CIMjournal
banner med 24

Application of Telehealth in the Management of NCDs


นพ. สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ผศ. นพ. สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์
สาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สรุปเนื้อหางานประชุมวิชาการประจำปี 2565 ภายใต้หัวข้อ Resilient Kidney Care in Disruptive World โดยสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00 – 14.30 น.


ความหมายของการแพทย์ทางไกล

“การแพทย์ทางไกล” (Telemedicine) หมายความว่า เป็นการส่งผ่านหรือการสื่อสารเนื้อหาทางการแพทย์แผนปัจจุบันโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมทั้งจากสถานพยาบาลภาครัฐและ/หรือเอกชนจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งโดยอาศัยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้การปรึกษา คำแนะนำ แก่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือบุคคลอื่นใด เพื่อการดำเนินการทางการแพทย์ในกรอบแห่งความรู้ทางวิชาชีพเวชกรรม ตามภาวะ วิสัย และพฤติการณ์ที่เป็นอยู่ ทั้งนี้โดยความรับผิดชอบของผู้ส่งผ่านหรือการสื่อสารเนื้อหาทางการแพทย์นั้น ๆ (แพทยสภา 2563)

ส่วน American Academy of Family Physicians ให้คำจำกัดความ telehealth ในความหมายที่กว้างกว่า telemedicine ซึ่งจำกัดขอบเขตแค่การบริการทางการแพทย์ (clinical services) แต่ telehealth รวมทั้งการบริการกับผู้ป่วยนอกเหนือจากทางการแพทย์ (non-clinical service) ด้วย


บทบาทของการแพทย์ทางไกล

Telehealth ได้รับการศึกษาและแสดงให้เห็นประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะในช่วงโควิด 19 ระบาด เช่น ในผู้ป่วย เบาหวาน (Fernando ME. Front Endocrinol. 2022 Mar 15;13:848695.) ความดันโลหิตสูง (BMC Med Inform Decis Mak. 2022 Apr 19;22(1):105.) โรคหัวใจและหลอดเลือด (Saragih ID. J Clin Nurs. 2022 Jul 12.  ) ผู้ป่วยสมองเสื่อม (dementia) และผู้ดูแลฯ (Saragih ID. J Clin Nurs. 2022 Jul 12.) โรคไตวายเรื้อรัง (Stevenson JK. Cochrane Database Syst Rev. 2019 Aug 6;8(8):CD012379.) ในผู้ป่วยเอ็นซีดีชาวไทย (Pengput A. Telemed J E Health. 2022 Apr 12.) นอกจากนี้ ยังได้ประโยชน์ในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (Zhang M. Int J Environ Res Public Health. 2022 Apr 18;19(8):4905.) และคุณภาพการนอนหลับ (Sharafkhaneh A. Sleep Med. 2022 Feb;90:117-130. 35151065.)

โครงการ แปดสิบสี่พรรษา มหาราชินี ชุบชีวีผู้ป่วยโรคความดันฯ (TeleHealth Assisted Interventions on Home Blood Pressure Monitoring (THAI-HBPM) เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถฯ โดยการอบรม แพทย์ พยาบาล บุคลากรสาธารณสุขจาก 84 รพ. ทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดการใช้ telehealth ในการวัดความดันฯ ที่บ้าน ด้วยเครื่องวัดความดันฯ 840 เครื่อง ตั้งแต่ 12 สิงหาคม 2559 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ที่เข้าร่วมโครงการ มากกว่า 4  พันคน เป็นต้นแบบในการใช้การวัดความดันฯที่บ้านและ telehealth ในการดูแลรักษาโรคความดันฯ สูงของคนไทย (Montrivade S. Int J Hypertens. 2020 Apr 9;2020:3261408. Sakulsupsiri A. Int J Hypertens. 2021 Apr 14;2021:8844727.)

โครงการการคัดกรองและวินิจฉัยความดันโลหิตสูงในชุมชน เพื่อการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยการวัดความดันฯที่บ้านโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Screening and diagnosis of hypertension for stroke prevention in communities by TeleHealth Assisted Intervention-Home Blood Pressure Monitoring: Screening and Diagnosis (THAI-HBPM: S&D) เป็นโครงการที่เป็นเครือข่าย การคัดกรองและวินิจฉัยโรคความดันฯ ถึงบ้านและชุมชน โดย อสม. ได้คัดกรองประชากรใน 5 อำเภอ ในจังหวัดเชียงราย ด้วยเครื่องวัดความดันฯ ร่วมกับ telehealth ในประชากร 1,230 (มิ.ย. 2560 ถึง มี.ค. 2561) พบว่า สงสัยความดันฯ สูง 17.7% (218 คน) และได้วินิจฉัยด้วยการวัดความดันฯที่บ้าน 58.7% (128 คน) พบโรคความดันฯสูง 52.3% และเป็น white coat hypertension ถึง 47.7%

จากโครงการ THAI-HBPM ก็ได้มีการศึกษา Randomized controlled trials ใน ผู้ป่วย 170 คน (18 รพ.) ในช่วง ส.ค. 2559 ถึง 2561 ติดตามไปข้างหน้าเฉลี่ย 400 วัน พบว่า ผู้ป่วยที่ได้ทำ HBPT (Home Blood Pressure Telemonitroing) คุมความดันฯ ได้อยู่ในเกณฑ์ จาก 45.4 % เป็น 73% เทียบกับ กลุ่มควบคุม 55.4 % เป็น 54.9%

โครงการพัฒนาศักยภาพ ทีมจัดการสุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงโรคเรื้อรังในสถานประกอบการ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานหรือส่งสุขภาพสู่สถานประกอบการ (4 ส.) (Social Security Office Health Delivery: SSO-HD) เป็นโครงการต้นแบบตรวจสุขภาพเชิงรุกโดยใช้ telehealth ร่วมกับทีมจัดการสุขภาพ ในช่วง มิ.ย. 2563 ถึง ก.ย. 2563 ได้คัดกรองและวินิจฉัยความดันฯ สูง ระดับ 4 จำนวน 6 คน ในประชากร 576 คน จาก 4 สถานประกอบการในกรุงเทพฯ และ 4 สถานประกอบการในภาคอีสาน (1%) ที่ได้รับการวินิจฉัยในวันเดียวกัน นอกจากนี้ จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมช่วงเข้าพรรษา 3 เดือน ในผู้มีปัจจัยเสี่ยง จำนวน 254 คน พบว่า ลดความดันฯ โดยเฉลี่ย ได้ 2.7/0.7 มม.ปรอท ลดน้ำหนักได้เฉลี่ย 0.5 กก. ลดรอบเอวในสถานประกอบที่ใส่ “เข็มขัดรัดพุง” ได้เฉลี่ย 1.9 ซม. ส่วนสถานประกอบการที่ไม่ได้ใช้ฯ รอบเอวเพิ่มขึ้น 0.5  ซม. การสูบบุหรี่ และดื่มสุรา ลดลงโดยเฉลี่ย 55% และ 53% ตามลำดับ

การพัฒนาเครื่องวัดความดันฯ ที่บ้านร่วมกับ telehealth (HBPT) ให้สามารถวัดความดันฯ ทุก 15 หรือ 30 นาที เพื่อใช้เป็นการวัดความดันฯ 24 ชั่วโมง (ทั้งเวลาตื่นและหลับ) โดยการใช้ timer modification ได้การทดสอบและรับรองโดยนักวิจัยไทยเป็นครั้งแรก ที่มีการทำ validation เครื่องวัดความดันฯกับคนไทย และสามารถใช้เครื่อง HBPT แทนการใช้เครื่องวัดความดันฯ ABPM ได้ แต่ในราคาถูกกว่า และสะดวกในการใช้ (Laosanguanek W. Blood Press Monit. 2022 Sep 9 )

แบบแผนการใช้ Telehealth ในการสร้างเสริมสุขภาพด้านอาหารและการออกกำลังกาย ที่ได้รับการศึกษา ความคุ้มค่า คุ้มทุน (Cost-effectiveness) มากที่สุด คือ การใช้โทรศัพท์ การใช้โทรศัพท์มือถือ (Mobile health) และการติดตามผู้ป่วยทางไกล (Law L. J Telemed Telecare. 2022 Feb 2:1357633X211070721.)


สรุป

Telehealth ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เอ็นซีดี เป็นประโยชน์อย่างมากในการ คักกรองวินิจฉัย รักษา ป้องกันโรค ติดตามผู้ป่วย แม้แต่การทำวิจัยหรือพัฒนาระบบสาธารณสุข โดยเฉพาะกับผู้ป่วยหรือบุคลากรที่ ระยะทาง หรือ การเดินทางเป็นอุปสรรคสำคัญ เช่น ในช่วงโควิดระบาด  

 

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก