พญ. ทิราภรณ์ กาญจนพันธุ์
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
รศ.พญ.วนัทปรียา พงษ์สามารถ
หน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
การติดเชื้อ Group B Streptococcus (GBS) หรือ Streptococcus agalactiae ในเด็กทารกแรกเกิด ยังคงเป็นสาเหตุสำคัญต่อการเกิดทั้ง earlyonset และ late-onset neonatal sepsis การให้ยาปฏิชีวนะป้องกันระหว่างการคลอดที่เหมาะสม นับเป็นมาตรการเดียวที่สามารถป้องกัน early-onset GBS disease ในขณะที่ยังไม่มีวิธีการป้องกัน late-onset disease ดังนั้น American Academy of Pediatrics (AAP) ร่วมกับ American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG) จึงได้ออกแนวทางปฏิบัติล่าสุด ในปี ค.ศ. 2019 “Management of Infants at Risk for Group B Streptococcal Disease” ซึ่งในบทความนี้ได้รวบรวมแนวทางการปฏิบัติทั้งในหญิง ตั้งครรภ์ และเด็กทารกแรกเกิด เพื่อเป็นแนวทางในการคัดกรองเชื้อ GBS และการให้การป้องกันอย่างเหมาะสม รวมทั้งได้รวบรวมข้อมูลด้านระบาดวิทยา และแนวทางการประเมินทารกที่มีความเสี่ยง และการรักษาทารกที่ยืนยันการติดเชื้อ GBS ให้มีความทันสมัยขึ้นจากแนวทางในปี ค.ศ. 2010
สถานการณ์การติดเชื้อ group B Streptococcus ในเด็กทารกแรกเกิด
การติดเชื้อ Early-onset GBS disease (GBS EOD) เป็นการติดเชื้อ group B Streptococcus ที่มีการเพาะเชื้อพบในเลือด น้ำไขสันหลัง หรือสิ่งส่งตรวจที่ปราศจากเชื้อ ในระยะเวลาตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 วัน1 จากการรวบรวมของ Active Bacterial Core surveillance (ABCs) ซึ่งร่วมกับ CDC ใน 10 รัฐอเมริกาพบว่า อุบัติการณ์การเกิด Early-onset GBS disease ลดลง จาก พบ 0.37 ต่อประชากรเกิดมีชีพ 1,000 คน ในปี ค.ศ. 2006 เป็น 0.23 ต่อประชากรเกิดมีชีพ 1,000 คน ในปี ค.ศ. 20152 โดยที่พบมีภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบร่วมด้วยใน GBS EOD ร้อยละ 9.5 โดยทารกที่มี GBS EOD ร้อยละ 94.7 จะแสดงอาการภายใน 48 ชั่วโมงหลังคลอด และพบว่า ร้อยละ 28 ของ GBS EOD พบในทารกที่มีอายุครรภ์ < 37 สัปดาห์ และเป็นกลุ่มที่พบอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 19.2
การติดเชื้อ Late-onset GBS disease (GBS LOD) เป็นการติดเชื้อ group B Streptococcus ที่พบในสิ่งส่งตรวจที่ปราศจากเชื้อตั้งแต่อายุ 7 – 89 วัน1 จากการสำรวจของ ABCs ในปี ค.ศ. 2006 – 2015 พบอุบัติการณ์ของ GBS LOD 0.31 ต่อประชากรเกิดมีชีพ 1,000 คน2 โดยที่ GBS LOD พบที่อายุเฉลี่ย 34 วัน อาการแสดงที่พบบ่อย คือ ไข้ที่ไม่พบ ตำแหน่งของการติดเชื้อ ร้อยละ 31.4 ของ GBS LOD ได้รับการวินิจฉัยเยื่อหุ้มสมองอักเสบร่วมด้วย พบว่าทารกคลอดก่อนกำหนด < 37 สัปดาห์มีรายงานอัตราการเสียชีวิตในกลุ่มที่วินิจฉัย GBS LOD สูงกว่าในกลุ่มทารกคลอดครบกำหนดประมาณสองเท่า (ร้อยละ 7.8 vs 3.4)
สถานการณ์การติดเชื้อ GBS ในทารกแรกเกิดของประเทศไทย มีการรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ ค.ศ 1991 จนถึง ค.ศ 2015 พบอุบัติการณ์การติดเชื้อ GBS 0.12 ต่อประชากรเกิดมีชีพ 1,000 คน โดยร้อยละ 78 เป็นกลุ่ม GBS EOD และที่สำคัญมีการรายงานการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 21 ของทารกแรกเกิดที่มีการติดเชื้อ GBS3
พยาธิกำเนิด และปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ group B Streptococcus
- Early-onset GBS disease การที่มารดาที่มี GBS colonization ในช่องคลอด และหรือทวารหนักเป็นปัจจัยสำคัญที่ตัองมีและสัมพันธ์กับการเกิด GBS EOD ซึ่งอัตราการมี GBS colonization ในหญิงตั้งครรภ์ทั่วโลกพบรายงานร้อยละ 18 (ร้อยละ 11 – 35) ซึ่งปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ GBS EOD นั้น มีหลายประการ ได้แก่ ทารกคลอดก่อนกำหนด ระยะเวลาของการรั่วของถุงน้ำคร่ำที่นานมากขึ้น มารดาอายุ < 20 ปี มารดาที่มีไข้ก่อนคลอด หญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติทารกมี GBS EOD ในครรภ์ก่อน และหญิงตั้งครรภ์ที่พบ GBS ในปัสสาวะและการทำหัตถการทางสูติกรรม พบเช่น การตรวจภายในบ่อย ๆ ในระหว่างการคลอด การทำ invasive fetal monitoring เป็นต้น
- สำหรับ Late-onset GBS disease นั้น อาจพบได้แม้มารดาไม่มี GBS colonization และอาจเกิดจากการได้รับเชื้อ GBS ภายนอก อาจติดเชื้อในโรงพยาบาลหรือจากชุมชน ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อ GBS LOD ได้แก่ ทารกคลอดก่อนกำหนด ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ของ GBS EOD นั้นไม่สัมพันธ์กับ GBS LOD นอกจากนี้ ยังพบว่า สามารถเพาะเชื้อ GBS ได้จากนมมารดา ร้อยละ 25 ในทารกที่มี GBS LOD ที่ดูดนมมารดา
นอกจากนี้ ยังพบว่า ความรุนแรงของเชื้อเองก็สัมพันธ์กับการเกิดการติดเชื้อ GBS เชื้อ GBS มี 10 serotypes (type I, Ia และ II – IX) ทั่วโลกพบว่า type I – V พบได้ร้อยละ 98 ของ GBS colonization และร้อยละ 97 ของการติดเชื้อในทารก โดยที่ type III พบบ่อยสุดถึงร้อยละ 62 ของการติดเชื้อในทารก ซึ่งอาจพบในอัตราที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่
แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อ group B Streptococcus ในเด็กทารกแรกเกิด
การศึกษาวิจัยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นชัดเจนว่า การให้ Itrapartum antibiotic prophylaxis (IAP) ช่วยป้องกันการเกิด GBS EOD ซึ่งอาจเกิดจากการลดปริมาณเชื้อ GBS colonization ในช่องคลอดมารดา ช่วยป้องกัน colonization ที่ผิวและเยื่อบุของทารก และมีระดับยาส่งผ่านจากมารดาไปทารกในระดับที่สูงเกิน minimal inhibitory concentration (MIC) ในการฆ่าเชื้อ GBS โดยก่อนหน้านี้ American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG) แนะนำให้ค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงในการมี colonization และส่งผ่านเชื้อ GBS ไปยังทารก และให้ IAP แบบมุ่งเป้า (Targeted IAP) แต่ในปัจจุบันนี้ ACOG แนะนำ universal testing และมีการปรับคำแนะนำในการให้ IAP โดยมีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้
- การตรวจคัดกรอง GBS colonization ในหญิงตั้งครรภ์ ในปัจจุบันทาง ACOG4 แนะนำให้มีการตรวจคัดกรอง GBS ในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย โดยตรวจคัดกรองในช่วงอายุครรภ์ระหว่าง 36 สัปดาห์ ถึงอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ 6 วัน หรือตรวจในกลุ่มที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ ด้วยวิธีส่งเพาะเชื้อจากช่องคลอด – ทวารหนัก หรืออาจใช้ nucleic acid amplification test (NAAT) แต่หากหญิงตั้งครรภ์ตรวจพบการติดเชื้อ GBS ในปัสสาวะแล้ว ไม่จำเป็นต้องส่งยืนยันด้วยวิธีเพาะเชื้อจากช่องคลอด – ทวารหนักซ้ำ
- การให้ยาฆ่าเชื้อป้องกันการติดเชื้อ GBS จากมารดาสู่ทารกแรกเกิด แนวทางการปฏิบัติ ACOG ล่าสุด4 แนะนำให้ IAP เพื่อป้องกันการติดเชื้อ GBS จากมารดาสู่ทารกแรกเกิดก่อนคลอด ในกรณีดังต่อไปนี้ 1) หญิงตั้งครรภ์ทุกรายที่ตรวจ พบว่า มี GBS colonization หรือตรวจพบมี GBS ในปัสสาวะ ไม่ว่าจะตรวจพบในช่วงใดของการตั้งครรภ์ 2) มีประวัติการตั้งครรภ์ก่อนหน้าทารกมี GBS disease 3) หญิงตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อน 37 สัปดาห์ และหรือมีภาวะถุงน้ำคร่ำรั่ว (PROM) 4) หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ ≥ 37 สัปดาห์ที่ไม่ทราบสภาวะ GBS colonizations หากมีปัจจัยเสี่ยงต่อ GBS ในช่วงระหว่างการคลอด ได้แก่ ไข้ อุณหภูมิ ≥ 38 องศาเซลเซียสก่อนคลอด หรือมี PROM ≥ 18 ชั่วโมง หรือได้ทำการทดสอบทราบว่ามี GBS colonization จากการตรวจ NAAT ชนิด point-of-care สำหรับยาปฏิชีวนะที่แนะนำให้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ GBS แนะนำให้ยากลุ่ม β-lactam ซึ่งแนะนำให้ penicillin G เป็นยาหลัก เพราะมีความครอบคลุมแคบกว่า ส่วน ampicillin เป็นยาทางเลือกส่วนในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่แพ้ยาในกลุ่ม penicillin ให้พิจารณาว่าบุคคลนั้นอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือความเสี่ยงสูงต่อการแพ้ยาชนิดรุนแรง (anaphylaxis)
- หากมีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิดการแพ้ยาชนิดรุนแรง แนะนำให้ยา cefazolin
- หากมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดการแพ้ยาชนิดรุนแรง แนะนำให้ยา clindamycin (หากผลเพาะเชื้อยืนยันว่าเชื้อ GBS มีความไวต่อ clindamycin ในปัจจุบันพบมีอัตราการดื้อยา clindamycin และ macrolide เพิ่มสูงขึ้น และในปัจจุบัน ไม่แนะนำการใช้ erythromycin สำหรับ IAP แล้ว) หรือพิจารณาให้ vancomycin หากเชื้อดื้อต่อยา clindamycin โดยขนาดยาให้ตามน้ำหนัก (weight-based dosing)
- ปัจจุบันทาง ACOG แนะนำให้ทำการทดสอบการแพ้ยา penicillin ในกรณีที่ประวัติแพ้ยาไม่ชัดเจน
.
- แนวทางการประเมินความเสี่ยงและการปฏิบัติเพื่อป้องกัน Early-onset GBS disease ในทารกแรกเกิดแนวทางของ AAP ในปี ค.ศ. 2019 ได้จัดแบ่งแนวทางการปฏิบัติออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ทารกแรกเกิดที่อายุครรภ์ ≥ 35 สัปดาห์ และทารกแรกเกิดอายุครรภ์ ≤ 34 สัปดาห์
รูปที่ 1 แนวทางการประเมินความเสี่ยงของ early-onset sepsis ทารกแรกเกิดที่อายุครรภ์ > 35 สัปดาห์
a พิจารณาเจาะน้ำไขสันหลังตรวจก่อนให้ยาฆ่าเชื้อในกรณีมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ
b ยาปฏิชีวนะที่ถือว่าเหมาะสมในการป้องกัน GBS ได้แก่ penicillin G, ampicillin หรือ cefazolin ที่ให้ ≥ 4ชั่วโมงก่อนคลอด
.- ทารกแรกเกิดที่อายุครรภ์มากกว่าหรือเท่ากับ 35 สัปดาห์ มี 3 แนวทางในการประเมินความเสี่ยงดังแสดงในรูปที่ 1
- Categorical risk assessment (1A) ใช้ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด GBS EOD ในการประเมินและปฏิบัติ
- หากทารกแรกเกิดมีอาการที่สงสัย หรือเข้าได้กับการติดเชื้อ เช่น สัญญาณชีพผิดปกติ หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว ซึม เป็นต้น หรือกรณีทารกแรกเกิดอาการคงที่ดี แต่มารดามีไข้ระหว่างเจ็บครรภ์คลอด (อุณหภูมิร่างกาย ≥ 38 องศาเซลเซียส) ให้ส่งเลือดเพาะเชื้อ และพิจารณาเจาะน้ำไขสันหลังตรวจเพาะเชื้อด้วย พร้อมทั้งให้ยาปฏิชีวนะในเบื้องต้น
- หากทารกแรกเกิดอาการคงที่ดี และมารดาไม่มีไข้ แต่มารดามีข้อบ่งชี้ที่ต้องได้รับ IAP เพื่อป้องกันการติดเชื้อ GBS ก่อนคลอดนั้น ให้พิจารณาว่ามารดาได้รับ IAP เหมาะสมหรือไม่ หากได้รับยา penicillin G หรือampicillin หรือ cefazolin เป็นเวลา ≥ 4 ชั่วโมงก่อนคลอด ให้ถือว่าเหมาะสม ให้ดูแลทารกแรกเกิดตามปกติ แต่หากได้รับยาฆ่าเชื้อไม่เหมาะสมนั้น ให้เฝ้าสังเกตอาการทารกเป็นเวลา 36 – 48 ชั่วโมงหลังคลอด
- Neonatal Early-Onset Sepsis calculator (1B) ใช้ปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยในการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิด early-onset sepsis รวมถึง GBS EOD ในทารก โดยกรอกข้อมูลต่อไปนี้ ได้แก่ อุบัติการณ์การเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดของทารกแรกเกิด อายุครรภ์ อุณหภูมิร่างกายสูงสุดของมารดาระหว่างการคลอด การมี GBS colonization ของมารดาจำนวนชั่วโมงที่มีการรั่วของถุงน้ำคร่ำชนิด และระยะเวลาที่ให้ยาปฏิชีวนะในมารดาระหว่างการคลอด ซึ่งหลังจากกรอกข้อมูลเรียบร้อย เครื่องมือจะบอกว่าความเสี่ยงต่อ early-onset sepsis เป็นเท่าไหร่ และมีคำแนะนำว่าควรปฏิบัติอย่างไรต่อในทารกแรกเกิดรายนั้น (https://neonatalsepsiscalculator.kaiserpermanente.org) โดยเครื่องมือนี้ใช้ประเมินการติดเชื้อในกระแสเลือดของทารกแรกเกิดจากแบคทีเรียทุกตัว ไม่เฉพาะต่อ GBS เท่านั้น หากใช้ในการประเมินการติดเชื้อ GBS ในหัวข้อที่กรอกข้อมูลเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะจะมีคำว่า GBS specific antibiotics นั้นจะหมายถึง penicillin G หรือ ampicillin หรือ cefazolin
- Enhanced observation (1C) เครื่องมือนี้จะใช้การประเมินจากอาการทางคลินิกเป็นหลัก
หากทารกมีอาการผิดปกติในช่วงแรกเกิดจนถึงภายใน 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ให้ส่งเลือดเพาะเชื้อ และพิจารณาเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อเพาะเชื้อ พร้อมทั้งให้ยาปฏิชีวนะ หากทารกแรกเกิดอาการทางคลินิกคงที่ดีนั้น แม้ทารกคลอดจากมารดาที่มีไข้ หรือได้รับ IAP สำหรับป้อง GBS ไม่เหมาะสมให้ติดตามอาการทางคลินิก ตรวจร่างกายใกล้ชิด 36 – 48 ชั่วโมงหลังคลอด จะพิจารณาส่งเลือดเพาะเชื้อ และพิจารณาเจาะน้ำไขสันหลังพร้อมทั้งให้ยาปฏิชีวนะเฉพาะเมื่อทารกแรกเกิดมีอาการทางคลินิก
- Categorical risk assessment (1A) ใช้ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด GBS EOD ในการประเมินและปฏิบัติ
- ทารกแรกเกิดอายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 34 สัปดาห์ มีแนวทางปฏิบัติ ดังรูปที่ 2
- กรณีที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด early-onset sepsis ได้แก่ การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เพราะภาวะ cervical insufficiency การคลอดก่อนกำหนด PROM มีภาวะที่สงสัย intraamniotic infection และหรือมีภาวะ nonreassuring fetal status ที่ไม่มีคำอธิบายสาเหตุ (เคลื่อนที่น้อยลง หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น) ให้พิจารณาส่งเลือดเพาะเชื้อ พิจารณาส่งน้ำไขสันหลังเพาะเชื้อร่วมด้วย พร้อมกับให้ยาปฏิชีวนะ
- ทารกแรกเกิดก่อนกำหนดที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิด early-onset sepsis ได้แก่ 1) คลอดก่อนกำหนดเนื่องจากมารดามีภาวะให้จำเป็นต้องคลอดโดยที่ไม่เข้ากับการติดเชื้อ เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะรกเสื่อม ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า เป็นต้น 2) คลอดด้วยวิธีการผ่าคลอด ไม่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอด 3) ไม่มีภาวะเจ็บท้องคลอดแต่กระตุ้นคลอด
- ทารกแรกเกิดที่อายุครรภ์มากกว่าหรือเท่ากับ 35 สัปดาห์ มี 3 แนวทางในการประเมินความเสี่ยงดังแสดงในรูปที่ 1
ในกรณีเช่นนี้ หากทารกแรกคลอดอาการคงที่อาจมีการปฏิบัติได้ทั้ง 1) ไม่ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และไม่ให้ยาปฏิชีวนะในเบื้องต้น หรือ 2) อาจพิจารณาส่งเลือดเพาะเชื้อ และเฝ้าระวังติดตามอาการ โดยยังไม่ให้ยาปฏิชีวนะในเบื้องต้น
ในกรณีที่มารดามีข้อบ่งชี้ในการให้ IAP เพื่อป้องกัน GBS EOS และได้รับยาปฏิชีวนะไม่เหมาะสม หรือทารกแรกคลอดอาการผิดปกติที่สงสัยมีการติดเชื้อ ให้พิจารณาส่งเลือดเพาะเชื้อ และพิจารณาส่งน้ำไขสันหลังเพาะเชื้อร่วมด้วย พร้อมกับให้ยาปฏิชีวนะในเบื้องต้น แต่อาจพิจารณาปฏิบัติแนวทางเลือกในกรณีที่ทารกอาการคงที่ดี อาจพิจารณาส่งเลือดเพาะเชื้อ เฝ้าระวังติดตามอาการ และให้ยาปฏิชีวนะเฉพาะเมื่อทารกมีอาการผิดปรกติ
รูปที่ 2 แนวทางการประเมินความเสี่ยงของ early-onset sepsis ทารกแรกเกิดที่อายุครรภ์ < 34 สัปดาห์
a ให้สงสัยการติดเชื้อภายในถุงน้ำคร่ำ เช่น กรณีหญิงตั้งครรภ์ที่ทารกในครรภ์เคลื่อนไหวลดลง พบความผิดปกติของทารก
b พิจารณาเจาะน้ำไขสันหลังตรวจก่อนให้ยาฆ่าเชื้อในกรณีมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ
c ยาปฏิชีวนะที่ถือว่าเหมาะสมในการป้องกัน GBS ได้แก่ penicillin G, ampicillin หรือ cefazolin ที่ให้ > 4ชั่วโมงก่อนคลอด
สรุปแนวทางการคัดกรองและการดูแลหญิงตั้งครรภ์และทารกที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ GBS
อาการแสดงและการรักษาการติดเชื้อ group B Streptococcus
ทารกที่มี GBS EOD อาจมีอาการแสดงได้หลากหลายตั้งแต่ tachycardia, tachypnea ซึม ไปจนถึง severe cardiorespiratory failure, persistent pulmonary hypertension of the newborn และ perinatal encephalopathy ส่วน GBS LOD มักจะมาด้วย bacteremia without a focus หรืออาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบซึ่งอาจมีอาการไม่จำเพาะ ไปจนถึงมีกระหม่อมโป่งและชักได้ สำหรับอาการของการติดเชื้อเฉพาะที่ก็อาจพบได้ เช่น ปอดอักเสบ การติดเชื้อของกระดูกและข้อ เป็นต้น การประเมินทารกที่สงสัยมี GBS disease ก็เหมือนการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดอื่น ได้แก่ ให้การเพาะเชื้อในเลือดและน้ำไขสันหลัง ใน GBS LOD ควรส่งเพาะเชื้อในปัสสาวะด้วย และพิจารณาตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติมหากมีข้อบ่งชี้
ยาปฏิชีวนะสำหรับทารกแรกเกิดที่วินิจฉัยภาวะติดเชื้อ early-onset sepsis
- แนะนำให้ ampicillin ร่วมกับ aminoglycosides เป็นอันดับแรกในกลุ่มที่สงสัย หรือวินิจฉัยการติดเชื้อในกระแสเลือดช่วง 7 วันแรกหลังคลอด อาจพิจารณาให้ยาที่มีฤทธิ์ครอบคลุมกว้างขึ้นหากสงสัยเชื้อดื้อยา หรือทารกมีอาการวิกฤตมาก
- ในกรณีสงสัยการติดเชื้อในกระแสเลือดช่วง 8 – 28 วันหลังคลอด โดยที่ไม่มีภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ AAP 2019 แนะนำให้ ceftazidime ร่วมกับ ampicillin และพิจารณาให้ ceftriaxone หากสงสัยการติดเชื้อในกระแสเลือดในเด็กช่วงอายุ 29 – 90 วัน พิจารณาให้ vancomycin ร่วมด้วยในเบื้องต้นหากสงสัยการติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง หรือมีอาการแสดงที่อาจเกิดจากการติดเชื้อ S. pneumoniae ส่วนยาปฏิชีวนะสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนดที่รับการรักษาในโรงพยาบาลนานกว่า 72 ชั่วโมงนั้น ต้องพิจารณาหลายปัจจัย เช่น การมีสายสวนหลอดเลือดดำ การดื้อยาในสถานพยาบาลนั้น ๆ และการให้ยาปฏิชีวนะในเบื้องต้นควรมีความครอบคลุมเชื้อ GBS ด้วย เช่น cephalosporin หรือ vancomycin
- หากผลเพาะเชื้อ ยืนยันเป็น GBS สามารถให้ penicillin G หรือ ampicillin หากเชื้อนั้นมีความไวต่อยา
- หากผลเพาะเชื้อ ยืนยันเป็น GBS สามารถให้ penicillin G หรือ ampicillin หากเชื้อนั้นมีความไวต่อยา โดยแนะนำให้รักษานาน 10 วัน สำหรับการติดเชื้อ GBS ในกระแสเลือด โดยไม่มีการติดเชื้อเฉพาะที่ในตำแหน่งอื่น 14 วัน สำหรับการติดเชื้อ uncomplicated GBS meningitis ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านแนะนำให้เจาะน้ำไขสันหลังซ้ำ 24 – 48 ชั่วโมงหลังการรักษา ส่วนการจะเจาะน้ำไขสันหลังเพิ่มเติมอีก หรือการตรวจทางรังสีให้ขึ้นกับอาการทางคลินิก ให้ยาปฏิชีวนะรักษานาน 4 สัปดาห์ หากมี ventriculitis ร่วมด้วย และประเมินการได้ยินก่อนกลับบ้าน หากมีการติดเชื้อของกระดูกและข้อให้การรักษานาน 3 – 4 สัปดาห์
ในกรณีของทารกครรภ์แฝด หากมีทารก 1 รายเกิด GBS disease ให้สังเกตอาการทารกคนอื่นใกล้ชิดโดยไม่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ แต่จะให้การรักษาหากสงสัยมีการติดเชื้อ
เอกสารอ้างอิง
- American Academy of Pediatrics. Group b Streptococcal infections. In: Kimberlin DW, Brady MT, Jackson MA, Long SS,eds. Red Book: 2018 Report of the Committee on Infectious Diseases. 31st ed. Itasca, IL: American Academy of Pediatrics; 2018: 762 – 68.
- Nanduri SA, Petit S, Smelser C, et al. Epidemiology of invasive early-onset and late-onset group B streptococcal disease in the United States, 2006 to 2015: multistate laboratory and population-based surveillance. JAMA Pediatr. 2019; 173(3): 224 – 33.
- Thatrimontrichai A, Khunnarakpong N, Tantichanthakarun P,et al. Neonatal Group B Streptococcus sepsis: A Multicenter study in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2017; 48(5): 1063 – 71.
- The American College of Obstetricians and Gynecologists,et al. Prevention of Group B Streptococcal Early-Onset Disease in Newborns. Obstetrics & Gynecology 2019; 134(1):19 – 34.
- Puopolo KM, Lynfield R, Cummings JJ, et al. Management of Infants at Risk for Group B Streptococcal Disease. PEDIATRICS 2019; 144(2): 1 – 17.
- Committee on infectious diseases and committee on fetus and newborn. Recommendations for the Prevention of Perinatal Group B Streptococcal (GBS) Disease. PEDIATRICS 2011; 128(3): 611 – 16.