พ.ท. นพ. วรวงศ์ ชื่นสุวรรณ
แผนกโรคติดเชื้อ กองอายุรกรรม
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
โรคที่เกิดจากอาหาร (foodborne disease) หมายถึง การเจ็บป่วยหรือโรคที่เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อก่อโรคหรือ toxin ไม่ว่าจะเป็น เชื้อแบคทีเรีย, toxin จากเชื้อแบคทีเรีย หรือสารเคมีบางอย่าง สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่ เชื้อแบคทีเรียร้อยละ 66 สารเคมีร้อยละ 26 เชื้อไวรัสร้อยละ 4 และเชื้อปรสิตร้อยละ 4 โดยอาจสามารถแบ่งโรคที่เกิดจากอาหาร ออกได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่1, 2 intoxication, infection และ toxicoinfections
อาการแสดงทางคลินิก
การระบาดของโรคที่เกิดจากอาหาร ผู้ป่วยจะมาด้วยลักษณะอาการเจ็บป่วยฉับพลัน และมีอาการแสดงทางระบบทางเดินอาหาร หรืออาจตรวจพบอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย และมักพบผู้ป่วยมากกว่า 2 รายขึ้นไป ที่มีประวัติรับประทานอาหารร่วมกัน โดยทั่วอาการแสดงของโรคที่เกิดจากอาหาร จะมีความแตกต่างกันไป ขึ้นกับระยะเวลาเชื้อก่อโรค และระยะฟักตัว ตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1 อาการทางระบบทางเดินอาหารของโรคที่เกิดจากอาหาร
อาการ systemic illness
โรคที่เกิดจากอาหารบางอย่างสามารถเกิดอาการรุนแรงแบบ invasive infection ได้ มักพบในผู้ป่วย immunocompromised patient เช่น invasive listeriosis พบได้บ่อยในผู้หญิงตั้งครรภ์ เด็กทารก และผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันชนิด cellular immunity ผิดปกติ โดยส่วนใหญ่จะมาด้วยอาการไข้เล็กน้อย (flulike illness) ส่วนร้อยละ 20 อาจมาด้วย miscarriage ได้ ส่วนผู้ป่วยสูงอายุ หรือ immunocompromised patient มาด้วย meningitis, sepsis, และ การติดเชื้อแบบเฉพาะที่ ระยะฟักตัวอยู่ที่ 11 วัน (ร้อยละ 90 จะแสดงอาการภายใน 28 วันหลังการสัมผัส)23
- Kadariya, C. T. Smith, and D. (apaliya, “Staphylococcus aureus and staphylococcal food-borne disease: an ongoing challenge in public health,” BioMed Research International, vol. 2014, Article ID 827965, 9 pages, 2014
- Addis and D. Sisay, “A review on major food borne bacterial illnesses,” Journal of Tropical Diseases, vol. 3, no. 4, pp. 1–7, 2015.
- Stenfors Arnesen LP, Fagerlund A, Granum PE. From soil to gut: Bacillus cereus and its food poisoning toxins. FEMS Microbiol Rev. 2008;32:579–606
- Glass RI, Parashar UD, Estes MK. Norovirus gastroenteritis. N Engl J Med. 2009;361:1776–1785.
- Lindström M, Heikinheimo A, Lahti P, et al. Novel insights into the epidemiology of Clostridium perfringens type A food poisoning. Food Microbiol. 2011;28:192– 198.
- Logan NA. Bacillus and relatives in foodborne illness. J Appl Microbiol. 2012;112:417–429.
- Reidl J, Klose KE. Vibrio cholerae and cholera: out of the water and into the host. FEMS Microbiol Rev. 2002;26:125–139.
- Broberg CA, Calder TJ, Orth K. Vibrio parahaemolyticus cell biology and pathogenicity determinants. Microbes Infect. 2011;13:992–1001.
- Cover TL, Aber RC. Yersinia enterocolitica. N Engl J Med. 1989;321:16–24.
- Brooks JT, Sowers EG, Wells JG, et al. Non-O157 Shiga toxin-producing Escherichia coli infections in the United States, 1983-2002. J Infect Dis. 2005;192:1422–1429