จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ พบว่ายาเม็ดสำหรับการรักษา COVID-19 ที่กำลังถูกพัฒนาออกมาใหม่นั้น ยังคงมีประสิทธิภาพสูงในการต้านเชื้อ Omicron แต่สำหรับการบำบัดด้วย antibody ที่มีการใช้ในโรงพยาบาลในรูปแบบ intravenous อยู่ในขณะนี้ มีประสิทธิภาพในการต่อต้าน Omicron ได้น้อยกว่า เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ก่อนหน้า
ยาและ antibodies ที่มีการใช้ในทางคลินิกในตอนนี้ ได้ถูกออกแบบและทดสอบก่อนการค้นพบสายพันธุ์ Omicron ซึ่งเป็นสายพันธ์ที่มีความแตกต่างจากสายพันธุ์ก่อน ๆ ค่อนข้างมาก นักวิจัยจึงเกรงว่า การเปลี่ยนแปลงทางด้าน genome นี้อาจทำให้ยาที่ถูกออกแบบเพื่อการรักษาสายพันธุ์ก่อน ๆ มีประสิทธิภาพลดลง Emi Takashita และทีมงานได้ทำการศึกษาโดยทดสอบ antibody และ antiviral therapies ต่าง ๆ กับ สายพันธุ์ดั้งเดิมของไวรัส COVID-19 และสายพันธุ์ที่มีความโดดเด่น (Alpha, Delta และ Omicron) การทดลองนี้เป็นการทดลองในห้องแลป โดยใช้ non-human primate cells ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ยาเม็ด Molnupiravir ของ Merck และ Remdesivir (ยา intravenous) นั้นมีผลต่อ Omicron พอๆกับสายพันธุ์ก่อนๆ ยา intravenous ของ Pfizer ก็เช่นกัน นักวิจัยพบว่า ยาในรูปแบบของ intravenous นั้นจะยังคงประสิทธิภาพต่อ Omicron อยู่ แต่เมื่อทำการทดสอบ การรักษาด้วย antibody ถึง 4 แบบ พบว่าประสิทธิภาพในการต่อต้าน Omicron นั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัด การค้นพบนี้ไม่ได้เป็นที่แปลกใจนัก เนื่องจากสายพันธุ์ Omicron มีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งในส่วนของ spike protein ที่ใช้ในการเข้าสู่ cells ซึ่ง antibody ส่วนใหญ่นั้นถูกออกแบบให้ไปจับกับ spike protein เหล่านี้ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของ protein อาจทำให้ antibody ไม่สามารถยึดกับมันได้ ในทางกลับกันเป้าหมายของยาเม็ด antiviral คือ กลไกในระดับ molecule ที่ตัวไวรัสใช้ในการแบ่งตัวภายใน cell ซึ่ง Omicron นั้นไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในกลไกตัวนี้มากนัก จึงเป็นเหตุที่ทำให้ยาเหล่านี้ยังคงประสิทธิภาพอยู่
ทีมนักวิจัยยังคงทำการศึกษา antibody ตัวใหม่ เพื่อหาตัวที่จะสามารถต่อต้านกับสายพันธุ์ Omicron ได้ แต่หากสามารถยืนยันความสามารถของยาเม็ด antiviral ในการต่อต้าน Omicron ในมนุษย์ได้ จะเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่ง สาธารณสุขมีความคาดหวังว่า ยาเม็ดนี้จะกลายเป็นวิธีการรักษาทั่วไปมากขึ้นสำหรับ COVID-19 ซึ่งจะสามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคได้
ผู้เรียบเรียง กองบรรณาธิการ
ข้อมูลจาก https://www.sciencedaily.com/releases/2022/01/220126170607.htm