CIMjournal
ความดันเลือดกับความพิการ

ความแปรปรวนของความดัน SBP กับความพิการหลังภาวะเลือดออกในสมอง


การศึกษาที่นำเสนอในงาน
ESOC 2021 พบว่า ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตซิสโตลิค (Systolic blood pressure, SBP) แปรปรวนในระยะเวลาสั้น (Short-term variability) หลังเกิดภาวะเลือดออกในสมอง (Intracerebral hemorrhage) จะสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่จะเกิดความบกพร่องของร่างกายในระยะยาว (Long-term disability) โดยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความดัน SBP ที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 10 mmHg จะเพิ่มความความเสี่ยงที่จะเกิดความบกพร่องของร่างกายในระยะยาว 18% ที่ 90 วัน

ภาวะเลือดออกในสมอง เป็นภาวะที่มีความเสี่ยงในการเสียชีวิตสูง โดยผู้ป่วยที่รอดชีวิตส่วนใหญ่จะมีความพิการตามมา ในการศึกษาแบบ Meta-analysis ที่จัดทำก่อนหน้า พบว่า ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความดัน SBP ที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 10 mmHg จะเพิ่มความความเสี่ยงที่จะเกิดความบกพร่องของร่างกายในระยะยาว 40% ที่ 90 วัน อย่างไรก็ตาม การศึกษาดังกล่าวยังมีข้อจำกัด เนื่องจากบางการศึกษายังไม่ได้มีการปรับตัวแปรจากการที่ผู้ป่วยใช้ยาลดความดันโลหิต จึงมีการศึกษาอีกครั้งโดยเป็นการศึกษาแบบ Randomized controlled trials ที่มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 6,221 คน วัดความแปรปรวนของความดัน SBP ในระยะสั้น หาค่า SD ตั้งแต่ 1 – 24 ชั่วโมง แล้วดูผลลัพธ์เป็นค่า modified Rankin Scale (mRS) ที่ 90 – 180 วัน

ผลที่ได้ พบว่า ความแปรปรวนของความดัน SBP ในช่วง 1 – 24 ชั่วโมง สัมพันธ์กันเป็นเส้นตรงกับความบกพร่องของร่างกาย โดยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความดัน SBP ที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 10 mmHg จะทำให้ค่า Odds ratio (OR) ของ unfavorable shift ของค่า mRS เท่ากับ 1.18 (P < 0.001) นอกจากนี้ ยังพบว่า การใช้ยาลดความดันโลหิตกลุ่มต่าง ๆ เช่น Alpha/Beta- blockers, CCBs, Magnesium sulfate และ Nitrate ก็ส่งผลต่อความบกพร่องของร่างกายในระยะยาว อย่างมีนัยสำคัญด้วยเช่นกัน  

ข้อมูลที่ได้จากการศึกษา พบว่า ความดันโลหิตช่วง 1 – 24 ชั่วโมง หลังเกิดภาวะเลือดออกในสมองเป็นสิ่งสำคัญ โดยในผู้ป่วย Acute ICH และผู้ป่วยที่รักษา intensive blood pressure lowering ควรลดความดันโลหิตลงอย่างระมัดระวังตั้งแต่ต้น และในการบริหารยาควรเป็นแบบหยดยาต่อเนื่อง (Continuous infusion) เพื่อลดความแปรปรวนของความดัน SBP และควรศึกษาประเภทของยาที่เหมาะสม เพื่อลดความบกพร่องของร่างกายในระยะยาว

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.medscape.com
ภาพประกอบ www.freepik.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก