การเปรียบเทียบการรักษาภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการใช้ Hyperbaric oxygen กับการรักษาทั่วไป พบว่าการรักษาโดยใช้ hyperbaric oxygen มีความแตกต่างของระดับน้ำตาล ระดับไขมันอย่างมีนัยสำคัญ โดยระดับสารอักเสบในร่างกาย เช่น interleukin 1B, interleukin-17, intercellular adhesion molecule 1 และ interleukin-2 ดีขึ้น การนำกระแสไฟฟ้าของประสาทของ ระบบ motor และ ระบบ sensory ดีขึ้น การรักษาเสริมโดยใช้ hyperbaric oxygen therapy จึงน่าจะมีประโยชน์ในการรักษาภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
Hyperbaric oxygen therapy (HBOT) มีบทบาทในการรักษาภาวะหลายอย่าง ได้แก่ พิษจากก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ การซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บจากการเผาไหม้ ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ มีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า HBOT มีประโยชน์ สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังทางไตในผู้ป่วยเบาหวาน (Diabetes nephropathy) สามารถป้องกันการบาดเจ็บของผิวหนังจากรังสียูวี แต่การศึกษาในมนุษย์ยังมีค่อนข้างจำกัด
Hua-Qin Chen จาก The First People’s Hospital of LanZhou City และทีมงาน ได้ทำการศึกษา โดยนำผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความดันโลหิตสูง โรคไต หรือมีระบบประสาทส่วนปลายอักเสบจำนวน 203 คน แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก จำนวน 94 รายได้รับการรักษาด้วยการรักษามาตรฐาน อีกกลุ่มหนึ่งจำนวน 109 ราย ได้รับการรักษาด้วย HBOT พบว่า กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วย HBOT มีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร ระดับน้ำตาล 2 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร ระดับไขมัน ระดับไตรกลีเซอไรด์ และระดับโปรตีน microalbumin ในปัสสาวะเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย HBOT มีระดับสารอักเสบ ได้แก่ interleukin 1B, interleukin-17, intercellular adhesion molecule 1 ลดลง และ interleukin-2 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การวัดการนำกระแสไฟฟ้าของประสาทของ ระบบ motor และ ระบบ sensory ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ข้อมูลจากการศึกษา การใช้ HBOT อาจจะเป็นอีกความหวังที่สามารถพัฒนาเป็นทางเลือกที่ใช้ในการดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน อย่างไรก็ตามเนื่องจากการศึกษานี้ยังมีขนาดเล็ก และผู้วิจัยไม่ได้แจกแจงรายละเอียดของการทำวิจัย จึงมีความจำเป็นต้องรอผลการศึกษาประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของการรักษาโดยใช้ HBOT ต่อไป
ข้อมูลจาก https://www.sciencedirect.com/science/article