ปัญหา คือ การคิด มองเห็น หรือทำล่วงหน้าก่อนผู้อื่น คิดอะไรก็ค้นคว้าเชิงลึกเสมอว่าอะไรคือสิ่งดีงามเหมือนคนล้ำยุคเกินไป จน “Toxic” ต่อตัวเอง ในหลายองค์กรเคยชินแบบเดิม ๆ ไม่ยอมรับนวัตกรรมการเปลี่ยนแปลง เช่น เชียร์เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ให้ใช้คอมพิวเตอร์ เแต่เขาไม่เอา ช่วงแรกรู้สึกไม่ค่อยดี ถามว่าท้อไหม รู้สึกไม่ท้อ เพราะรอได้ เมื่อเรียนรู้เข้าใจโลกทัศน์ของผู้อื่นมากขึ้นเปลี่ยนวิธีนำเสนอให้ง่ายขึ้น จนผู้อื่นเริ่มเข้าใจสิ่งที่เราต้องการสื่อสาร
อีกเรื่อง คือเราเป็นคน “ทำงานเชิงระบบ” ถ้าระบบดีผู้ปฏิบัติทำงานง่าย ไม่โดนดุ ยุคแรก ๆ จึงดูเหมือนคนหัวแข็งเพราะมี adversity สูงมาก ไม่ยอมแก้ปัญหาแบบผิวเผิน ยกตัวอย่างการทำ Fast track คนไข้ที่ลูกข่ายต้องการปรึกษาแพทย์โรคหัวใจ ส่งต่อให้เข้าถึงโดยไม่ต้องผ่านระบบปกติ ทำให้เป็นที่มาที่ได้ทำ “ศูนย์นัดหมาย” ใช้เวลาอยู่หลายปีกว่าที่แพทย์หัวใจหรือแพทย์อื่น ๆ จะเข้าใจ ซึ่งคิดว่าปกติก็ดูคนไข้ให้อยู่แล้ว แต่ไม่รับรู้ว่าคนไข้เขาเข้าถึงช้า หรือต้องมาหลายรอบ เขาอาจจะเห็นก็ได้นะ แต่ไม่ได้มีแนวคิดใจเขาใจเรา อีกตัวอย่างการให้เจ้าหน้าที่มาทำ Echo แทน ยุคแรก คือเมื่อส่งคนไข้ไปกรุงเทพฯ เขาจะตรวจ Echo หรือเดินสายพานอีก คนไข้ต้องถูกนัดไปทำใหม่ ดูสิ้นเปลือง มาถึงยุคที่ 2 เริ่มยอมรับแล้วว่าแพทย์โรคหัวใจด้วยกัน ถ้าทำมาแล้วก็ใช้ได้ ไม่ต้องทำซ้ำ ยุคที่ 3 คือเจ้าหน้าที่เราที่เรียนมาทางนี้โดยตรงเป็นคนทำ แต่แพทย์ก็ต้องคอยดูเพราะโรคหัวใจไม่ใช่เคสง่ายทั้งหมด อุปสรรคพวกนี้จึงผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
ติดตามอ่านบทสัมภาษณ์ทั้งหมด เพียง สมัครสมาชิก หรือ Log in เข้าอ่านบทสัมภาษณ์คอลัมน์ Meet the Experts : Cardiovascular & Metabolic ได้เลยค่ะ