CIMjournal

Podocytopathies: Minimal Change Disease and Focal Segmental Glomerulosclerosis


นพ. บัญชา สถิระพจน์พ.อ. ศ. นพ. บัญชา สถิระพจน์
แผนกโรคไต กองอายุรกรรม
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

 

Minimal change nephropathy (MCD) หรือเรียกว่า lipoid nephrosis เป็นโรคโกลเมอรูลัส เมื่อตรวจพยาธิสภาพไตด้วยเทคนิค light microscopy และ immunofluorescense ไม่พบรอยโรค ดังนั้นการวินิจฉัยโรคอาศัยการตรวจด้วยเทคนิค electron microscopy พบการบวมของ epithelial foot processes ของ glomerular capillary wall เรียกว่า foot process effacement หรือ fusion1           

กลไกการเกิดโรค เชื่อว่าการเกิดจากความผิดปกติของการทำงานของ lymphocytes ในระบบ cell mediated immunity เกิดการสร้าง circulating factor และ glomerular factor โดยปัจจุบันตรวจพบ nephrin autoantibodies ทำให้เกิดพยาธิสภาพบนผนังโกลเมอรูลัสคือ การหลุดลอกของ podocytes เกิด foot process fusion การสูญเสีย heparin sulfate negative-charge barrier และการบาดเจ็บของเซลล์ endothelium ของผนังโกลเมอรูลัสจึงสูญเสียประสิทธิภาพการกรอง แล้วเกิดการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะตามมา2

การวินิจฉัย MCD ตามสาเหตุของโรค แบ่งเป็นกลุ่ม primary MCD พบเป็นส่วนใหญ่ร้อยละ 80 – 90 กับ secondary MCD พบร้อยละ 10 – 20 โดยมีสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ยา non-steroidal anti-inflammatory drugs และ immune checkpoint inhibitor เกิดหลังได้รับวัคซีนต้านโควิด 19 ชนิด mRNA มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และสาเหตุอื่น ๆ ดังในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ภาวะที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค MCDpodocytopathies mcd fsgs-1


อาการแสดงทางคลินิก

MCD เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของ nephrotic syndrome ในเด็กพบประมาณร้อยละ 70 สำหรับในผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 10 – 15 ลักษณะเด่นของโรคคือ อาการบวมแบบรวดเร็ว มีโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 3.5 กรัม/1.73 ตารางเมตรต่อวัน ระดับแอลบูมินในเลือดน้อยกว่า 3.0 กรัม/ดล. และไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดมากกว่า 200 มล./ดล. ผู้ป่วย MCD ในผู้ใหญ่สามารถพบเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะร้อยละ 29 ความดันโลหิตสูงร้อยละ  40 และเกิดไตวายเฉียบพลันร่วมด้วยได้ร้อยละ 183 โดยภาวะไตวายเฉียบพลันส่วนใหญ่พบในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ มีโรคความดันโลหิตสูงร่วม ระดับแอลบูมินในเลือดประมาณ 2.0 กรัม/ดล. โปรตีนในปัสสาวะประมาณ 10 กรัม/วัน และการทำงานของไตลดลงประมาณ 76  มล./นาที/1.73 ตารางเมตร4  สามารถสรุปกลไกการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันใน MCD ดังรูปที่ 15podocytopathies mcd fsgs-1รูปที่ 1 สรุปกลไกการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันใน MCD5


การรักษาโรค

ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์เป็นยาหลักที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษา MCD แนะนำ prednisolone รับประทาน 1.0 มก./กก. ทุกวัน ขนาดสูงสุด 80 มก./วัน หรือ 2.0 มก./กก.วันเว้นวัน ขนาดสูงสุด 120 มก.ต่อครั้ง นานอย่างน้อย 4 สัปดาห์ นานได้ถึง 16 สัปดาห์ หลังจากโรคสงบสามารถลดขนาดยา 5 – 10 มก./สัปดาห์ แล้วหยุดยาในเวลา 24 สัปดาห์1 โดย MCD ในผู้ใหญ่มีการตอบสนองต่อการรักษาช้ากว่าในผู้ป่วยเด็ก โดยตอบสนองร้อยละ  60 หลักรักษา 8 สัปดาห์ และร้อยละ  80 หลักรักษา 16 – 20 สัปดาห์ ลักษณะการดำเนินโรคของ MCD พบว่ามีโอกาสเกิดโรคซ้ำหลังหยุดการรักษา 6 – 12 เดือน สูงถึงร้อยละ 50 – 75, frequency relapse ร้อยละ 10 – 15  และ steroid dependence ร้อยละ 25 – 30  กรณีผู้ป่วย steroid resistance, steroid dependent และ frequency relapse หรือมีโรคร่วมได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง กระดูกพรุน ที่เป็นข้อจำกัดของการใช้ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ระยะยาว พิจารณาเลือกใช้ยา cyclophosphamide 2 – 2.5 มก./กก. เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ หรือ mycophenolate mofetil 500 – 1,000 มก./สองครั้งต่อวัน เป็นระยะเวลา 1 – 2 ปี หรือกลุ่ม calcineurin inhibitors คือ cyclosporine 3-5 มก./กก./วัน และติดตามระดับยาในเลือด 150 – 200 นาโนกรัม/มล. หรือ tacrolimus 0.05 – 0.1 มก./กก./วัน และติดตามระดับยาในเลือด 5 – 7 นาโนกรัม/มล. เป็นระยะเวลา 1 – 2 ปี หรือ rituximab 375 มก./ตารางเมตร ทุกสัปดาห์ 4 ครั้ง หรือ 1 กรัม ทุก 2 สัปดาห์ 2 ครั้ง1


Focal segmental glomerulosclerosis (FSGS)

จากการตรวจด้วยเทคนิค light microscopy พบพยาธิสภาพไตเพียงบางส่วนของโกลเมอรูลัส หรือเรียกว่า segmental glomerular lesions และพบเพียงบางโกลเมอรูลัส หรือเรียกว่า focal glomerular lesions พยาธิสภาพส่วนใหญ่เกิดบริเวณ corticomedullary junction ของไต แบ่งลักษณะพยาธิสภาพไตออกเป็น 5 แบบ คือ collapsing FSGS, tip lesion FSGS, cellular FSGS, perihilar FSGS และ FSGS not otherwise specified (NOS) จากการตรวจ immunofluorescense พบ C3, C1q และ IgM บริเวณ sclerotic segments ของโกลเมอรูลัส และจากการตรวจ electron microscopy พบพยาธิสภาพไตจากการบวมของ epithelial foot processes เรียกว่า foot process effacement เช่นเดียวกับ MCD ผู้ป่วย FSGS บางรายพบพยาธิสภาพไตเป็นปกติได้ เนื่องจากการเกิดพยาธิสภาพไตของ FSGS พบเพียงบางโกลเมอรูลัสเท่านั้น ทำให้ตรวจไม่พบจากการเจาะชิ้นเนื้อไตได้ ทำให้วินิจฉัยโรคผิดพลาดเป็น MCD


กลไกการเกิดโรค

มีหลากหลายสมมติฐาน โดย primary FSGS จากหลักฐานปัจจุบันเชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติของการทำงานของ lymphocytes ในระบบ cell mediated immunity มีการสร้าง glomerular permeability factor เช่นเดียวกับ MCD หรือผลจากสร้าง cytokine mediated overexpression มีผลต่อเซลล์ podocytes อย่างไรก็ตามมีสาเหตุจากความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น Congenital nephrotic syndrome of Finnish type จากความผิดปกติของยีน NPHS1สร้างโปรตีน nephrin เป็นต้น และภาวะ glomerular hyperfiltration ซึ่งเป็นกลไกหลักในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนได้6  


อาการแสดงทางคลินิก

ผู้ป่วย FSGS ส่วนใหญ่มาด้วยอาการ nephrotic syndrome ประมาณร้อยละ 60 – 75 สามารถตรวจพบความดันโลหิตสูงร่วมด้วยร้อยละ 45 – 65 เม็ดเลือดแดงในปัสสาวะร้อยละ 30 – 50 และการทำงานของไตลดลงร้อยละ 25 – 50 อย่างไรก็ตามผู้ป่วย FSGS แต่ละรายมีอาการแสดงทางคลินิก และการดำเนินโรคแตกต่างกันตามลักษณะของพยาธิสภาพไต โดยเฉพาะ collapsing FSGS พบโปรตีนรั่วจำนวนมากในปัสสาวะ การทำงานของไตลดลงอย่างรวดเร็ว ไม่ตอบสนองต่อการรักษา และการพยากรณ์โรคไม่ดี 7 การตรวจพบ tip lesion FSGS พบอาการแสดงทางคลินิกคล้าย MCD ส่วนใหญ่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาคอร์ติโคสเตอรอยด์  และมีพยากรณ์โรคดี8

ปัจจุบันแบ่งการวินิจฉัย FSGS ออกเป็น 4 กลุ่มหลัก คือ primary FSGS, genetic FSGS,  secondary FSGS และ FSGS of undertermined cause (FSGS-UC)1 ซึ่งส่วนใหญ่ของผู้ป่วย secondary FSGS และ FSGS-UC พบโปรตีนรั่วในปัสสาวะแบบ non-nephrotic proteinuria (<3.5 กรัมต่อวัน) ไม่มีอาการบวม การทำงานของไตลดลงอย่างช้า ๆ ระดับแอลบูมินในเลือดปกติ และพบ segmental foot process effacement9 โดยสาเหตุส่วนใหญ่ของ secondary FSGS เกิดจากโรคอ้วนสัมพันธ์กับการเกิด  perihilar FSGS  และสาเหตุอื่น ๆ แสดงในตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ภาวะที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค FSGSpodocytopathies mcd fsgs-1


การรักษาโรค

แนวทางประเมินและการรักษาในผู้ป่วย FSGS  อ้างอิงตามการวินิจฉัยของแต่ละกลุ่มโรค โดยสรุปแนวทางดังรูปที่  21 กลุ่มที่มีอาการของ nephrotic syndrome แนะนำเลือกใช้ยา prednisolone รับประทาน 1.0 มก./กก. ทุกวัน ขนาดสูงสุด 80 มก./วัน หรือ 2.0 มก./กก.วันเว้นวัน ขนาดสูงสุด 120 มก.ต่อครั้ง นานอย่างน้อย 4 สัปดาห์ นานได้ถึง 16 สัปดาห์ แล้วลดขนาดยาอย่างช้า ๆ 5 มก. ต่อ 1 – 2 สัปดาห์ ในเวลา 24 สัปดาห์ เช่นเดียวกับ MCD1 แต่การตอบสนองต่อการรักษาพบเพียงร้อยละ 28 – 74  กรณีผู้ป่วย steroid resistance, steroid dependent และ frequency relapse หรือมีโรคร่วมได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง กระดูกพรุน ที่เป็นข้อจำกัดของการใช้ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ระยะยาว ควรพิจารณาเลือกใช้ยากลุ่ม  cyclosporine 3-5 มก./กก./วัน ติดตามระดับยาในเลือด 100 – 175 นาโนกรัม/มล. หรือ tacrolimus 0.05 – 0.1 มก./กก./วัน ติดตามระดับยาในเลือด 5 – 10 นาโนกรัม/มล. ให้ยาอย่างน้อย 4 – 6 เดือน ปรับลดขนาดยาในระยะเวลา 12 เดือน1 สามารถทำให้โรคสงบทั้งแบบ complete และ partial remissions ร้อยละ 20 – 70 แต่เมื่อหยุดการรักษาโรคกำเริบร้อยละ 60  ซึ่งยากลุ่มนี้เช่วยเพิ่มอัตราการสงบของโรคแบบ complete remissions ประมาณ 2.3 และ complete/partial remissions ประมาณ 1.6 เทียบกับการรักษาอื่น ๆ10  สำหรับผู้ป่วยกลุ่มที่มีข้อจำกัดของการใช้ cyclosporine/ tacrolimus อาจพิจารณาเลือกใช้ mycofenolate mofetil ร่วมกับ dexamethasone ขนาดสูง หรือ rituximab กรณีผู้ป่วย FSGS เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของโปรตีนในเซลล์  podocytes ได้แก่ podocin, CD2-associated protein, alpha-actinin-4 จะเป็นกลุ่มที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน เน้นการรักษาตามอาการ และกรณีผู้ป่วย secondary FSGS แนะนำรักษาตามสาเหตุของโรคpodocytopathies mcd fsgs-1

รูปที่  2 แนวทางการประเมินและการรักษาในผู้ป่วย FSGS1


สรุป

MCD และ FSGS เป็นกลุ่มอาการ nephrotic syndrome ที่พบได้บ่อย อาศัยข้อมูลระบาดวิทยาของโรค และข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยช่วยในการวินิจฉัยโรค การเจาะชิ้นเนื้อไตช่วยในการวินิจฉัยที่แน่นอน บอกการพยากรณ์โรค และบอกแนวทางการรักษา โดยเลือกใช้ยากดภูมิคุ้มกันเฉพาะ primary nephrotic syndrome และรักษาตามสาเหตุของโรคในกลุ่ม secondary nephrotic syndrome

 

เอกสารอ้างอิง
  1. Kidney Disease: Improving Global Outcomes Glomerular Diseases Work G. KDIGO 2021 Clinical Practice Guideline for the Management of Glomerular Diseases. Kidney Int. 2021; 100: S1-S276.
  2. Watts AJB, Keller KH, Lerner G, Rosales I, Collins AB, Sekulic M, et al. Discovery of Autoantibodies Targeting Nephrin in Minimal Change Disease Supports a Novel Autoimmune Etiology. J Am Soc Nephrol. 2022; 33: 238-52.
  3. Waldman M, Crew RJ, Valeri A, Busch J, Stokes B, Markowitz G, et al. Adult minimal-change disease: clinical characteristics, treatment, and outcomes. Clin J Am Soc Nephrol. 2007; 2: 445-53.
  4. Maas RJ, Deegens JK, Beukhof JR, Reichert LJ, Ten Dam MA, Beutler JJ, et al. The Clinical Course of Minimal Change Nephrotic Syndrome With Onset in Adulthood or Late Adolescence: A Case Series. Am J Kidney Dis. 2017; 69: 637-46.
  5. Meyrier A, Niaudet P. Acute kidney injury complicating nephrotic syndrome of minimal change disease. Kidney Int. 2018; 94: 861-69.
  6. Shabaka A, Tato Ribera A, Fernandez-Juarez G. Focal Segmental Glomerulosclerosis: State-of-the-Art and Clinical Perspective. Nephron. 2020; 144: 413-27.
  7. Detwiler RK, Falk RJ, Hogan SL, Jennette JC. Collapsing glomerulopathy: a clinically and pathologically distinct variant of focal segmental glomerulosclerosis. Kidney Int. 1994; 45: 1416-24.
  8. Stokes MB, Markowitz GS, Lin J, Valeri AM, D’Agati VD. Glomerular tip lesion: a distinct entity within the minimal change disease/focal segmental glomerulosclerosis spectrum. Kidney Int. 2004; 65: 1690-702.
  9. Praga M, Morales E, Herrero JC, Perez Campos A, Dominguez-Gil B, Alegre R, et al. Absence of hypoalbuminemia despite massive proteinuria in focal segmental glomerulosclerosis secondary to hyperfiltration. Am J Kidney Dis. 1999; 33: 52-8.
  10. Hodson EM, Sinha A, Cooper TE. Interventions for focal segmental glomerulosclerosis in adults. Cochrane Database Syst Rev. 2022; 2: CD003233.

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก