CIMjournal
banner ตับอ่อน 1

“ตับอ่อนประดิษฐ์” ในการรักษาผู้ป่วยเบาหวาน


คำแนะนำสำหรับการใช้ระบบส่งอินซูลินเข้าสู่ผู้ป่วยอัตโนมัติ (Automated insulin delivery; AID) จากสมาพันธ์เบาหวานแห่งยุโรปและสหรัฐอเมริกา (The European Association for the Study of Diabetes; EASD และ American Diabetes Association; ADA) กล่าวถึงประโยชน์ ข้อจำกัด และความท้าทายในการใช้ AID ในการรักษาผู้ป่วยเบาหวาน

ระบบส่งอินซูลินเข้าสู่ผู้ป่วยเบาหวานอัตโนมัติกำลังมาทดแทนการฉีดอินซูลิน และการเจาะน้ำตาลปลายนิ้วในรูปแบบเดิม ๆ โดยระบบดังกล่าวประกอบไปด้วย เครื่องมือที่วัดน้ำตาลใต้ผิวหนังอย่างต่อเนื่อง (continuous glucose monitoring; CGM) ซึ่งจะสามารถส่งต่อข้อมูลระดับน้ำตาลของผู้ป่วย ให้เครื่องจ่ายอินซูลิน (continuous subcutaneous insulin infusion; CSII หรือ insulin pump) คำนวณและจ่ายอินซูลินมาตอบสนองต่อระกับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยต่อไป

ระบบ AID มี 7 ระบบหลัก ดังนี้
  1. Sensor-augmented pump; SAP โดยเครื่องมือนี้มีทั้งแบบที่เป็น insulin pump ที่ทำงานร่วมกับ CGM หรือแบบที่อยู่คนละเครื่องกัน ยังต้องอาศัยผู้ป่วยในการป้อนข้อมูลให้ pump คำนวณว่าจะฉีดอินซูลินเท่าไร
  2. Low glucose suspend (LGS) หรือ predictive low glucose suspend (PLGS) อันนี้เครื่อง insulin pump สามารถหยุดจ่ายอินซูลินเองเมื่อพบสัญญาณว่าน้ำตาลต่ำจาก sensor วัดระดับน้ำตาล
  3. Hybrid AID เป็นเครื่องที่สามารถเพิ่มหรือลดอัตราการจ่ายอินซูลินเฉพาะ basal เพื่อตอบสนองกับน้ำตาลที่ได้รับจาก sensor วัดระดับน้ำตาลอย่างอัตโนมัติ แต่ผู้ป่วยยังต้องกดสั่งเครื่องให้จ่ายอินซูลินที่เมื่อรับประทานอาหารเองอยู่
  4. Full AID เป็นเครื่องที่ครบวงจรสามารถจ่ายอินซูลินตอบสนองต่อระดับน้ำตาลจาก sensor โดยไม่ต้องกดสั่ง
  5. DIY หรือ Do-it-yourself AID ระบบนี้มีทั้งเครื่อง CGM และ insulin pump ร่วมกับระบบเปิดที่สามารถให้ผู้ป่วยสร้าง algorithm ของตัวเองได้ด้วย
  6. Artificial pancreas เป็นชื่อเดิมของระบบ AID ที่เปลี่ยนมาเพราะป้องกันการเข้าใจผิด เนื่องจากระบบดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวข้องกับสารคัดหลั่งอื่น ๆ จากตับอ่อนนอกจากอินซูลิน
  7. Bihormonal หรือ bionic pancreas อันนี้ถือว่าทันสมัยที่สุด เพราะมีฮอร์โมน 2 ชนิดร่วมกัน คือทั้งอินซูลินที่ลดระดับน้ำตาล และกลูคากอนที่เพิ่มระดับน้ำตาล ก็จะเลียนแบบธรรมชาติได้ใกล้เคียงมากขึ้นไปอีก

ถึงแม้ในปัจจุบันเครื่องมือเหล่านี้ยังไม่ครบวงจรซะทีเดียว และยังมีข้อจำกัดอยู่มาก รวมถึงการเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้ยังจำกัดในผู้ป่วยส่วนใหญ่ ทั้ง EASD และ ADA ยังแนะนำให้แพทย์เรียนรู้ถึงหลักการของเครื่อง ประโยชน์และข้อจำกัด รวมถึงให้ความรู้ผู้ป่วย ให้ความคาดหวังอยู่ในบริบทของความจริง และแม้เครื่องมือเหล่านี้ไม่ได้ทำให้เบาหวานหายขาด แต่ก็เป็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่สามารถส่งอินซูลินให้สอดคล้องกับน้ำตาล ทดแทนตับอ่อนของผู้ป่วยเบาหวานได้สะดวกยิ่งขึ้น  

 

เรียบเรียงโดย พญ. นิษฐา ปรุงวิทยา
ข้อมูลจาก
  1. https://www.medscape.com/viewarticle/981978?src=#vp_1
  2. https://diabetesjournals.org/care/article/doi/10.2337/dci22-0018/147674

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก