ผลการศึกษาจาก University of North Carolina เรื่องประสิทธิภาพของวัคซีน mRNA ในผู้ป่วยกลุ่มโรค Inflammatory Bowel Disease, IBD นั้น สามารถสร้างภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีนโควิด หากแต่ผู้ป่วยที่มีอายุสูงขึ้น และผู้ป่วยกลุ่มที่ต้องได้รับยา กลุ่ม anti-TNF และยากดภูมิคุ้มกันกลุ่มอื่น ๆ รวมไปถึงสเตียรอยด์ อาจต้องได้วัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้เพียงพอต่อการป้องกันการติดเชื้อ และป้องกันความรุนแรงของโรค
วัคซีน mRNA ทั้งสองชนิด mRNA-1273 และ BNT162b2 ถูกพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อโควิด หากแต่ว่าประเด็นสำคัญที่ต้องแนะนำผู้ป่วยคือ ผู้ป่วยบางกลุ่มนั้นอาจต้องได้รับเข็มกระตุ้นซึ่งเชื้อว่าสามารถลดความรุนแรงของตัวโรคได้
Michael D. Kappelman จาก University of North Carolina at Chapel Hill และทีมงาน ได้ทำการศึกษากลุ่มผู้ป่วยโรค Inflammatory Bowel Disease จำนวน 1909 คนที่ได้รับวัคซีนโควิด โดยศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีนกับปัจจัยต่าง ๆ ผลปรากฏว่า ร้อยละ 96 ของผู้ป่วยมีระดับภูมิคุ้มกันที่เพิ่มขึ้นตอบสนองดีต่อการฉีดวัคซีน อีกทั้งได้พบอีกว่า มีหลาย ๆ ปัจจัยที่ทำให้เกิดการกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ลดลงได้แก่ อายุที่สูงขึ้น และการใช้ยาลุ่ม anti-TNF และ 6MP, Azathioprine หรือ Methotrexate ร่วมกันหากแต่ทว่าการศึกษาได้รายงานถึงผลของการใช้ยากลุ่ม Sulfasalazine และ Ustekinumab นั้น ลดโอกาสเกิดของการที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อ วัคซีน ลง 0.3 และ 0.2 เท่าตามลำดับ
โดยสรุปแล้ว การที่ผู้ป่วยตอบสนองต่อวัคซีนน้อยลงเนื่องจากการใช้ยากดภูมิคุ้มกันดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นเหตุให้มีคำแนะนำออกมาว่า ผู้ป่วยกลุ่มนี้ ที่ได้รับยาสเตียรอยด์และ ยากดภูมิคุ้มกัน บางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่ม anti-TNF ควรได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อเพิ่มระดับภูมิคุ้มกัน ประสิทธิภาพในการป้องกันและลดความรุนแรงของการติดเชื้อโควิด 19 ทั้งนี้ ในการศึกษาระดับโลกหลาย ๆ การศึกษา ได้แสดงให้เห็นว่า ประสิทธิภาพของวัคซีน mRNA ทั้งสองชนิดมีประสิทธิภาพที่ดีไม่ต่างกัน
ผู้เรียบเรียง นพ. วิชล ลิ้มพัฒนาชาติ
ข้อมูลจาก https://specialty.mims.com/topic/age-med-affect-patients