CIMjournal
banner ความดัน 1

Hypertension in stress and psychiatric disorders


พญ. อมรพิชญ์ กิตติพจนสิทธิ์
สาขาจิตเวช โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่
.

สรุปเนื้อหางานประชุมวิชาการประจำปี 2561 ครั้งที่ 16 จัดโดย สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561

 

คำจัดความของความเครียด (stress) มีอยู่หลายความหมายด้วยกัน ได้แก่ “ปัจจัยทางร่างกาย ทางเคมี หรือทางอารมณ์ที่มีผลทำให้เกิดความตึงเครียดของร่างกาย และความตึงเครียดทางจิตใจ ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคตามมาได้” และ “สถานการณ์ที่ทำให้ร่างกาย และจิตใจเสียสมดุลไป”1 นอกจากนี้ยังหมายถึง ประสบการณ์ทางอารมณ์ที่พบการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ทางสรีวิทยา และทางพฤติกรรมร่วมด้วย2 ความเครียดมักถูกอธิบายว่าเป็นภาวะกังวลหรือความเหนื่อยล้า ความเครียดที่มากเกินไปมีผลต่อสุขภาพ โดยมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบสมองและต่อมไร้ท่อ รวมไปถึงระบบประสาทได้ โดยในสถานการณ์ที่ตึงเครียด ร่างกายจะปลดปล่อยฮอร์โมนความเครียด (stress hormones) ได้แก่ อดรีนาลิน และคอร์ติซอลออกมาในกระแสเลือด ฮอร์โมนเหล่านี้ทำให้ร่างกายพร้อมสำหรับการหนี หรือสู้ซึ่งเป็นการตอบสนองเชิงพฤติกรรมต่อสถานการณ์ตึงเครียด โดยทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น และเกิดการหดตัวของเส้นเลือด เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงส่วนกลางของลำตัวมากขึ้น3 บางคนสามารถเอาชนะความตึงเครียดที่เข้ามาเล็กน้อยได้โดยการใช้กลไกป้องกันตัวตามธรรมชาติเพื่อปรับตัวต่อสถานการณ์ แต่เมื่อเกิดความเครียดเรื้อรัง หรือความเครียดสะสมเป็นระยะเวลานานก็ทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย และจิตใจได้ โดยทำให้เกิดโรคทางจิตเวช เช่น โรควิตกกังวล โรคแพนิก หรือโรคซึมเศร้าได้ ขณะที่ความเครียดที่รุนแรงมาก เช่น การประสบหรือรู้เห็นเหตุการณ์ร้ายแรงที่คุกคามชีวิตก็ทำให้เกิดโรค post traumatic stress disorder ได้

มีหลักฐานทางงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าภาวะเครียด และโรคทางจิตเวชทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยารวมไปถึงความดันโลหิตที่สูงขึ้นชั่วคราวจริงด้วย กลไกเดียวกับภาวะความดันโลหิตสูงชั่วคราวที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่เครียดเมื่อมาวัดความดันโลหิตที่โรงพยาบาล (white-gown syndrome) แต่ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดที่บ่งบอกว่าความเครียดชั่วคราว หรือความเครียดเรื้อรังจะทำให้ความดันโลหิตสูงไปตลอด หรือทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ 4

อย่างไรก็ตาม ยังมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นความเกี่ยวข้องกันในเชิงความสัมพันธ์ (correlations) ระหว่างความเครียด และโรคทางจิตเวชกับโรคความดันโลหิตสูงให้เห็นอยู่มากมาย เช่น พบว่าโรควิตกกังวลเป็นโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ความชุกประมาณ 12 – 56% โดยพบมากกว่ากลุ่มประชากรทั่วไปซึ่งมีความชุกของโรควิตกกังวลประมาณ 3 – 7% และในขณะเดียวกันก็พบว่า ผู้ป่วยโรควิตกกังวลมีอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น โรคความดันโลหิตสูงสูงกว่าประชากรทั่วไป5 โดยพบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรุนแรงของโรควิตกกังวล ได้แก่ การเป็นผู้หญิงระยะเวลาที่ป่วยเป็นความดันโลหิตสูง ประวัติการเคยนอนโรงพยาบาลด้วยภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง6

มีการวิจัยพบว่า โรคซึมเศร้า (depression) โรควิตกกังวล (anxiety disorder) โรคควบคุมการกินไม่ได้ (implusive eating disorders) และโรคเกี่ยวกับการใช้ยาและสารเสพติด (substance use disorders) มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคความดันโลหิตสูงตามมา7 โดยมีค่า OR อยู่ที่ 1.1 – 1.6 และในความสัมพันธ์นี้พบว่า โรคแพนิก (panic disorder) เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงที่อายุน้อย

การศึกษาของ Kretchy และคณะพบว่า ในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงพบโรควิตกกังวล 56% ความเครียด 20% และโรคซึมเศร้า 4% ซึ่งถือว่าสูงกว่าความชุกในประชากรทั่วไป และพบว่าภาวะเครียดสัมพันธ์กับการไม่รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ [odds ratio (OR) = 2.42 (95% CI 1.06 – 5.5),p = 0.035]8

จากความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด โรคทางจิตเวช และโรคความดันโลหิตสูงที่พบดังกล่าว การให้ความสำคัญกับภาวะเครียด และโรคทางจิตเวชจึงอาจทำให้ควบคุมความดันโลหิตในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้ดียิ่งขึ้น

 

เอกสารอ้างอิง

  1. The Merriam- Webster Collegiate Dictionary (11th edition, 2004)
  2. Baum, A. (1990). “Stress, Intrusive Imagery, and Chronic Distress,” Health Psychology, Vol. 6, pp. 653-675.
  3. Anderson, N.B. (1998). “Levels of Analysis in Health Science: A Framework for Integrating Sociobehavioral and Biomedical Research,” Annals of the New York Academy of Sciences, Vol. 840, pp. 563-576.
  4. Suls J (1995). “Relationship of trait anger to resting blood pressure: a meta-analysis.” Health Psychol. Vol.14, pp. 444–456.
  5. Markovitz J.H. (1993) “Psychological predictors of hypertension in the Framingham study—Is there tension in hypertension” Journal of the American Medical Association; Vol.270,pp.2439-2443
  6. Wang and wei (2006). “Anxiety symptoms in patients with hypertension: a community-based study” The International Journal of Psychiatry in Medicine Vol. 36(3) pp. 315-322
  7. Dan J. Stein (2014) “Associations between mental disorders and subsequent onset of hypertension” Gen Hosp Psychiatry. ; Vol 36(2), pp. 142–149.
  8. Kretchy, I.A.(2014) “Mental health in hypertension: assessing symptoms of anxiety, depression and stress on anti-hypertensive medication adherence” International Journal of Mental Health Systems, vol 8:25

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก