นักวิจัยได้พัฒนาระบบ Artificial intelligence (AI) ที่การสแกนตา สามารถวิเคราะห์และระบุผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหัวใจ โดยยึดหลักการที่ว่าการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดขนาดเล็กใน retina เป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้การเป็นโรคหลอดเลือด (Vascular diseases) รวมถึงโรคหัวใจ (Heart diseases)
โรคหัวใจ (Heart Diseases) หมายถึง โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้นในแต่ละส่วนของหัวใจ ทำให้โรคหัวใจแต่ละชนิดจะมีอาการต่างกันไป บางชนิดเกี่ยวข้องกับหลอดเลือด (Vascular diseases) ที่พบได้บ่อย เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจ โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ ทั้งนี้โรคหัวใจหลาย ๆ โรค ความผิดปกติในช่วงแรก ๆ อาจไม่มีอาการแสดง ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัว จนอาจทำให้เสียชีวิตเมื่อโรครุนแรงขึ้น การตรวจวินิจฉัยรวดเร็วจึงเป็นสิ่งจำเป็น
Andres Diaz-Pinto จาก University of Leeds และทีมงานได้มีศึกษาโดยใช้ deep learning techniques ในการฝึกฝนระบบ AI ให้สามารถอ่านผลการสแกนตาและระบุผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายในปีต่อไปโดยอัตโนมัติ โดยได้ทำการวิเคราะห์ผลสแกนตาและหัวใจจากคนมากกว่า 5,000 คน ซึ่งระบบ AI นั้นได้ระบุความสัมพันธุ์ของพยาธิสภาพระหว่าง retina และการเปลี่ยนแปลงของหัวใจของผู้ป่วย โดยหลังการเรียนรู้รูปแบบของภาพ ระบบ AI จะสามารถคาดเดาขนาดและประสิทธิภาพการทำงานของ left ventricle ของหัวใจได้ ซึ่งขนาดของ ventricle ที่มากขึ้นนั้นสื่อถึงความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจที่สูงขึ้นได้ จากข้อมูลนี้ร่วมกับข้อมูลเบื้องต้น อายุ และเพศของผู้ป่วย ระบบ AI จะสามารถคาดการณ์ความเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวายในช่วง 12 เดือนข้างหน้าได้ นักวิจัยรายงานว่าระบบ AI มีความแม่นยำอยู่ที่ 70 – 80% และสามารถนำมาใช้เป็นตัวช่วยเสริมในการตรวจหัวใจและหลอดเลือดในเชิงลึกอีกด้วย
การสแกน retina นั้นมีราคาไม่สูง และเกือบทุกคนคุ้นชินอยู่แล้วจากการตัดประกอบแว่นในแต่ละปี ทำให้เทคนิคนี้ ถือเป็นการปฏิวัติการตรวจคัดกรองโรคหัวใจได้ในอนาคต ทำให้ผู้มีความเสี่ยงสูงได้รับการแนะนำให้พบผู้เชี่ยวชาญเผื่อรับการรักษาเชิงป้องกัน (Preventative treatment) ได้เร็วขึ้น
ข้อมูลจาก
- www.sciencedaily.com
- www.nature.com/articles/s42256-021-00427-7