CIMjournal
banner คันผิวหนัง 2

Gluten allergy


พญ. อัญชลี เสนะวงษ์พญ. อัญชลี เสนะวงษ์
ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา สถาบันภูมิแพ้ Samitivej Allergy Institute (SAI)
โรงพยาบาล BNH, สมิติเวชธนบุรีและสมิติเวชศรีราชา
.


Gluten คือส่วนหนึ่งของแป้งสาลี ดังรูปที่ 1ส่วนประกอบของแป้งสาลีแบ่งเป็นตัวที่ละลายน้ำได้ ได้แก่ albumin และ globulin และละลายน้ำไม่ได้ ทำให้แป้งมีลักษณะยืดเหนียวนุ่มน่ารับประทาน ได้แก่ gluten ซึ่งจะแบ่งย่อยได้อีกเป็น gliadin และ glutenin แต่ละตัวเกี่ยวข้องกับการแพ้ไม่เหมือนกัน รูปที่ 2

wheat-protein-1รูปที่ 1 ส่วนประกอบของ wheat protein

 

  • สารในกลุ่ม albumin และ globulin ได้แก่ Alpha-amylase inhibitor (AAI) และ Nonspecific lipid transfer proteins (LTP) เกี่ยวข้องกับการแพ้แป้งแบบหืดกำเริบในคนอาชีพทำเบเกอรี่ (Baker’s asthma)
  • สารในกลุ่ม gliadin ได้แก่ Omega-5 gliadin และ กลุ่ม glutenin ที่มีมวลโมเลกุลใหญ่ High-molecular-weight glutenin subunits เกี่ยวข้องการแพ้แป้งสาลีแบบรุนแรงเฉียบพลันหรือ wheat anaphylaxis และการแพ้แป้งสาลีรุนแรงที่เกิดสัมพันธ์กับการออกกำลังกายหรือ Wheat-dependent exercise-induced anaphylaxis (WDEIA)
  • สารในกลุ่ม gliadin ยังเกี่ยวข้องกับการแพ้แบบมีผื่นแห้งคัน (atopic dermatitis)
  • นอกจากนั้น gluten ยัง สัมพันธ์อาการทางระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ Celiac disease และ Nonceliac gluten sensitivity (NCGS) ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากคาร์โบไฮเดรตสายสั้นจำพวก fermentable oligosaccharides, disaccharides, and monosaccharides, and polyols (FODMAPs) ซึ่งมีลักษณะ osmotically active, ทำให้ดูดซึมทางสำไล้เล็กได้ยาก และทำให้เกิด bacterial fermentationโดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่

wheat-protein-2รูปที่ 2 ลักษณะอาการที่สัมพันธ์กับส่วนประกอบต่างๆของ wheat protein


การตรวจวินิจฉัย

ปัจจุบันมีอาการตรวจเลือดแป้งสาลีรวม และ Omega-5 gliadin บางห้องปฎิบัติการอาจตรวจได้ถึง component-resolve diagnosis ซึ่งมีความละเอียดมากขึ้น


การรักษา

การหลีกเลี่ยงแป้งสาลีควรคำนึงถึงการแพ้ข้ามกลุ่ม (cross-reactivity) ซึ่งแป้งสาลีสามารถแพ้ข้ามกลุ่ม ไปยัง บาร์เลย์ โอ๊ค ข้าวไรน์ barley, oat, และ rye ได้ถึง 25%

การแพ้แป้งอาหารรวมทั้งสาลีแบบรุนแรงเฉียบพลัน ที่ไม่หายเองตามธรรมชาติ สามารถรักษาได้ด้วยวิธีภูมิคุ้มกันบำบัดให้โดยการรับประทาน หรือ oral immunotherapy ซึ่งคนไข้จะทำการทดสอบโดยการกินแป้งสาลี (oral food challenge test) เพื่อหาปริมาณแป้งสาลีที่ทำให้เกิดอาการ (eliciting dose) เพื่อวางแผนปริมาณที่เหมาะสมในการเริ่มรักษาต่อไป

 

เอกสารอ้างอิง

  • Amanda L. Cox, Philippe A. Eigenmann, and Scott H. Sicherer. Clinical Relevance of Cross-Reactivity in Food Allergy. J Allergy Clin Immunol Pract 2021;9:82-9
  • Stephanie Leeds, Elise G. Liu, and Anna Nowak-Wegrzyn. Wheat oral immunotherapy. Curr Opin Allergy Clin Immunol 2021, 21:269–277.
  • DeGeorge KC, Frye JW, Stein KM, Rollins LK, and McCarter DF. Celiac Disease and Gluten Sensitivity. Prim Care Clin Office Pract 44 (2017) 693–707

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก