CIMjournal
banner เส้นเลือดสมอง 1

โรคหลอดเลือดสมองในผู้บริจาคอวัยวะอายุน้อย ส่งผลต่ออัตราความสำเร็จของการปลูกถ่ายอวัยวะ


โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุของภาวะสมองตายที่พบได้บ่อยที่ในผู้บริจาคอวัยวะ และมีผลอย่างมากต่ออัตราเสียชีวิตของผู้รับอวัยวะและความสำเร็จของการปลูกถ่ายอวัยวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้บริจาคที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี

การปลูกถ่ายหัวใจในสหรัฐอเมริกา มักจะทำหลังจากที่มีผู้ป่วยที่มีภาวะสมองตายและบริจาคอวัยวะ แม้ว่าอัตราการเสียชีวิตและอัตราความสำเร็จของการปลูกถ่ายอวัยวะจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่มีการศึกษาพบว่าหากได้รับอวัยวะจากผู้บริจาคที่มีภาวะสมองตายเนื่องจากโรคหลอดเลือดสมอง มักมีอัตราการเสียชีวิตและอัตราความล้มเหลวของการปลูกถ่ายที่สูงขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและการไหลเวียนโลหิต หลังโรคหลอดเลือดสมอง มักส่งผลให้เกิดความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจของผู้บริจาคได้

นักวิจัยได้ทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผลกระทบของสาเหตุของภาวะสมองตายของผู้บริจาคต่ออัตราการเสียชีวิตของผู้รับอวัยวะและความสำเร็จของการปลูกถ่ายอวัยวะ โดยทำการศึกษาในผู้ที่รับการปลูกถ่ายหัวใจในสหรัฐอเมริการะหว่างปี 2548 ถึง 2561 โดยเปรียบเทียบระหว่างผู้รับอวัยวะจากผู้บริจาคที่มีโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุของภาวะสมองตาย จำนวน 3,761 และจากสาเหตุอื่น ๆ (เช่น การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ เนื้องอกในสมอง) จำนวน 14,677 ผลการศึกษาพบว่า อายุของผู้บริจาคมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับสาเหตุของภาวะสมองตายของผู้บริจาค  เมื่อได้รับอวัยวะจากผู้บริจาคที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี และมีโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุของภาวะสมองตาย จะส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้รับอวัยวะที่ 5 ปีสูงขึ้น 1.17 เท่า และอัตราความล้มเหลวของการปลูกถ่ายอวัยวะสูงขึ้น 1.3 เท่า ในทางตรงกันข้ามเมื่อรับอวัยวะจากผู้บริจาคมีอายุมากกว่า 40 ปี สาเหตุของภาวะสมองตายไม่มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตของผู้รับอวัยวะและอัตราความล้มเหลวของการปลูกถ่ายอวัยวะ

งานวิจัยนี้ ไม่ได้จำกัดไม่ให้รับอวัยวะจากผู้บริจาคที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี และมีภาวะสมองตายจากโรคหลอดเลืดสมอง แต่มุ่งเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการประเมินและศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลไกที่สนับสนุนความแตกต่างในผลลัพธ์ทางคลินิก และนำไปสู่การพัฒนาวิธีการหรือกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อที่จะลดผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ของการรับอวัยวะจากผู้บริจาคที่อายุน้อยและมีโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุของภาวะสมองตาย

 

เรียบเรียงโดย พญ. สุพพตา เมธารักษ์ชีพ
ข้อมูลจาก
  1. J Am Coll Cardiol 2022;79:1063-1072
  2. https://www.jacc.org/doi/epdf/10.1016/j.jacc.2022.01.013

 

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก