CIMjournal
การสื่อสารก่อนวิกฤต

การสื่อสารทางการแพทย์ ก่อนเกิดสถานการณ์วิกฤต


นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญรศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สรุปเนื้อหางานประชุมใหญ่ประจำปี 2563 ครั้งที่ 24 จัดโดย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย วันที่ 17 ตุลาคม 2563

 

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2563 รศ.(พิเศษ) นพ. ทวี โชติพิทยสุนนท์ และผม ได้มีโอกาสเป็นวิทยากรในหัวข้อ “การสื่อสารก่อนวิกฤต” ในการประชุมใหญ่ของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ที่ศูนย์ประชุมพีช พัทยา มีการนำเสนอกรณีศึกษาและมีการอภิปรายร่วมกับผู้เข้าประชุม โดยมีบทสรุปดังนี้

  1. การสื่อสารทางการแพทย์เพื่อแก้ไขสถานการณ์วิกฤตทำได้ไม่ง่ายนักต้องอาศัยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ และต้องฝึกฝนอย่างต่อเนื่องบ่อยครั้งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นออกมาอาจไม่เป็นที่น่าพอใจสำหรับผู้ป่วย ญาติ และสังคม สร้างความกังวลใจและความผิดหวัง และบางครั้งอาจนำไปสู่การโพสต์ในสื่อสาธารณะ หรือเกิดการร้องเรียนและฟ้องร้องเป็นคดีความได้
  2. การสื่อสารทางการแพทย์ก่อนเกิดสถานการณ์วิกฤตจะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้หากเกิดสถานการณ์วิกฤตตามมา การดูแลผู้ป่วยต้องอาศัยการดูแลอย่างเป็นขั้นตอนและต่อเนื่อง การดูแลผู้ป่วยทั้งครอบครัว การตอบสนองต่อความต้องการและการแก้ไขความกังวลใจของผู้ป่วยและญาติ ผ่านการสื่อสารของทีมรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ
  3. ปัจจัยเสี่ยงที่อาจนำไปสู่การเกิดสถานการณ์วิกฤต ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ผู้ป่วยโรคเฉียบพลันที่ไม่ได้คาดคิด ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีอาการทรุดลง โดยเฉพาะกรณีเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา และผู้ป่วยที่มีความคาดหวังสูงการสื่อสารทางการแพทย์ก่อนเกิดสถานการณ์วิกฤต
  4. แพทย์ควรรับฟังผู้ป่วยและญาติให้รอบด้านอย่างรอบคอบโดยยึดหลักผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง พยายามทำความเข้าใจให้มากที่สุดเกี่ยวกับข้อมูลของผู้ป่วยในปัจจุบันและสถานการณ์ที่คาดว่าอาจจะเกิดตามมา อย่าเร่งรีบในการให้ข้อมูลโดยเฉพาะการชี้แจงเพื่อโต้ตอบกัน รู้จักวิธีให้กำลังใจผู้ป่วยและญาติ มีความใส่ใจกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งในอดีตและปัจจุบัน ตลอดจนให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขความรู้สึกผิดของผู้ป่วยและญาติ
  5. ในปัจจุบัน องค์ความรู้ทางการแพทย์มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นและยากที่จะเข้าใจ แพทย์ต้องฝึกฝนทักษะในการสื่อสารกับผู้ป่วย กับญาติของผู้ป่วย และกับสังคม ควรปรับเนื้อหาวิชาการที่ต้องการสื่อสารให้เป็นข้อมูลที่เข้าใจง่าย ชัดเจนตรงประเด็น กระชับ และสื่อสารในประเด็นที่ผู้ป่วย ญาติ และสังคม ต้องการรู้หรือต้องการคำตอบเป็นสำคัญ

 

หนังสือที่แนะนำให้อ่านเพิ่มเติม

  1. ชิษณุ พันธุ์เจริญ. ทักษะการสื่อสารเพื่อความเป็นเลิศด้านบริการทางการแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: แอคทีฟพริ้นท์, 2556.
  2. ชิษณุ พันธุ์เจริญ. Communication Skills การสื่อสารทางการแพทย์แบบมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: แอคทีฟพริ้นท์, 2560.

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก