ผศ. นพ. สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์
สาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สรุปเนื้อหาจากงานประชุมวิชาการกลางปี 2563 จัดโดย สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย วันที่ 14 สิงหาคม 2563
โดยทั่วไป ความดันโลหิตตัวบน (SBP) ที่ต่ำกว่า 90 หรือ ความดันฯ ตัวล่าง (DBP) ต่ำกว่า 60 มม.ปรอท ถือว่า ความดันโลหิตต่ำ (Low blood pressure or hypotension จาก www.mayoclinic.org, www.nhs.uk) แม้ว่า ภาวะ OH มีคำว่า Hypotension อยู่ แต่ไม่จำเป็นที่ SBP/DBP ต้องต่ำกว่า 90/60 มม.ปรอทเสมอไป เพราะคำจำกัดความของ OH คือ SBP ในท่ายืน (ภายใน 3 นาทีหลังจากยืน) ต่ำกว่าในท่านั่ง (หรือท่านอน) >20 มม.ปรอท หรือ DBP >10 มม.ปรอทไม่ว่าจะมีหรือไม่มีอาการจากความดันฯ ต่ำ ไม่ว่าความดันฯ ในท่ายืนจะต่ำกว่าหรือ สูงกว่า 90/60 มม.ปรอท
ส่วน PPH คือ SBP ในท่านั่ง ภายใน 2 ชั่วโมงหลังอาหาร ต่ำกว่า SBP ก่อนอาหาร >20 มม.ปรอท หรือ SBP ภายใน 2 ชั่วโมงหลังอาหาร <90 มม.ปรอท ในขณะที่ SBP ก่อนอาหาร >100 มม.ปรอท
ความดันฯ ที่อยู่ระหว่าง 90 – 119/60 – 79 มม.ปรอท ถือว่า เป็นความดันโลหิตที่เหมาะสม (Optimal blood pressure) ตามคำแนะนำแนวทางรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562 โดยสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. การศึกษาชาวญี่ปุ่น 27,000 กว่าคน (ชาย 36%) วัย 20 – 79 ปี ติดตาม 18.5 ปี (ตั้งแต่ 1988 – 1990) เกิดการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด 1,477 คน พบว่า ในกลุ่มประชากรที่ไม่ได้กินยาลดความดันฯ อัตราการเสียชีวิตใน 1 ปี จะลดลงเรื่อย ๆ จาก 6.1/1000 (ความดันฯ >160/100 มม.ปรอท) ถึง 1.31/1000 (ความดันฯ <120/80 มม.ปรอท) แต่ในกลุ่มประชากรที่กินยาลดความดันฯ อัตราเสียชีวิตที่ 1 ปี ลดลงจาก 7.99/1000 (ความดันฯ >160/100 มม.ปรอท) ลดลงต่ำสุด 5.4/1000 (ที่ความดันฯ 130-139/85 – 89 มม.ปรอท) แล้วกลับเพิ่มอัตราการเสียชีวิต เป็น 10.5/1000 (ที่ความดันฯ <120/80 มม.ปรอท) เป็นรูปตัว U (ดังรูปที่ 1)1
รูปที่ 1 ความดันโลหิตในระดับต่าง ๆ กับอัตราการเสียชีวิตต่อพันประชากรใน 1 ปี ไม่เร็วขึ้น (เช่น ไม่เร็วเกินกว่า 10 – 15 ครั้ง/นาที) (1000 person-years) ของชาวญี่ปุ่น กลุ่มที่กินยาลดความดันฯ (สามเหลี่ยมสีฟ้า) ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้กินยาลดความดันฯ (วงกลมสีแดง)1
นอกจากนี้ ในกลุ่มผู้ที่ไม่ได้กินยาลดความดันฯ ไม่ได้กินยาลดไขมัน ไม่ได้กินยาเบาหวาน (เพราะไม่ได้เป็นโรคดังกล่าวและไม่สูบบุหรี่) ความดันฯ 90 – 99 มม.ปรอท สัมพันธ์กับอัตราการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ต่ำกว่าความดันฯ 100 – 109 มม.ปรอทและ 110 – 119 มม.ปรอท2
ตารางที่ 1 สรุป ลักษณะทางคลินิก พยาธิกำเนิด การวินิจฉัย และการรักษา ภาวะ Orthostatic Hypotension และ Post-Prandial Hypotension
OH แบ่งตามสาเหตุ เป็น Neurogenic OH(nOH) เช่น โรคพาร์กินสัน โรคเบาหวาน และ Non-neurogenic OH (nnOH) เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด เสียเลือด – น้ำและเกลือแร่ ยาบางชนิด ซึ่งจะมี OH ร่วมกับการเต้นหัวใจ (ชีพจร) ที่เร็วขึ้นกว่าปกติขณะความดันฯ ต่ำ ต่างจาก nOH ที่ชีพจรไม่เร็วขึ้น (เช่น ไม่เร็วเกินกว่า 10 – 15 ครั้ง/นาที)
เอกสารอ้างอิง
- Yamagishi K., Sawachi S., Tamakoshi A., Iso H., JACC Study Group. Blood pressure levels and risk of cardiovascular disease mortality among Japanese men and women: the Japan Collaborative Cohort Study for Evaluation of Cancer Risk (JACC Study). J Hypertens . 2019 Jul;37(7):1366-1371.
- Whelton SP, et al. Association of Normal Systolic Blood Pressure Level With Cardiovascular Disease in the Absence of Risk Factors. JAMA Cardiol. 2020 Jun 10;e201731.
- Trahair LG., Horowitz M., Jones KL. Postprandial Hypotension: A Systematic Review. JAMDA 2014;15:394-409