ยาต้านอาการชักที่ใช้กันทั่วไป เช่น lamotrigine และ levetiracetam โดยทั่วไปถือว่ามีประสิทธิภาพและปลอดภัย เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาโรคลมชักในยุคแรก ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างมากต่อทารกในครรภ์ แต่ในขณะที่การเป็นโรคลมชักก็ไม่ควรเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเริ่มต้นสร้างครอบครัวได้ ทั้งนี้ ยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอที่จะอธิบายได้ว่ายาต้านอาการชักที่มารดารับประทานส่งผลอย่างไรต่อทารกในครรภ์เมื่อคลอดออกมาแล้ว
การศึกษาใหม่นี้เป็นข้อมูลสำหรับการให้คำแนะนำที่เพิ่มความมั่นใจให้แก่แพทย์ระบบประสาทวิทยา ที่ต้องเผชิญกับความท้าทายของรักษาความสมดุลที่ระหว่างปริมาณยาที่สั่งจ่าย เพื่อระงับอาการชักของมารดาแต่ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทสำหรับทารกในครรภ์
โรคลมชักเป็นโรคทางระบบประสาทที่เกิดจากกิจกรรมทางไฟฟ้าที่ผิดปกติในสมองที่ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงอเมริกันวัยเจริญพันธุ์กว่าหนึ่งล้านคน ด้วยอาการชักอย่างกะทันหันและทำให้ร่างกายทรุดโทรมและยาที่ใช้มีจำนวนจำกัด โดยเวลาส่วนใหญ่ของศตวรรษที่ 20 มีข้อมูลว่าการใช้ยากันชักก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างมากต่อทารกในครรภ์ทำให้ผู้หญิงเหล่านี้ไม่เหมาะที่จะตั้งครรภ์ แต่ในปัจจุบันภูมิทัศน์เหล่านี้จะค่อย ๆ เปลี่ยนไป ผลลัพธ์ของมารดาและผลพัฒนาการทางระบบประสาทของ จากการศึกษาเรื่องผลของยากันชักที่มีต่อมารดาและการพัฒนาการของระบบประสาทของทารก (The Maternal Outcomes and Neurodevelopmental Effects of Antiepileptic Drugs, MONEAD) เผยแพร่เมื่อสองทศวรรษที่ผ่านมา
โดยมีเป้าหมายในการส่งข้อมูลคุณภาพสูงว่ายากันชักส่งผลต่อทั้งแม่และเด็กอย่างไร การศึกษานี้เป็นการศึกษา prospective observational study โดยคัดเลือกสตรีที่รับการรักษาโรคลมชัก ที่ศูนย์การแพทย์ 20 แห่งทั่วสหรัฐ ติดตามพวกเขาและลูก ๆ ของพวกเขาตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์และต่อเนื่องหลายปีหลังคลอด งานวิจัยที่ออกมาก่อนหน้านี้เน้นถึงความจำเป็นที่ต้องตรวจสอบและปรับขนาดยากันชักอย่างระมัดระวัง เพื่อให้สามารถควบคุมอาการชักได้อย่างเพียงพอโดยไม่กระทบต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ การศึกษาใหม่มุ่งเน้นไปที่การพิจารณาว่าการสัมผัสกับยาเหล่านี้ ทำให้เกิดผลระยะยาวหรือไม่ ผลกระทบต่อพัฒนาการทางระบบประสาทที่ส่งผลเสียต่อเด็ก การประเมินผลของการได้รับยาของทารกในครรภ์ ทดสอบเด็กที่อายุสามขวบด้วยคำศัพท์ และทักษะการพูด เพื่อความเข้าใจตลอดจนความสามารถในการอธิบายรูปภาพง่าย ๆ โดยบุตรของเด็กผู้หญิงที่เป็นโรคลมชักสามารถทำได้ดีพอ ๆ กับบุตรของผู้หญิงที่ไม่เป็นลมบ้าหมูทั่วไป รวมทั้งการอธิบายวัตถุและรูปภาพอย่างง่ายด้วยวาจา และความสามารถในการเข้าใจภาษาของพวกเขามีความใกล้เคียงกันทั้งสองกลุ่ม ทั้งนี้ พบว่า ผู้หญิงที่ได้รับยา lamotrigine และ levetiracetam มีความเสี่ยงต่ำที่จะส่งผลเสียต่อเชาว์ปัญญาของลูก แต่ในการวิเคราะห์ทุติยภูมิ นักวิจัยพบว่า ปริมาณยา levetiracetam ที่สูงที่ผู้ป่วยได้รับในไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ มีความสัมพันธ์กับผลเสียต่อพัฒนาการทางระบบประสาทของทารก และแนะนำให้ตรวบระดับยาในเลือดอย่างระมัดระวัง รวมถึงพิจารณาการใช้ยาอย่างรอบคอบ นักวิจัยชี้ว่า อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบว่าเกิดผลเช่นเดียวกับยากันชักตัวอื่น ๆ หรือไม่ นอกจากนี้ การคัดกรองโรคทางอารมณ์และความวิตกกังวลเป็นอีกสิ่งที่สำคัญ จากการศึกษานักวิจัยสังเกตว่าความวิตกกังวลของมารดาที่เพิ่มขึ้น และภาวะซึมเศร้ามีผลเสียต่อทารกได้เช่นกัน
หัวหน้าทีวิจัยกล่าวว่า การค้นพบนี้ให้ข้อมูลที่มีค่าสำหรับผู้หญิงที่เป็นโรคลมชัก แต่ยังมีอีกมากที่ต้องทำ เพราะเราไม่รู้ถึงความเสี่ยงสำหรับยาต้านอาการชักส่วนใหญ่ และเป็นเวลาหลายปีที่ผู้สั่งจ่ายยาไม่มีข้อมูลที่ดีเกี่ยวกับผลลัพธ์ทางเชาว์ปัญญาของเด็กที่สัมผัสยากันชักยาที่ได้รับอนุมัติเมื่อไม่นานมานี้ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์
- https://www.sciencedaily.com/releases/2023/07/230719221531.htm
- The Lancet Neurology, 2023; 22 (8): 712 DOI: 10.1016/S1474-4422(23)00199-0