CIMjournal

เรื่องที่แพทย์สาขาประสาทวิทยา …ควรติดตาม เดือน ก.ย. – ธ.ค. 2567

.
พญ. อารดา โรจนอุดมศาสตร์

ดร. พญ. อารดา โรจนอุดมศาสตร์
นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ
ด้านเวชกรรม สถาบันประสาทวิทยา

 

สวัสดีค่ะ ฉบับนี้เราพบกันท่ามกลางบรรยากาศของสายฝนชุ่มฉ่ำ มีน้ำท่วมในบางพื้นที่ ขอให้รักษาสุขภาพกันนะคะ

Stroke เป็นสาเหตุการเสียชีวิตในลำดับต้น ๆ ของประเทศไทย ในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ได้มีการเพิ่มคุณภาพการรักษาในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความสำคัญกับ health literacy เพื่อให้ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลอย่างทันท่วงที การสนับสนุนการให้ thrombolytic และเพิ่มการเข้าถึง mechanical thrombectomy อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งที่ไม่สามารถเข้าถึงการทำ mechanical thrombectomy ได้ มีการศึกษาซึ่งเป็น controlled trial ในประเทศจีน ศึกษาผู้ป่วย large-vessel occlusion มี onset 4.5 – 24 hours  หลังจาก last seen normal (รวมถึง stroke on awakening และ unwitnessed stroke) ซึ่ง perfusion imaging พบว่ายังมีเนื้อสมองที่ rescue ได้ แต่ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึง endovascular thrombectomy จำนวน 516 คน ผู้ป่วย 264 รายถูกสุ่มให้ได้รับ tenecteplase (0.25 mg/kg of body weight; maximum 25 mg) ส่วนอีก 252 ราย ได้รับ standard medical treatment พบว่ากลุ่มที่ได้  tenecteplase มีสัดส่วนของจำนวนผู้ป่วยที่มี modified Rankin scale score 0 หรือ 1 ที่ 90 days มากกว่ากลุ่มที่ได้รับ standard medical treatment (33.0% vs. 24.2%; relative rate, 1.37; 95% CI, 1.04 to 1.81; P = 0.03) อัตราตายที่ 90 วัน เท่ากับ 13.3% ในกลุ่ม tenecteplase และ 13.1% ในกลุ่ม standard medical treatment ส่วนอัตราการเกิด symptomatic intracranial hemorrhage ภายใน 36 ชั่วโมงเท่ากับ 3.0% และ 0.8% ตามลำดับ สนใจอ่านรายละเอียดได้ใน Xiong Y et al, N Engl J Med 2024; 391:203.

หลายท่านน่าจะมีประสบการณ์การรักษาผู้ป่วย refractory myasthenia gravis กันพอสมควร ซึ่งทางเลือกการรักษา นอกเหนือจากยาที่มีการใช้ในประเทศไทย เช่น rituximab แล้ว ก็ยังมีการรักษาอื่น ๆ เช่น zilucoplan ซึ่งได้กล่าวถึงใน CIM journal นี้เมื่อฉบับ September 2023 และ rozanolixizumab ซึ่งมีข้อมูลจาก placebo-controlled RCT ซึ่งตีพิมพ์ใน Lancet Neurol เมื่อ พ.ค. 2023 นอกจากนี้ยังมีการรักษาด้วย anti-CD19 CAR T cells ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่ยังเป็น case reports/case series ของกรณีผู้ป่วย refractory MG และผู้ป่วย concomitant MG/LEMs ซึ่งผลการรักษาค่อนข้างดี (Haghikia, Aiden et al., 2023, The Lancet Neurology, Volume 22, Issue 12, 1104-1105) (Motte et al., 2024, Neuron 112, 1757-1763) นอกเหนือจากการใช้ยา anti-CD19 CAR T cells ในกรณี refractory MG ยังมีรายงานการใช้ใน idiopathic inflammatory myopathy ซึ่งในรายงานดังกล่าว ผู้ป่วยทั้งสามรายที่ได้รับยาล้วนมีอาการที่ดีขึ้นชัดเจน (F Müller et al,  N Engl J Med 2024;390:687-700)

ข่าวสำหรับแพทย์หลาย ๆ ท่าน ที่มีปัญหาปวดศีรษะไมเกรน ทาง American Headache Society ได้ออกเอกสาร position statement update ในเรื่องของการป้องกันด้วย calcitonin gene-related peptide (CGRP) โดยระบุว่า ข้อมูลและหลักฐานต่าง ๆ ล้วนบ่งชี้ว่า efficacy และ tolerability ของ CGRP-targeting therapies ดีกว่าหรือเท่ากับ การรักษาที่เป็น first-line therapies ในอดีต และผลข้างเคียงรุนแรงของ CGRP-targeting therapies พบได้น้อยมาก จึงควรพิจารณาเป็น first-line approach สำหรับ migraine prevention ด้วยเช่นเดียวกับยาชนิดอื่น ๆ โดยไม่ต้องได้ยาชนิดอื่นแล้วไม่ได้ผลมาก่อน (Charles AC  et al, Headache. 2024;64(4):333) แต่อย่างไรก็ตาม เอกสารฉบับดังกล่าวไม่ได้ระบุถึง cost-effectiveness หรือต้นทุนในการรักษา

ในช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน จะมีการประชุมวิชาการที่น่าสนใจหลายการประชุมด้วยกันค่ะ เช่น การประชุมวิชาการกลางปี 2567 สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย ใน Theme: neurological consultation ระหว่างวันที่ 12 – 14 ตุลาคม 2567 ณ ห้องประชุม แกรนด์ลานนาบอลรูม ชั้น 2 โรงแรมแชงกรี-ลา เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และการประชุมวิชาการประจำปี 2567 ชมรมโรคเส้นประสาทร่วมกล้ามเนื้อและเวชศาสตร์ไฟฟ้าวินิจฉัย ภายใต้สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย (The 11th Scientific Annual Meeting of Thai Neuromuscular and Electrodiagnostic Medicine Society) ในวันที่ 6 – 8 พฤศจิกายน 2567 เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ

เช่นเดียวกับทุกฉบับนะคะ อยากเชิญทุกท่านมาออกกำลังกายกันนะคะ พบกันใหม่ฉบับหน้าค่ะ

 

งานประชุมสาขาประสาทวิทยาที่น่าสนใจ ปี 2567.

Neurological consultation 2024

การประชุมวิชาการกลางปี 2567 ภายใต้หัวข้อเรื่อง Neurological Consultation สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย วันที่ 12 – 14 ตุลาคม 2567 ณ ห้องประชุม แกรนด์ลานนาบอลรูม ชั้น 2 โรงแรมแชงกรี-ลา เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

 

Thai Neuromuscular and Electrodiagnostic Medicine Society

การประชุมวิชาการประจำปี 2567  The 11th Scientific Annual Meeting of Thai Neuromuscular and Electrodiagnostic Medicine Society ชมรมโรคเส้นประสาทร่วมกล้ามเนื้อและเวชศาสตร์ไฟฟ้าวินิจฉัย ภายใต้สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย วันที่ 6 – 8 พฤศจิกายน 2567 เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก