CIMjournal

School consultation for common infectious diseases


นพ. วรมันต์ ไวดาบ
หัวหน้ากลุ่มงานกุมารเวชกรรม
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

สรุปเนื้อหาการประชุมประจำปี 2565 สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย วันที่  4 ธันวาคม 2564

 

การติดเชื้อในโรงเรียนเป็นปัญหาที่กุมารแพทย์ได้รับคำปรึกษาบ่อย โดยโรงเรียนที่มีเด็กเล็กหรือโรงเรียนที่มีนักเรียนหนาแน่นมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง เนื่องจากเด็กเล็กมีความไว (susceptible) ต่อโรคติดเชื้อมากกว่าเด็กโตและมีข้อจำกัดเรื่องพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อที่อาจทำให้ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลได้ไม่เหมาะสม ขณะที่โรงเรียนที่มีปริมาณนักเรียนหนาแน่นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อโดยเฉพาะในกลุ่มโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจและโรคติดเชื้อจากการสัมผัส นอกจากนี้การระบาดของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เช่น SARS CoV2 ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคโควิด 19 ก็เป็นปัญหาสำคัญเนื่องจากการขาดองค์ความรู้ในการป้องกันโรคของบุคลากรในโรงเรียน

ตัวอย่างของปัญหาการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ/ไข้ออกผื่นที่ได้รับคำปรึกษาบ่อย

  1. การพบกลุ่มก้อน (cluster) ของผู้ป่วยเด็กที่มีอาการของระบบทางเดินหายใจ/ไข้ออกผื่น ข้อมูลที่ควรสืบค้น ได้แก่ ระยะเวลา จำนวนของเด็กที่มีอาการว่ามีความสอดคล้องกับระยะฟักตัวเชื้อก่อโรค ความใกล้ชิดหรือความสัมพันธ์ของกลุ่มผู้ป่วย ระบาดวิทยารวมถึงฤดูกาลระบาดของโรคติดเชื้อในช่วงเวลานั้น อายุของผู้ป่วย เช่น การติดเชื้อ RSV เป็นปัญหาของศูนย์เด็กอ่อนมากกว่าในโรงเรียนชั้นประถมศึกษา ขณะที่โรคมือเท้าปากจะเป็นปัญหาในเด็กเล็กมากกว่าเด็กโต ลักษณะเฉพาะของโรค เช่น สุกใส หัด หรือ โรคมือเท้าปาก ข้อมูลเหล่านี้มีส่วนสำคัญในการวางแผนการดูแลป้องกันและควบคุมการระบาด
  2. มาตรการในการป้องกันการแพร่กระจายของโรคควรต้องทำอย่างไรบ้าง
    1. มาตรการพื้นฐานที่ควรปฏิบัติ เป็นมาตรการที่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ก่อนการระบาด ได้แก่
      • การล้างมืออย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเหมาะสมตามพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัย ควรมีอุปกรณ์ทำความสะอาดให้เพียงพอและสะดวกต่อการใช้งาน
      • การได้รับวัคซีนป้องกันโรคอย่างเหมาะสม นอกจากวัคซีนพื้นฐานที่นักเรียนควรได้รับตามวัยแล้ว มีวัคซีนที่อาจพิจารณาให้เสริมในนักเรียนและบุคลากร เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดไร้เซลล์ นอกจากนี้วัคซีนบางชนิด เช่น วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูมและวัคซีนสุกใส สามารถใช้ป้องกันโรคหลังการสัมผัส และควบคุมการระบาดของโรคได้
      • การให้ความรู้สุขศึกษา วิธีการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เช่น การไอจามที่ถูกวิธี การสวมหน้ากากอนามัยเมื่อมีอาการไอ การเว้นระยะห่าง 1-2 เมตร การหลีกเลี่ยงของใช้ร่วมกัน
      • การจัดระบบดูแลนักเรียนและบุคลากรที่ป่วย เช่น การเตรียมสถานที่แยกดรคการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการรักษา
      • การจัดระบบรายงานโรคและการขอคำปรึกษากับหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ มีความสำคัญในการดำเนินงานควบคุมโรค
    2. มาตรการที่ควรปฏิบัติเมื่อเกิดการระบาด ประกอบด้วยมาตรการพื้นฐานที่ควรปฏิบัติร่วมกับมาตรการเฉพาะโรค
      • การคัดกรองนักเรียนและบุคลากรก่อนเข้าโรงเรียน ประกอบด้วยการซักประวัติเสี่ยง ประวัติสัมผัสโรค อาการเจ็บป่วย เช่น อาการไข้ และการใช้ชุดตรวจคัดกรอง Antigen test kit (ATK) ตามความเหมาะสมของสถานการณ์
      • การกำหนดให้นักเรียนและบุคลากรที่ป่วยหยุดโรงเรียน ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจและไข้ออกผื่น ควรหยุดเรียนเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค ระยะเวลาที่แนะนำให้หยุดเรียนในแต่ละโรคสรุปได้ดังตารางที่ 1 และ 2
      • การปิดโรงเรียน/ปิดห้อง มีจุดประสงค์เพื่อทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัส เป็นมาตรการที่ใช้ในการควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อบางชนิด โดยเฉพาะโรคที่ติดต่อผ่านการสัมผัส เช่น โรคมือเท้าปาก โรคโควิด 19 ขณะที่การระบาดของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดใหญ่ไม่พบหลักฐานว่าการปิดโรงเรียนสามารถลดระยะเวลาการระบาดได้
      • การทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัส เช่น ลูกบิดประตู โต๊ะเรียน บานพับหน้าต่างรวมถึงของเล่นและอุปกรณ์กีฬาที่ใช้ร่วมกัน แนะนำให้ปฏิบัติในโรคติดเชื้อที่ติดต่อผ่านการสัมผัส เช่น โรคมือเท้าปาก โรคโควิด 19
  3. การให้คำปรึกษาเฉพาะโรค ผู้ให้คำปรึกษาควรมีองค์ความรู้ของโรคติดเชื้อที่พบบ่อยในโรงเรียน กลไกการก่อโรค เส้นทางการถ่ายทอดเชื้อ การรักษาและป้องกันโรคซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากตำราวิชาการ วารสารทางการแพทย์ หรือเว็บไซต์ขององค์วิชาชีพทางการแพทย์ เช่น ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

สรุปการให้คำปรึกษาการติดเชื้อในโรงเรียนต้องใช้ความรู้พื้นฐานด้านระบาดวิทยา ความรู้เกี่ยวกับเชื้อก่อโรคที่พบบ่อยในโรงเรียน และทราบระบบหรือช่องทางในการประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบการระบาดในพื้นที่ อย่างไรก็ตามคำแนะนำมาตรการหรือแนวทางปฏิบัติอาจต้องปรับให้เหมาะสมตามบริบทของแต่ละโรงเรียน เพื่อให้คำตอบของการปรึกาสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาที่เกิดได้

ตารางที่ 1 ระยะเวลาที่เหมาะสมในการหยุดเรียนโรคไข้ออกผื่น

School-consultation-for-common-id-1*กระทรวงสาธารณสุขไทยแนะนำให้หยุดเรียน 7 วันหลังจากวันที่มีผื่นหรือจนกว่าจะหายจากโรค ดัดแปลงจากเอกสารอ้างอิงที่ 2

.
ตารางที่ 2
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการหยุดเรียนโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ

School-consultation-for-common-id-2ดัดแปลงจากเอกสารอ้างอิงที่ 2

 

เอกสารอ้างอิง

  1. American Academy of Pediatrics. In : Kimberlin DW, Brady MT, Jackson MA, Long SS, eds. Red Book : 2018 Report of the Committee on Infectious Diseases. 31st ed. Itasca, IL : American Academy of Pediatrics ; 2018.
  2. Public health agency. Guidance on infection control in schools and other child care setting. [internet].2017 [cited2021 Oct 27]. Available from : https://www.publichealth.hscni.net/sites/default/files/Guidance_on_infection_control_in%20schools_poster.pdf
  3. Center of disease control and prevention. Guidance for COVID-19 prevention in K-12 school. [internet].2021 [cited 2021 Oct 27].Available from: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/community/schools-childcare/k-12guidance.html
  4. Public Health England. Guidance health protectionin schools and other childcare facilities. [internet].2017 [cited 2021 Oct 27]. Available from: https://www.gov.uk/government/publications/health-protection-in-schools-and -other-childcare-facilities

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก