.
นพ. คมสิงห์ เมธาวีกุล
อายุรแพทย์โรคหัวใจ สถาบันโรคทรวงอก
หลังจากผ่านงานประชุมของ American College of Cardiology 2024 (ACC.24) ที่เพิ่งจัดประชุมไปเมื่อวันที่ 6 – 8 เมษายน พ.ศ. 2567 ที่เมือง Atlanta รัฐ Georgia ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการนำเสนอผลงานวิจัยที่น่าสนใจใหม่ๆ ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจต่อไป ได้แก่
- การให้ยากลุ่ม sodium-glucose cotransporter 2 inhibitors (SGLT2i) ในผู้ป่วย acute myocardial infarction (AMI) โดยมีการศึกษา EMPACT-MI ซึ่งเป็นการศึกษาที่เป็น randomized, double-blind, placebo-controlled trial ที่ได้รับการนำเสนอในงานประชุม ACC.24 เมื่อวันที่ 6 เมษายนที่ผ่านมาและได้รับการตีพิมพ์ใน New England Journal of Medicine ในวันเดียวกัน โดยการศึกษานี้เป็นการศึกษาการใช้ empagliflozin 10 มิลลิกรัมต่อวันเปรียบเทียบกับ placebo ในผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลด้วย AMI ภายใน 14 วันร่วมกับมี newly developed left ventricular ejection fraction (LVEF) < 45% หรือมีอาการของ heart failure (HF) ระหว่างนอนโรงพยาบาล ร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด HF hospitalization/all-cause death อย่างน้อย 1 ข้อคือ อายุ ≥ 65 ปี; newly developed LVEF < 35%; ประวัติ myocardial infarction, atrial fibrillation (AF), หรือ type 2 diabetes; estimated glomerular filtration rate (eGFR) < 60 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อ 1.73 ตารางเมตร; มีระดับ natriuretic peptide หรือ uric acid ที่เพิ่มขึ้น; มี pulmonary artery or right ventricular systolic pressure ที่เพิ่มขึ้น; three-vessel coronary artery disease; peripheral artery disease; หรือไม่ได้รับการทำ revascularization ในช่วงที่นอนโรงพยาบาลด้วย AMI การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า empagliflozin ไม่สามารถลด primary composite end point (HF hospitalization or all-cause death) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ถึงแม้ว่าจะสามารถลด HF hospitalization ลงได้ก็ตาม สิ่งที่ควรจะต้องติดตามกันต่อไปคือ การศึกษาการใช้ยา SGLT2i ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานและมี AF ซึ่งมีอยู่ 2 การศึกษาได้แก่ DAPA-AF ซึ่งเป็นการศึกษาการใช้ dapagliflozin ในผู้ป่วยเบาหวานที่มี AF และ EMPA-AF ซึ่งเป็นการศึกษาการใช้ empagliflozin ในผู้ป่วยเบาหวานที่มี HF และ AF โดยที่ทั้งสองการศึกษาเป็นการศึกษาแบบ randomized, placebo-controlled trial คงต้องติดตามกันต่อไปว่าการให้ยากลุ่มนี้ในผู้ป่วยเบาหวานที่มี AF จะสามารถลดการเกิด AF burden ได้หรือไม่
- การให้ beta-blocker ในผู้ป่วย AMI โดยมีการศึกษา REDUCE-AMI ซึ่งเป็นการศึกษา registry-based, prospective, open-label, randomized clinical trial ในประเทศสวีเดน เอสโตเนีย และนิวซีแลนด์ การศึกษานี้เป็นการศึกษาการใช้ beta-blocker (metoprolol หรือ bisoprolol) เปรียบเทียบกับการไม่ให้ beta-blocker ในผู้ป่วย AMI 1-7 วันที่มี LVEF ≥ 50% และได้รับการทำ coronary angiography แล้วพบว่ามี obstructive coronary artery disease (coronary stenosis ≥ 50% และมี fractional flow reserve ≤ 0.80 หรือ instantaneous wave-free ratio ≤ 0.89) โดยการศึกษานี้ได้รับการนำเสนอในงานประชุม ACC.24 เมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมาและได้รับการตีพิมพ์ใน New England Journal of Medicine ในวันเดียวกัน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า beta-blocker ไม่สามารถลดการเกิด primary end point (all-cause death or myocardial infarction) ลงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คงต้องติดตามกันต่อไปว่าทาง ACC ที่มีแผนที่จะออก acute coronary syndromes (ACS) guidelines มาในปีหน้าหรือทาง ESC ที่เพิ่งออก ACS guidelines มาเมื่อปีที่แล้ว จะมี focused update ออกมาเพิ่มเติมเพื่อปรับเปลี่ยนคำแนะนำในการให้ beta-blocker ในผู้ป่วย AMI หรือไม่
งานประชุมสาขาหัวใจและหลอดเลือดที่น่าสนใจ ปี 2567
.
• Heart Failure 2024 ที่ Lisbon ประเทศโปรตุเกส ระหว่างวันที่ 11 – 14 พฤษภาคม พ.ศ.2567
• ESC congress 2024 ที่ London ประเทศสหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม – 2 กันยายน พ.ศ. 2567