
.
การศึกษา Novel START สามารถสะท้อนถึงการรักษาจริงในเชิงปฏิบัติมากกว่า SYGMA study เนื่องจากรูปแบบการศึกษาที่เป็นแบบ open-label การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า budesonide-formoterol สามารถใช้เป็นยาควบคุมอาการในผู้ป่วยหอบหืดไม่รุนแรงและอายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไป โดยผลการศึกษานี้สอดคล้องไปกับ SYGMA study ข้อแตกต่างคือ ผู้ป่วยในการศึกษา Novel START study จะมีอาการรุนแรงน้อยกว่า SYGMA study และในการศึกษานี้ยังพบความลดลงของจำนวนการเกิดหอบหืดกำเริบรุนแรงแตกต่างจากกลุ่ม maintenance therapy.
- SYGMA study (Symbicort Given as Needed in Mild Asthma)4
การศึกษานี้ เป็นการศึกษาแบบ doubleblind ศึกษาผู้ป่วยโรคหอบหืด 3,849 คน อายุ 12 ปีขึ้นไป ที่มีอาการเข้าได้กับ GINA step 2 โดยแบ่งกลุ่ม randomized ออกเป็น 3 regimens คือ กลุ่มที่ได้ terbutaline as needed + placebo inhaler, budesodine-formoterol (200/6 μg) as needed + placebo และ twice-daily budesonide (200 μg) plus terbutaline as needed เป็นเวลา 52 อาทิตย์ โดยวัตถุประสงค์หลัก เพื่อดูจำนวนสัปดาห์ที่อาการหอบหืดนั้นควบคุมได้และวัตถุประสงค์รองเพื่อดูจำนวนการเกิดหอบหืดรุนแรงและ time to the first severe exacerbation
.
ผลการศึกษาพบว่าจำนวนสัปดาห์ที่หอบหืดควบคุมได้ในกลุ่ม budesodine-formoterol as needed นั้นดีกว่า terbutaline เพียงอย่างเดียว (34.4% vs. 31.1% of weeks; odds ratio, 1.14; 95% CI 1.00 to 1.30) แต่ยังน้อยกว่ากลุ่ม budesonide twice per day (34.4% and 44.4%; odds ratio, 0.64; 95% CI, 0.57 to 0.73) อย่างไรก็ตามผลการลดการเกิดหอบหืดรุนแรงต่อปี กลุ่ม budesodine-formoterol as needed สามารถลดได้ประมาณ 60% หรือประมาณ 2 ใน 3 เปรียบเทียบกับการใช้ SABA เพียงอย่างเดียว (0.07 vs. 0.20; rate ratio, 0.36; 95% CI, 0.27 to 0.49) และเมื่อเทียบกับกลุ่ม twice-daily budesonide นั้นไม่ต่างอย่างมีนัยสำคัญ (0.07 and 0.09, 95% CI, 0.59 to 1.16) และขนาด ICS ในกลุ่ม combination inhaler น้อยกว่า กลุ่ม regular ICS ประมาณ 20% (รูปที่ 3)
รูปที่ 3 แสดงผลการศึกษาของ SYGMA study
.
การศึกษานี้บ่งบอกถึง การใช้ budesodine-formoterol as needed นั้นสามารถลดการเกิด severe exacerbation ได้ไม่แตกต่างจาก regular ICS ในการรักษา asthma step 2 แต่การควบคุมอาการนั้นยังด้อยกว่า อย่างไรก็ตาม adherence ของการศึกษานี้สูง 60 ถึง 80% ซึ่งในทางปฏิบัติอาจจะมีค่าน้อยกว่านี้ได้
สรุปจากการศึกษาในปัจจุบันทำให้แพทย์ควรตระหนักถึงการรักษาหอบหืดในระยะไม่รุนแรงควรมีการเริ่มการใช้ ICS เมื่อเริ่มใช้ as-needed SABA และพิจารณา ICS plus formoterol เป็น preferred controller ในstep1 หรือ เป็นทางเลือกในการควบคุมอาการใน step2 ในผู้ป่วยผู้ใหญ่และวัยรุ่น โดย ICS plus formoterol พบว่าสามารถลดอัตราการเกิดหอบหืดกำเริบประมาณ 50%3 และลดจำนวนการเกิดหอบหืดรุนแรงได้ประมาณ 60% ไม่แตกต่างจาก regular ICS4,5 ทั้งนี้ จากการศึกษาปัจจุบันแสดงหลักฐานการใช้ ICS ชนิด budesonide ร่วมกับ formoterol ในการรักษา mild asthma แต่การใช้ beclometasone ร่วมกับ formoterol ก็อาจสามารถประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน2 อย่างไรก็ตาม โรคหืดเป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลมยาที่ใช้ในการควบคุมอาการและลดการอักเสบได้ดี คือ daily ICS การใช้ as needed จะทำต่อเมื่อคนไข้อาการน้อยและ low risk ดังนั้นการประเมิน future risk จะมีความสำคัญให้การเลือกใช้และปรับยา
เอกสารอ้างอิง
- Dusser D, Montani D, Chanez P, de Blic J, Delacourt C, Deschildre A, Devillier P, et al. Mild asthma: an expert review on epidemiology, clinical characteristics and treatment recommendations. Allergy 2007; 62:591-604.
- Global Initiative for Asthma. Global strategy for asthma management and prevention. 2019
- Beasley R, Holliday M, Reddel HK, et al. Controlled trial of budesonide–formoterol as needed for mild asthma. N Engl J Med 2019; 380: 2020-30.
- O’Byrne PM, FitzGerald JM, Bateman ED, Barnes PJ, Zhong N, Keen C, Jorup C, et al. Inhaled combined budesonide-formoterol as needed in mild asthma. N Engl J Med 2018; 378:1865-76.
- Bateman ED, Reddel HK, O’Byrne PM, Barnes PJ, Zhong N, Keen C, Jorup C, et al. As-needed budesonide-formoterol versus maintenance budesonide in mild asthma. N Engl J Med 2018; 378:1877-87.
- Gary W K Wong. How Should We Treat Patients with Mild Asthma? N Engl J Med 2019 05 19;380(21):2064-2066.