CIMjournal

เรื่องที่แพทย์สาขาประสาทวิทยา …ควรติดตาม เดือน พ.ค. – ส.ค. 2565

.
พญ. อารดา โรจนอุดมศาสตร์

พญ. อารดา โรจนอุดมศาสตร์
นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ
ด้านเวชกรรม สถาบันประสาทวิทยา

 

แม้ในช่วงปี 2021 – 2022 จะมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 และประเด็นหลักทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายจะเป็นประเด็นดังกล่าว แต่ความรู้ใหม่ ๆ และทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยโรคระบบประสาทก็มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน

ในช่วงปลายปี 2021 มีข่าวดีสำหรับผู้ป่วย Myasthenia gravis (MG) คือ ทาง US FAD ได้ approve Efgartigimod สำหรับการรักษาผู้ใหญ่ที่ป่วยด้วย  Generalized MG ที่มี acetylcholine receptor antibody (AChR antibodies) Efgartigimod นับเป็นยากลุ่มใหม่ที่ใช้รักษาภาวะดังกล่าว ตัวยาเป็นส่วนหนึ่ง (fragment) ของ antibody ที่จับกับ neonatal Fc receptor (FcRn) ลด FcRn จากกระบวนการ recycle Immunoglobulin G (IgG) ให้กลับเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ระดับ IgG และ AChR antibodies ลดลง ในแง่ของอาการและอาการแสดงทางคลินิก จากการศึกษาใน phase III clinical trial ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Lancet Neurology เมื่อเดือนกรกฎาคม 2021 พบว่า ในกลุ่มผู้ป่วย Generalized MG ที่มี AChR antibodies ที่ได้รับ Efgartigimod มีการตอบสนองที่ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก ท่านที่สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ (https://doi.org/10.1016/S1474-4422(21)00159-9) หากยาดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ใช้ในประเทศไทย จะมา update ท่านอีกครั้ง ในประเทศไทยนั้นก็มีข่าวดีสำหรับผู้ป่วยโรค Parkinson’s disease เนื่องจากได้มีการเตรียมการขึ้นทะเบียนยาในกลุ่ม  monoamine oxidase B (MAO-B) ตัวใหม่ในประเทศไทย ซึ่งยาดังกล่าวเป็น selective and reversible MAO-B inhibitor นับเป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยโรคดังกล่าว โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีปัญหา wearing off

neuro-bookในส่วนของแนวทางการรักษา Clinical Practice Guideline ทางระบบประสาทที่ได้รับการปรับปรุงและตีพิมพ์ล่าสุดในประเทศไทยเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาคือแนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม ซึ่งในแนวทางเวชปฏิบัติเล่มนี้ครอบคลุมการดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมอย่างครบทุกมิติ โดยเนื้อหาแบ่งเป็น 4 บทใหญ่ ได้แก่ บทที่ 1 ครอบคลุมแนวทางการวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม บทที่ 2 ครอบคลุมแนวทางการรักษาภาวะปริชานบกพร่อง บทที่ 3 ครอบคลุมการจัดการทั่วไปสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม ซึ่งในบทนี้มีเนื้อหาในส่วนของ advance care plan และปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกด้วย ส่วนบทที่ 4 เป็นเนื้อหาในส่วนปัญหาทางพฤติกรรม อารมณ์และความผิดปกติทางจิตในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม นอกจากนี้ในภาคผนวกก็ได้บรรจุความรู้ทางรังสีวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการให้การวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมจากสาเหตุต่าง ๆ และมีตัวอย่างแบบประเมินผู้ป่วยที่เป็นประโยชน์ทางเวชปฏิบัติไว้อย่างครบถ้วนค่ะ

.

งานประชุมสาขาประสาทวิทยาที่น่าสนใจ ปี 2565

.
งานประชุมโครงการเพิ่มพูนความรู้เรื่อง การรักษาภาวะสมองเสื่อมสำหรับแพทย์ ครั้งที่ 2 ในวันที่ 25-27 กรกฎาคม 2565

.

งานประชุม 26th Annual Meeting สมาคมโรคลมชักแห่งประเทศไทย วันที่ 21 – 22 กรกฎาคม 2565

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก