ทุกวันนี้ ในแต่ละปี มีการรายงานการเกิดหอบหืดใหม่ในเด็กจำนวนเกือบสองล้านคน โดยคาดว่าสาเหตุมาจากปัญหาเรื่องมลภาวะเป็นพิษ การจราจรในเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก ในการศึกษานี้ มีการเก็บข้อมูลเด็กที่เป็นหอบหืดจาก 13,000 เมือง ที่มีปัญหามลภาวะ
มลพิษทางอากาศเป็นอันตรายคุกคามสุขภาพของมนุษย์ทุกเพศทุกวัย WHO ประมาณการว่า มีประชากรที่ต้อง “ตายก่อนเวลาอันควร” เนื่องจากมลพิษในอากาศทั่วโลกมากกว่า 6 ล้านคนในแต่ละปี และในจำนวนนี้เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ร้อยละ 10 คือประมาณ 600,000 คน มีงานวิจัยที่แสดงด้วยว่า เมื่อคุณภาพอากาศเลวลง อัตราการไปห้องฉุกเฉินและการเข้าอยู่โรงพยาบาลจะสูงขึ้น เพราะมลพิษทำให้ปัญหาสุขภาพที่มีอยู่กำเริบขึ้น และเป็นเหตุให้หัวใจวาย หลอดเลือดในสมองตีบ หอบหืดกำเริบ และอื่นๆ อีกมากมาย
สำหรับการศึกษานี้ ผู้ศึกษาให้ข้อมูลว่า ปริมาณแก็สไนโตรเจนออกไซด์ที่เด็กได้รับ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหอบหืด และกลายเป็นปัญหาหลักที่พบในเขตเมือง นอกจากนี้ยังพบอีกว่า มีประชากรเด็กที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นหอบหืดจากแก็สไนโตรเจนออกไซด์ เพิ่มขึ้น 1.85 ล้านคน และส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตเมือง และเนื่องจากการควบคุมเรื่องมลภาวะในอากาศในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราการเป็นหอบหืดจากแก็สไนโตรเจนออกไซด์ เริ่มมีจำนวนน้อยลง และแม้ว่าคุณภาพของอากาศจะเริ่มดีขึ้นในแถบอเมริกาและยุโรป แต่ทางแถบเอเชียใต้ แอฟริกา และตะวันออกกลาง ยังคงมีปริมาณมลภาวะเพิ่มขึ้นจากแก็สไนโตรเจนออกไซด์อยู่ดี และเด็กที่มีภาวะหอบหืด ที่สัมพันธ์กับแก็สไนโตรเจนออกไซด์ เป็นปัจจัยที่เพิ่มภาระผลต่อระบบสาธารณสุขในแถบเอเชียใต้ และแอฟริกา
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่พบว่า 13% ของประชากรเด็กทั่วโลกที่เป็นหอบหืดมีความสัมพันธ์กับปริมาณแก็สไนโตรเจนออกไซด์ และพบได้มากสุดถึง 50% ในเมืองถึง 250 แห่งบนโลก โดยภาพรวม เด็กที่เป็นหอบหืดที่สัมพันธ์กับแก็สไนโตรเจนออกไซด์ ลดลงจาก 20% ในปี 2000 เป็น 16% ในปี 2019 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเด็กที่อาศัยอยู่ใกล้กับเมืองที่จัดการปัญหามลภาวะได้ดี อย่างไรก็ตามโลกของเรายังคงต้องการ การจัดการปัญหามลพิษในอากาศต่อไป
ข้อมูลจาก https://www.sciencedaily.com/releases/2022/01/220105202758.htm