CIMjournal
How to improve Blood Pressure Control

How to improve Blood Pressure Control in Thai Hypertensive Population ?


นพ. สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ผศ. นพ. สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์
สาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สรุปเนื้อหาจากงานประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 18 จัดโดย สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563

 

สาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของคนไทยในปี 2560 อันดับสองและสาม คือ โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งความดันโลหิตสูงเป็นเหตุปัจจัยที่สำคัญ และความดันโลหิตสูงยังเป็นสาเหตุการสูญเสียปีสุขภาวะ (Disability Adjusted Life Year) ในอันดับต้น ๆ ที่เพิ่มขึ้น 24.5% ใน 10 ปีที่ผ่านมา (www.healthdata.org/thailand) ทั้งนี้น่าจะผลสืบเนื่องจากความชุกของความดันฯ สูงที่เพิ่มขึ้นจาก 21.4% (ปี 2552) เป็น 24.7% (ปี 2557) 45% ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไม่ได้รับการวินิจฉัยและอัตราการควบคุมความดันโลหิตได้ ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีเพียง 30%: คนไทยที่ความดันโลหิตสูงมีจำนวนไม่น้อยกว่า 13 ล้านคน แต่ 5.8 ล้านคนไม่ได้รับการวินิจฉัย และ 2.5 ล้านคน ควบคุมความดันโลหิตสูงไม่ได้ แม้รักษาด้วยการกินยาลดความดันโลหิตอยู่

How to improve Blood Pressure Control


มาตรการในการเพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรองและวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้แก่ 1. ในโรงพยาบาล คือ 1.1 ผู้ที่มาตรวจในโรงพยาบาลเป็นประจำหรือนอนโรงพยาบาลด้วยโรคอื่นทุกโรค ควรได้รับการวัดคัดกรองความดันโลหิตทุกครั้ง 1.2. ผู้ที่วัดความดันโลหิตด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติทุกรายที่ความดันโลหิตสูง ควรได้รับการติดตามวินิจฉัย 2. นอกโรงพยาบาล คือ 2.1 บ้านของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 2.2 สถานประกอบการควรมีระบบคัดกรองวัดความดันโลหิตและวินิจฉัย โดยเฉพาะ Home Blood Pressure Monitoring (HBPM) ถ้าพบความดันโลหิตสูงอันตราย (ไม่ว่าจะในหรือนอกโรงพยาบาล) ทุกคนควรได้รับการวินิจฉัยและรักษาด้วยยาลดความดันฯ ทันที (รูปที่ 2) พร้อมทั้งขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยในวันที่วัดความดันฯ นั้น ส่วนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย ก็ดำเนินการวินิจฉัยตามคำแนะนำ สมาคมความดันโลหิตสูง ปี 2562 (รูปที่ 1) (www.thaihypertension.org/guideline.html)

 

How to improve Blood Pressure Control


โครงการ THAI-HBPM เป็นการศึกษาการวินิจฉัย (Screening &Diagnosis) และรักษา (treatment & control) ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง (n = 1250 จาก 46 โรงพยาบาลทั่วทุกภาค) ตั้งแต่ ปี 2559 ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่รักษาอยู่ 1,040 คน ซึ่งได้ใช้ HBPM พบว่า ควบคุมความดันโลหิตได้เพียง 30% มี white coat effect 23.4% (over-treatment), uncontrolled 9.6% (under-treatment) และ sustained uncontrolled HT 37%. การศึกษา randomized controlled trial (n = 171) ต่อเนื่องมา เปรียบเทียบ Home Blood Pressure Telemonitoring (HBPT) และ goal setting กับกลุ่มควบคุม พบว่า ลดความดันฯในกลุ่ม HBPT ได้เฉลี่ย 8.5/4.4 มม.ปรอทในเวลา 400 วัน

โครงการ Social Security Office-Health Delivery (SSO-HD) เป็นตัวอย่างการคัดกรอง-วินิจฉัยและรักษาความดันโลหิตสูงในสถานประกอบการ 4 แห่ง (n = 301 คน ติดตามช่วงเข้าพรรษา 3 เดือน) พบว่า อัตราผู้ประกันตนที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยลดลงจาก 66.8% เป็น 23% (ตรวจพบความดันโลหิตสูงอันตราย 3 ราย) และอัตราการควบคุมความดันโลหิตสูงได้เพิ่มขึ้นจาก 17.8% เปน็ 30.3% โดยใช้เครื่องมือ smart-phone & internet-based BP device (HBPT)

นอกจากนี้ การใช้ Polypill, team-base approach, social determinant and decision making support น่าจะช่วยให้การควบคุมความดันฯ สูงในประชากรไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก