CIMjournal
banner bacteria

โรคเมลิออยด์ (Melioidosis)


นพ. วรวงศ์ ชื่นสุวรรณพ.ท. นพ. วรวงศ์ ชื่นสุวรรณ
แผนกโรคติดเชื้อ กองอายุรกรรม
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

 

โรคเมลิออยด์ (Melioidosis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei เป็นแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน (aerobic bacteria) สามารถย้อมติดสีแกรม (gram staining) เป็นลักษณะ แกรมลบชนิดแท่ง บางครั้งสามารถติดสีเป็นลักษณะแท่งติดสีหัวท้าย (bipolar staining) ลักษณะคล้ายเข็มกลัดซ่อนปลาย (closed safety pin) เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ พบอยู่บ่อยครั้งในน้ำผิวดินและดินทรายเลน


อาการแสดงทางคลินิก(1-4)

โรคเมลิออยด์มักพบได้บ่อยในสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น (tropical climates) โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทางตอนเหนือของออสเตรเลีย แต่มีรายงานในภูมิภาคอื่น เช่น ตอนกลางและใต้ของทวีปอเมริกาและทวีปแอฟริกา เป็นต้น นอกจากนี้ตัวเชื้อยังสามารถติดเชื้อในสัตว์ได้ เช่น แกะ แพะ หมู ม้า แมว สุนัข และวัว การติดเชื้อในคนนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงฝนตกหนัก

ตารางที่ 1 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเมลิออยด์Melioidosis-microbiology

อาการแสดงของโรคเมลิออยด์ สามารถแบ่งออกง่ายๆตามการลักษณะการดำเนินโรค ได้แก่ โรคเฉียบพลัน (acute) โรคเฉียบพลันรุนแรง (acute-fulminant) โรคเรื้อรัง (chronic) โรคชนิดเฉพาะที่ (localized) หรือแบบแพร่กระจาย (disseminated) ซึ่งบางครั้งอาการแดงอาจสับสนกับวัณโรคหรือมะเร็งบางชนิดได้

ตารางที่ 2 อาการแสดงตามระบบของโรคเมลิออยด์(5)Melioidosis-microbiology


การวินิจฉัย(6)

การวินิจฉัยโดยมาตรฐานสูงสุด (Gold standard) ได้แก่การเพาะเชื้อจากสิ่งส่งตรวจที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก เลือด เสมหะ ฝีหนอง และรอยโรคที่ผิวหนัง การวินิจฉัยอาจล่าช้าในห้องปฏิบัติการที่ไม่คุ้นเคยกับเชื้อ B. pseudomallei และการใช้ชุดส่งตรวจสำเร็จรูป (commercial) บางครั้งอาจจะแยก B. pseudomallei กับ B. thailandensis ได้ไม่ดีนัก

การตรวจ Polymerase chain reaction (PCR) สามารถใช้ตรวจวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยวิกฤติ แต่ความไวและความจำเพาะยังต่ำกว่าการเพาะเชื้อจากสิ่งส่งตรวจ

การตรวจทางซีโรโลยี (Serology) โดยการตรวจหาระดับแอนติบอดี้ต่อเชื้อ B. pseudomallei มีข้อจำกัดในการใช้ใน endemic regions (มีการติดเชื้อมากกว่าร้อยละ 50) จึงต้องแปลผลอย่างระมัดระวังในการใช้ในประเทศไทยซึ่งมีอุบัติการโรคสูง


การรักษาเมลิออยด์ (7-9)

Melioidosis-microbiology


การติดตามการรักษา

โรคเมลิออยด์เป็นการติดเชื้อรุนแรงถึงแม้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมแล้ว อัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 15 – 20 ในประเทศออสเตรเลีย ถึงร้อยละ 40 – 50 ในประเทศไทย ระยะเวลาการดำเนินโรคมักเป็นระยะยาว การรักษาในช่วง Oral phase หรือ Maintenance phase เป็นระยะเวลา 12 – 20 สัปดาห์ สามารถลดอัตราการกลับมาเป็นซ้ำของโรคลงเหลือน้อยกว่าร้อยละ 10


สรุป

โรคเมลิออยด์เป็นการติดเชื้อรุนแรงถึงแม้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมแล้ว อัตราการเสียชีวิตยังสามารถพบได้สูง ดังนั้น ควรพิจารณาใช้การรักษาแบบครอบคลุมกับโดยใช้ยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ต่อ B. pseudomallei ในผู้ป่วยที่เป็นอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดสูง ร่วมกับความเสี่ยงในการเกิดติดเชื้อ ที่มีอาการรุนแรง เช่น ช็อก หรือปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อในชุมชน ไปก่อนจนกว่าจะทราบผลการเพาะเชื้อ สำหรับการวินิจฉัยปัจจุบันยังแนะนำการเพาะเชื้อจากสิ่งส่งตรวจที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงการตรวจวินิจฉัยทางซีโรโลยีโดยการตรวจหาระดับแอนติบอดี้ต่อเชื้อ B. pseudomallei

 

เอกสารอ้างอิง
  1. Speiser LJ, Graf EH, Seville MT, et al. Burkholderia pseudomallei Laboratory Exposure, Arizona, USA. Emerg Infect Dis. 2023;29(5):1061-1063.
  2. Currie BJ, Meumann EM, Kaestli M. The Expanding Global Footprint of Burkholderia pseudomallei and Melioidosis. Am J Trop Med Hyg. 2023;108(6):1081-1083.
  3. Currie BJ. Melioidosis and Burkholderia pseudomallei : progress in epidemiology, diagnosis, treatment and vaccination. Curr Opin Infect Dis. 2022;35(6):517-523.
  4. Gee JE, Bower WA, Kunkel A, et al. Multistate Outbreak of Melioidosis Associated with Imported Aromatherapy Spray. N Engl J Med. 2022;386(9):861-868.
  5. Currie BJ, Ward L, Cheng AC. The epidemiology and clinical spectrum of melioidosis: 540 cases from the 20 year Darwin prospective study. PLoS Negl Trop Dis. 2010;4(11):e
  6. Fairley L, Smith S, Maisrikrod S, et al. Systematic review and meta-analysis of diagnostic tests for diagnosis of melioidosis. Acta Trop. 2021;214:105784.
  7. Sullivan RP, Marshall CS, Anstey NM, et al. 2020 Review and revision of the 2015 Darwin melioidosis treatment guideline; paradigm drift not shift. PLoS Negl Trop Dis. 2020;14(9):e
  8. Pitman MC, Luck T, Marshall CS, et al. Intravenous therapy duration and outcomes in melioidosis: a new treatment paradigm. PLoS Negl Trop Dis. 2015;9(3):e
  9. White NJ, Dance DA, Chaowagul W, et al. Halving of mortality of severe melioidosis by ceftazidime. Lancet. 1989;2(8665):697-701.
  10. Chetchotisakd P, Chierakul W, Chaowagul W, et al. Trimethoprim-sulfamethoxazole versus trimethoprim-sulfamethoxazole plus doxycycline as oral eradicative treatment for melioidosis (MERTH): a multicentre, double-blind, non-inferiority, randomised controlled trial. Lancet. 2014;383(9919):807-14.

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก