ผศ. พญ. สิรินทร์ อภิญาสวัสดิ์
หน่วยโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
สรุปเนื้อหาจากการอบรมระยะสั้นโรคหัวใจและหลอดเลือด ครั้งที่ 40 จัดโดย สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย วันที่ 28 กันยายน 2560
แนวทางหลักในการรักษา atrial fibrillation (AF) ที่ปฏิบัติกันมากว่า 20 ปี1 ประกอบด้วย การควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ การควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ และการป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ในช่วง 3 – 5 ปีที่ผ่านมา การควบคุม cardiac risk factors ได้ถูกเพิ่มเข้ามาเป็นแนวทางหลักที่สี่ในการรักษา AF2 บทความนี้มีเป้าหมายเพื่อทบทวน 3 แนวทางหลักในการรักษา AF ได้แก่ การควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ การควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ และการควบคุม cardiac risk factors พร้อมกับนำเสนอข้อมูลใหม่ที่ออกมาในปีนี้
การควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจและจังหวะการเต้นของหัวใจ (Rate and Rhythm Control)
เป้าหมายหลักของทั้ง rate และ rhythm control ในผู้ป่วย AF ก็คือ ลดอาการ เพิ่มคุณภาพชีวิต ลดผลเสียที่เกิดจากอัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วมาก และ (ถ้าเป็นไปได้) ลด cardiovascular morbidity/mortality
แนวทางการรักษาเพื่อควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ (rate control)3
- ยากลุ่ม beta blockers และ calcium channel blockers เป็นยาหลักในการรักษา แต่ต้องระวังว่า calcium channel blockers ซึ่งได้แก่ verapamil และ diltiazem ไม่ควรใช้ในคนไข้ที่มี left ventricular (LV) systolic dysfunction เพราะมีฤทธิ์เป็น negative inotrope
- Digoxin ถือเป็น second line agent ถัดจาก beta blockers หรือ calcium channel blockers แต่อาจจะเลือกใช้ digoxin เป็น first line ในคนไข้ที่มีภาวะ heart failure ร่วมกับภาวะความดันโลหิตต่ำ หรือในคนไข้ที่มีsedentary lifestyle
- ในคนไข้ symptomatic AF สามารถเลือกใช้การรักษาด้วยวิธี rate control เป็นลำดับแรก ก่อนที่จะพิจารณาวิธี rhythm control ยกเว้นคนไข้มีอาการรุนแรงมาก หรือมีภาวะ tachycardia induced cardiomyopathy (รูปที่ 1)4
- อาจพิจารณาใช้ amiodarone เพื่อควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจในภาวะฉุกเฉินที่ไม่สามารถให้ยาอื่น ๆ ได้ หรือให้ได้แต่ยังไม่ได้ผลที่ต้องการ แต่ไม่ควรใช้ amiodarone ต่อเนื่องถ้าเลือก rate control เป็นวิธีการรักษาหลัก
- Target heart rate สำหรับ rate control ไม่ควรเกิน 110 ครั้งต่อนาที การใช้ target ที่ต่ำกว่านี้ (เช่น 80 ครั้งต่อนาที) ไม่มีประโยชน์ในการลด cardiovascular outcomes ทั้งในคนไข้ที่มี และไม่มี heart failure5 นอกจากนี้ แล้วอาจเพิ่มอัตราการเกิดผลข้างเคียงจากภาวะหัวใจเต้นช้าได้ อย่างไรก็ดี ในคนไข้ที่มีอาการเนื่องจากการมีอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงกว่าปกติ อาจพิจารณาใช้ target heart rate ที่ต่ำลงได้
- การจี้ AV node (AV nodal ablation) ควรพิจารณาเป็นทางเลือกสุดท้ายเมื่อการรักษาด้วยยาไม่ได้ผลจริง ๆ และผู้ป่วยมีอาการจาก AF with rapid ventricular response จริง ๆ เพราะการจี้ AV node จะทำให้ผู้ป่วยต้องพึ่ง pacemaker ตลอดไป สำหรับผู้ป่วยที่มี LV systolic function น้อยกว่า 50% และมีภาวะ heart failure ร่วมด้วย ควรพิจารณาใส่เป็น cardiac resynchronization therapy แทนการใส่ pacemaker ธรรมดา
รูปที่ 1 แนวทางการเลือกใช้ rate และ rhythm control ในคนไข้ symptomatic AF4
ตารางที่ 1 ประโยชน์จาก catheter ablation ในคนไข้ symptomatic AF เมื่อเทียบกับความเสี่ยงของหัตถการ
+ แสดงถึงประโยชน์ของการทำ catheter ablation เมื่อเทียบกับความเสี่ยง, *Symptomatic AF ที่เป็นมาต่อเนื่องมากกว่า 1 ปี
(Adapted from Verma et al. 2014 focused update of the Canadian Cardiovascular Society Guidelines for the
management of atrial fibrillation. Can J Cardiol. 2014 Oct;30(10):1114-30.)
แนวทางการรักษาเพื่อควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ (rhythm control)3
- ยา antiarrhythmic กลุ่ม IC เช่น flecainide และ propafenone ออกฤทธิ์เร็ว มีประโยชน์ใน rhythm conversion สำหรับ AF ที่เป็นมาไม่เกิน 7 วัน และมีประโยชน์เพื่อการใช้ใน “pill-in-thepocket” strategy สำหรับผู้ป่วยที่เป็น AF ไม่เกิน 2-3 ครั้งต่อปี แต่มีข้อห้ามในกลุ่มคนไข้ที่มี structural heart diseases ไม่ว่าจะเป็น LV hypertrophy, LV systolic dysfunction หรือ coronary artery disease นอกจากนี้ ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ในการควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจน้อยมาก (ควบคุม rhythm เป็นหลัก) ในการใช้ยากลุ่มนี้จึงควรพิจารณาให้ยาที่ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจร่วมด้วย
- สำหรับคนไข้ที่มี structural heart diseases สามารถเลือกใช้เป็น dronedarone หรือ amiodarone อย่างไรก็ดี การใช้ dronedarone ควรจำกัดในคนไข้ที่ไม่มี severe heart failure
- Catheter ablation ควรพิจารณาในคนไข้ที่มีอาการจาก AF โดยเฉพาะที่เป็นแบบ paroxysmal และไม่ตอบสนองต่อยา (ตารางที่ 1)
- จากการศึกษาในอดีต พบว่า rhythm control ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด (ยา หรือ ablation) ไม่ได้ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตในคนไข้ AF เมื่อเทียบกับการใช้วิธี rate control อย่างไรก็ดีมี ผลเบื้องต้นจากการศึกษา CASTLE-AF5 พบว่า การทำ catheter ablation ในผู้ป่วย AF ที่มี LV function <35% ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตเมื่อเทียบกับกลุ่มคนไข้เดียวกันที่ไม่ได้ทำ catheter ablation
การควบคุม cardiac risk factors (Cardiac Risk Factors Modification)
การเกิดและการคงอยู่ของ AF ส่วนหนึ่งมาจาก atrial myopathy ซึ่งเป็นผลมาจาก cardiac risk factors2 ต่าง ๆ เช่น hypertension, diabetes, obesity และ poor cardiovascular fitness เป็นต้น การควบคุม risk factors เหล่านี้ ได้แก่ การควบคุมน้ำหนักให้ body mass index น้อยกว่า 27 kg/m2 การออกกำลังอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน การควบคุมความดันโลหิตไม่ให้เกิน 120/80 mmHg และการจำกัดปริมาณ sodium intake พบว่า สามารถช่วยลดขนาดของ left atrium ลด AF burden และทำให้ maintain sinus rhythm ได้มากกว่าคนไข้ที่ไม่ได้ควบคุม risk factors เหล่านี้6 ดังนั้น การควบคุม risk factors เหล่านี้อย่างจริงจังจึงถือเป็นส่วนสำคัญหลักส่วนหนึ่งในการรักษา AF
สรุป
- การเลือกวิธีการรักษา AF ไม่ว่าจะด้วย rate หรือ rhythm control หรือด้วยการใช้ยาชนิดต่าง ๆ หรือด้วยการจี้ไฟฟ้าหัวใจนั้น ขึ้นกับอาการของคนไข้และความผิดปกติของโครงสร้างของหัวใจของคนไข้คนนั้น ๆ เป็นหลัก
- Cardiac risk factors modification ซึ่งรวมถึงการควบคุมน้ำหนัก การออกกำลังกาย การควบคุมความดันโลหิต ช่วยควบคุมและลดการเกิด AF ได้อย่างมีนัยสำคัญ การควบคุม risk factors เหล่านี้จึงถือเป็นส่วนสำคัญในการรักษา AF และควรเน้นให้ผู้ป่วยปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
เอกสารอ้างอิง
- Prystowsky EN. The history of atrial fibrillation: the last 100 years. J Cardiovasc Electrophysiol. 2008 Jun;19(6):575-82.
- Miller JD, Aronis KN, Chrispin J, Patil KD, et al. Obesity, Exercise, Obstructive Sleep Apnea, and Modifiable Atherosclerotic Cardiovascular Disease Risk Factors in Atrial Fibrillation. J Am Coll Cardiol. 2015 Dec 29;66(25):2899-2906.
- January CT, Wann LS, Alpert JS, Calkins H, et al; ACC/AHA Task Force Members. 2014 AHA/ACC/HRS guideline for the man agement of patients with atrial fibrillation: executive summary: a report of the American College of Cardiology/American Heart Association Task Force on practice guidelines and the Heart Rhythm Society. Circulation. 2014 Dec 2;130(23):2071-104.
- Verma A, Cairns JA, Mitchell LB, Macle L, et al. 2014 focused update of the Canadian Cardiovascular Society Guidelines for the management of atrial fibrillation. Can J Cardiol. 2014 Oct;30(10):1114-30.
- Marrouche NF, Brachmann J, The CASTLE-AF trial. European Society of Cardiology 2017 Congress. August 27, 2017, Barcelona, Spain.
- Pathak RK, Evans M, Middeldorp ME, Mahajan R, et al. Cost-Effectiveness and Clinical Effectiveness of the Risk Factor Management Clinic in Atrial Fibrillation: The CENT Study. J Am Coll Cardiol EP 2017;3:436–47.