CIMjournal
banner หอบหืด 1

ข้อแตกต่างระหว่าง Asthma, Asthma-COPD overlap (ACO) และ COPD


ศ. ดร. พญ. อรพรรณ โพชนุกูล
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคภูมิแพ้โรคหืดและระบบหายใจ
โรงพยาบาลธรรมศาสตร์

 

ช่วงที่ค่า PM 2.5 สูง จะมีคนไข้ที่เป็นโรคทางเดินหายใจเรื้อรังมีอาการกำเริบเยอะมาก ซึ่งโรคที่กำเริบได้บ่อยในช่วงนี้ ได้แก่ โรคหืด (asthma) และโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ซึ่งสองโรคนี้มีอาการคล้ายกัน ตรงที่มาด้วยอาการหอบเหนื่อย และมักได้รับการรักษาด้วยยาขยายหลอดลม นอกจากนี้ในคนไข้โรคหืดที่สูบบุหรี่ และมีภาวะหลอดลมตีบอาจมีอาการบางส่วนคล้าย โรค COPD ได้ ซึ่งเราเรียกภาวะนี้ว่า ACO หรือ Asthma-COPD overlap โดยภาวะนี้เป็นกลุ่มอาการ ไม่ใช่โรค โดยในคนไข้โรคหืดที่มีอาการรุนแรงตั้งแต่เด็ก โตขึ้นอาจมีภาวะนี้ แล้วกลายเป็นโรค COPD ในอนาคตได้

asthma-aco-copd


เรามีวิธีแยกระหว่างสองโรคดังนี้

asthma-aco-copd asthma-aco-copd

อาการ: โรคหืด มาด้วย ไอแห้ง ๆ หายใจเสียงดังวี้ด มักมีอาการกลางคืน ออกกำลังกายแล้วเหนื่อยง่าย ส่วนอาการของโรค COPD มาด้วยไอเยอะมีเสมหะ หายใจหอบเหนื่อย ออกกำลังกายแล้วเหนื่อยง่าย ปอดติดเชื้อบ่อย

อายุ: ในโรคหืดมักเริ่มมีอาการตั้งแต่เด็ก หรือก่อนอายุ 40 ปี ในขณะที่โรค ACO และ COPD มักเป็นหลังอายุ 40 ปี

ประวัติ: ในกลุ่มที่เป็น COPD มักมีประวัติสูบบุหรี่หรือได้รับมลพิษทางอากาศมายาวนาน ส่วน asthma มักมีประวัติหอบหืด ภูมิแพ้ตั้งแต่เด็ก แต่ก็ไม่เสมอไป

การตรวจสมรรถภาพปอด: ใน asthma มักมี variable airflow limitation จากการวัด PEFR หรือ spirometry และการตรวจในช่วงไม่มีอาการอาจปกติได้ ส่วน COPD จะพบ persistent airflow limitation (FEV1/FVC < 70%) โดยที่อาจไม่ตอบสนองต่อ bronchodilator

ค่าการอักเสบ: เช่น eosinophilia หรือ exhaled nitric oxide ในโรคหืดจะพบว่ามี eosinophilia สูงกว่า แต่อย่างไรก็ตามใน ACO หรือ COPD บางกลุ่มก็อาจสูงได้เล็กน้อย

การรักษา: หลัก ๆ ในโรค asthma และ ACO เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ดังนั้นยาหลักที่ควรใช้คือ สเตียรอยด์ชนิดพ่นสูด (ICS) เพราะช่วยลดการอักเสบ โดยเฉพาะ eosinophilic inflammation ได้ดี โดยให้ในทุกระดับของการรักษา หากใช้แล้วไม่ดีขึ้นให้เพิ่มยาตัวอื่น เช่น LABA, antileukotrienes หรือ LAMA ส่วนการรักษา ACO ก็เหมือนโรคหืด เพียงแต่ควรเพิ่มยาขยายหลอดลมกลุ่ม anticholinergic เช่น LAMA หรืออาจให้ triple therapy (ICS+LABA+LAMA)

ส่วนการรักษา COPD นั้น ยาหลักคือให้ยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาว เช่น LABA หรือ LAMA ยกเว้นกรณี COPD ที่มีอาการหอบกำเริบบ่อย และตรวจเลือดพบว่ามี eosinophils ตั้งแต่ 300 cells/uL ขึ้นไป ในคนไข้กลุ่มนี้อาจพิจารณาให้ยาสูตรผสมที่เป็น ICS+LABA+LAMA (triple therapy) ได้ โดยให้ ICS ในขนาดที่ไม่สูง  แต่ไม่แนะนำให้ ICS ในคนไข้ COPD ที่มีการติดเชื้อที่ปอดบ่อยและค่า eosinophils น้อยกว่า 100 ซึ่งต่างจากโรคหืด ที่เน้นปรับเพิ่มขนาด ICS จนสูงแล้วค่อยเพิ่มยา LAMA

กล่าวโดยสรุปคือ หากเราให้การรักษาโรคหืดให้ดี ด้วยการใช้ยาสม่ำเสมอ หลีกเสี่ยงสิ่งกระตุ้น โดยเฉพาะบุหรี่และมลพิษทางอากาศ ก็จะช่วยไม่ให้เกิดภาวะ ACO แล้วพัฒนากลายเป็น COPD ในอนาคตได้

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก