มีงานวิจัย พบว่า หลาย ๆ สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ มีผลกับโรคทางสมองด้วย โดยเฉพาะ สโตรค อัลไซเมอร์ และสมองเสื่อม ดังนั้น การดูแลสุขภาพ การมีพฤติกรรมในการใช้ชีวิตที่ส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจ สามารถช่วยให้มีสุขภาพสมองที่ดีด้วย
การศึกษาแบบ meta-analysis หลาย ๆการศึกษา พบความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดกับโรคทางสมอง ตัวอย่างเช่น การศึกษาที่พบว่า คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงตั้งแต่วัยกลางคน มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นสองเท่า หรือการศึกษาระยะยาวที่มีการติดตามผลนานถึง 42 ปี พบผู้ที่เป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นถึงสามเท่า หรือการศึกษาที่พบว่า การสูบบุหรี่ในปัจจุบันมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นราว ๆ 30 – 40% ในการเกิดภาวะสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ และมีการศึกษาที่พบว่า ความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมที่เกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจล้มเหลวเกือบสองเท่า หรือการศึกษาที่พบว่า โรคหลอดเลือดหัวใจมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น 40% ของภาวะสมองเสื่อม และความบกพร่องทางสติปัญญา หรือการลดลงของความรู้ความเข้าใจ นอกจากความสัมพันธ์ดังกล่าวแล้ว ยังพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในเพศ เชื้อชาติ สถานะทางเศรษฐกิจ และสังคมของผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคทางสมองด้วย
จากข้อมูลที่ได้รวบรวมมา ทำให้เห็นว่าสุขภาพของหัวใจและสุขภาพของสมอง มีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน ดังนั้น การดูแลสุขภาพหัวใจให้ดี สามารถส่งผลให้สุขภาพสมองดีขึ้นด้วย จึงควรให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผลในเชิงบวกต่อสุขภาพหัวใจและสุขภาพสมองด้วย เช่น การควบคุมนํ้าหนักและความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม การควบคุมน้ำตาล ลดเลิกบุหรี่ เป็นต้น
ข้อมูลจาก