.
รศ. นพ. รุจิภาส สิริจตุภัทร
สาขาวิชาโรคติดเชื้อและอายุรศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ข้อมูลด้านโรคติดเชื้อที่น่าสนใจและควรติดตาม ได้แก่
COVID-19
ยา nirmatrelvir/ritonavir (Paxlovid) ได้รับ emergency use authorization จาก US FDA ตั้งแต่ ธ.ค. 2564 สำหรับใช้รักษาผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปและมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรครุนแรง ต่อมาในเดือน ก.ค. 2565 ทาง US FDA อนุมัติให้เภสัชกรสามารถจ่ายยา nirmatrelvir/ritonavir ให้แก่ผู้ป่วยโควิด 19 เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว
ล่าสุดในเดือน มี.ค. 2566 คณะกรรมการของ US FDA มีมติสนับสนุนการอนุมัติยา nirmatrelvir/ritonavir สำหรับการรักษา mild-to-moderate COVID-19 ในผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรครุนแรง ต้องรับเข้ารักษาในโรงพยาบาล หรือเสียชีวิต เนื่องจากพบว่ายานี้มีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงในผู้ป่วยกลุ่มนี้และไม่เพิ่มโอกาสเกิด COVID-19 rebound คาดว่า US FDA จะตัดสินการอนุมัติอย่างเป็นทางการประมาณเดือน พ.ค. 2566
RSV
RSV ถูกค้นพบตั้งแต่ พ.ศ. 2499 การติดเชื้อไวรัสนี้สามารถทำให้เกิดโรครุนแรงได้ในเด็กและผู้สูงอายุ แต่ยังไม่เคยมีวัคซีนสำหรับป้องกันการติดเชื้อนี้มาก่อน
ในเดือน มี.ค. 2566 คณะกรรมการของ US FDA มีมติสนับสนุนการอนุมัติใช้ RSV vaccine 2 ชนิด ได้แก่ RSVpreF (Abrysvo by Pfizer) และ RSVpreF3 OA (Arexvy by GlaxoSmithKline) สำหรับผู้ที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เนื่องจากเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรง ต้องรับเข้ารักษาในโรงพยาบาล หรือเสียชีวิต จากการติดเชื้อ RSV คาดว่า US FDA จะตัดสินการอนุมัติอย่างเป็นทางการประมาณเดือน พ.ค. 2566 นอกจากนี้ยังมี RSV vaccine สำหรับผู้สูงอายุของ Moderna และ RSV vaccine สำหรับหญิงตั้งครรภ์ของ Pfizer ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาโดย US FDA
Nirsevimab เป็นยา long-acting monoclonal antibody สำหรับใช้ป้องกันการติดเชื้อ RSV ในเด็กทารก ได้รับการอนุมัติในยุโรปแล้ว และคาดว่าจะได้รับการอนุมัติจาก US FDA ต่อไป
Dengue
- วัคซีน live-attenuated chimeric yellow fever dengue (Dengvaxia) ฉีดได้ในผู้ที่มีอายุ 6 – 45 ปี ฉีด 3 เข็ม เดือนที่ 0, 6 และ 12 แนะนำในเด็กที่มีประวัติเคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อน สำหรับผู้ที่ไม่เคยเป็นไข้เลือด ควรตรวจเลือดก่อนการฉีดวัคซีน
- วัคซีน live-attenuated recombinant dengue2-dengue (Qdenga) ฉีดได้ในผู้ที่มีอายุ 4 – 60 ปี ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3 เดือน สามารถฉีดได้ทั้งผู้ที่เคย และไม่เคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อน โดยไม่จำเป็นต้องตรวจภูมิคุ้มกันก่อนการฉีดวัคซีน
งานประชุมสาขาโรคติดเชื้อที่น่าสนใจ ปี 2566
• European Congress of Clinical Microbiology and Infectious Diseases (ECCMID) | 15 – 18 April 2023, Copenhagen, Denmark
• Asia-Pacific AIDS & Co-Infections Conference (APACC) 2023 | 8 – 10 June 2023, Singapore
• American Society For Microbiology (ASM) Microbe 2023 | 15 – 19 June 2023, Houston, Texas, USA
• Asia Pacific Society of Clinical Microbiology and Infection (APCCMI) | 6 – 8 July 2023, Seoul, South Korea
• International Symposium on Antimicrobial Agents and Resistance (ISAAR) | 6 – 9 September 2023, Taipei, Taiwan
• IDWeek 2023 | 11 – 15 October, Boston, Massachusetts, USA
• การประชุมใหญ่วิชาการประจำปี ครั้งที่ 49 สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย | วันที่ 20 – 23 ตุลาคม 2566 ที่ อ.หัวหิน จ.เพชรบุรี ประเทศไทย