CIMjournal
banner thyroid

Endocrine Insight เดือน ม.ค. – เม.ย. 2568


พญ. ชุตินธร ศรีพระประแดงรศ. พญ. ชุตินธร ศรีพระประแดง
สาขาวิชาโรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

 

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา มีการอัปเดตความรู้ทางต่อมไร้ท่ออย่างต่อเนื่อง ทางผู้เขียนขอเลือกบทความและผลงานวิจัยที่น่าสนใจจากวารสารทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียงมาอัปเดตให้ผู้อ่านที่สนใจติดตามค่ะ

บทความแรกมาจากวารสาร New England Journal of Medicine ตีพิมพ์ในเดือนกันยายน 2567 เกี่ยวกับ Insulin Efsitora Alfa ที่ฉีดชั้นใต้ผิวหนัง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง1 ซึ่งน่าจะเป็นทางเลือกใหม่ในการรักษาเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคต การศึกษา QWINT-2 เป็นการศึกษาใน phase 3 เปรียบเทียบการให้ Insulin Efsitora Alfa ฉีดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือ Insulin Degludec ฉีดวันละ 1 ครั้ง ในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่เคยได้รับอินซูลินมาก่อน พบว่า Insulin Efsitora Alfa ไม่ด้อยกว่า Insulin Degludec ในการลดระดับ Hemoglobin A1c หลังจากได้ยามาแล้ว 52 สัปดาห์ แสดงให้เห็นว่า Insulin Efsitora Alfa สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ใกล้เคียงกับ Insulin Degludec แต่ฉีดเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยไม่ก่อให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำชนิด clinically significant หรือ severe hypoglycemia ต่างจาก Insulin Degludec ซึ่งเป็นข้อพิจารณาสำคัญเนื่องจากมีความกังวลเรื่องความปลอดภัยของอินซูลินแบบฉีดสัปดาห์ละครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม Insulin Efsitora Alfa มีอัตราการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับ 1 (blood glucose 54-69 mg/dL) และ 2 (blood glucose <54 mg/dL) สูงกว่า Insulin Degludec เล็กน้อย ดังนั้น Insulin Efsitora Alfa น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้เป็นเบาหวานที่ต้องฉีดอินซูลินทุกวัน ยาอินซูลินที่ฉีดสัปดาห์ละครั้งชนิดอื่น ได้แก่ Insulin Icodec2 อินซูลินทั้ง Efsitora Alfa และ Icodec ยังไม่ได้รับการอนุมัติให้มีการจำหน่าย ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาอยู่

endo-insight-thyroid-gland-1

บทความต่อไปมาจากวารสาร The Lancet Diabetes & Endocrinology ตีพิมพ์ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา3 พบว่าข้อมูล International Agency for Research on Cancer Global Cancer Observatory database ในระหว่างปี ค.ศ. 2013 ถึง 2017 มีมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่รับการวินิจฉัยเกินความจำเป็นไปมากกว่า 1.7 ล้านรายใน 63 ประเทศ โดยประเทศจีนมีการวินิจฉัยเกินความจำเป็นไปมากกว่า 1 ล้านราย ส่วนในประเทศเกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกาที่เคยมีการวินิจฉัยเกินความจำเป็นอย่างมาก เริ่มลดลงตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 การเปลี่ยนแปลงนี้อาจเป็นผลมาจากความตระหนักที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการวินิจฉัยเกินความจำเป็น และการเปลี่ยนแปลงในคำแนะนำทางคลินิก เช่น การพิจารณาทำ fine-needle aspiration biopsy เฉพาะบางราย และการไม่ตรวจเช็กสุขภาพด้วยอัลตราซาวนด์ต่อมไทรอยด์ในผู้ที่ไม่มีอาการ

endo-insight-thyroid-gland-1

บทความต่อไปมาจาก Journal of Clinical Endocrinology and Metabolism เป็น review article เรื่อง Approach to the Patient Considering Long-term Antithyroid Drug Therapy for Graves’ disease4 โดยหนึ่งในผู้เขียนคือ Professor Fereidoun Azizi ผู้เชี่ยวชาญที่มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับ Methimazole ในระยะยาวอย่างกว้างขวาง การใช้ Antithyroid Drug ถือเป็นวิธีการรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษจาก Graves’ disease ที่ได้รับความนิยมในอดีต แนวทางการรักษาแนะนำให้ Antithyroid Drug เป็นเวลา 12-18 เดือน หากโรคยังไม่สงบ แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยรักษาด้วยไอโอดีนรังสีหรือผ่าตัดต่อมไทรอยด์ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีความนิยมเพิ่มขึ้นในการให้ Methimazole ระยะยาว (อย่างน้อย 5 ปี) เพื่อเพิ่มโอกาสให้โรคหายขาด โดยเฉพาะผู้ที่มีระดับ TSH Receptor Antibody สูงและหลีกเลี่ยงผลจากไอโอดีนรังสี/ผ่าตัดที่ทำให้เกิดภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ถาวร หรือภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด เช่น recurrent laryngeal nerve injury และ hypoparathyroidism ยา Methimazole ถือว่ามีความปลอดภัยสูง โดยความเสี่ยงต่ออาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงมักเกิดขึ้นในปีแรกของการรักษา การติดตามระดับ TSH Receptor Antibody ระหว่างการรักษาด้วย Methimazole สามารถช่วยคาดการณ์โอกาสในการเข้าสู่ภาวะสงบของโรคได้ เมื่อสามารถหยุดยาได้แล้ว ควรติดตามผู้ป่วยเป็นประจำทุกปี เพื่อให้มั่นใจว่ายังคงอยู่ในภาวะ Euthyroid สุดท้าย การเลือกแนวทางการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับ Graves’ Disease ควรพิจารณาและตัดสินใจร่วมกันระหว่างแพทย์และผู้ป่วย โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ระดับ TSH Receptor Antibody ความรุนแรงของโรค ความต้องการของผู้ป่วย และความเสี่ยง-ประโยชน์ของตัวเลือกการรักษาแต่ละแบบ

 

เอกสารอ้างอิง
  1. Wysham C, Bajaj HS, Del Prato S et al. Insulin Efsitora versus Degludec in Type 2 Diabetes without Previous Insulin Treatment. N Engl J Med. 2024 Sep 10. doi: 10.1056/NEJMoa2403953. Online ahead of print.
  2. Rosenstock J, Bain SC, Gowda A et al. Weekly Icodec versus Daily Glargine U100 in Type 2 Diabetes without Previous Insulin. N Engl J Med. 2023;389(4):297-308.
  3. Li M, Dal Maso L, Pizzato M, Vaccarella S. Evolving epidemiological patterns of thyroid cancer and estimates of overdiagnosis in 2013–17 in 63 countries worldwide: a population-based study
  4. Azizi F, Mehran L, Abdi H, Amouzegar A. Approach to the Patient Considering Long-term Antithyroid Drug Therapy for Graves’ disease. J Clin Endocrinol Metab. 2024;109(10):e1881-e1888.

 

PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก