CIMjournal
banner อ้วน 3

การผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม


มีการศึกษาพบว่า การผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนักในคนไข้อ้วนสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม
โดยพบว่าผู้ที่ไม่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหารมีอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งเต้านมในเวลา 1 ปี สูงขึ้น 40 % เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ได้รับการผ่าตัด

การมีไขมันส่วนเกินเป็นการเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้หญิง ยังไม่มีการศึกษาที่แน่ชัดว่าการลดน้ำหนักในผู้ที่มีโรคอ้วนอยู่เดิมจะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่มีโรคอ้วน

มีการศึกษาย้อนหลังระหว่างปี 2010 – 2016 ที่ Ontario ในผู้หญิงโรคอ้วนที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหารเปรียบเทียบกับผู้หญิงโรคอ้วนที่ไม่มีประวัติการผ่าตัดกระเพาะอาหาร จำนวน 69,260 คน (อายุเฉลี่ย 45 ปี) กลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดมีดัชนีมวลกายพื้นฐาน (BMI) >35 กิโลกรัม/เมตร2 ในผู้ที่มีโรคร่วม และ >40 กิโลกรัม/เมตร2 ในผู้ที่ไม่มีโรคร่วม ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งสองกลุ่มถูกติดตาม 5 ปี โดยกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดได้รับการติดตามตั้งแต่หลังผ่าตัด สำหรับผู้ที่ไม่ผ่าตัดได้รับการติดตามหลังจากวันที่วัด BMI จากการศึกษา พบว่า อุบัติการณ์การเกิดมะเร็งเต้านมในกลุ่มที่ไม่ได้รับการผ่าตัดเพิ่มขึ้น 1.4 เท่า, 1.31 เท่า และ 1.38 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัด 1 ปี, 2 ปี และ 5 ปีตามลำดับ มะเร็งส่วนใหญ่อยู่ในระยะที่ 1 เนื้องอกส่วนใหญ่เป็นระดับปานกลางและมีตัวรับเอสโตรเจนเป็นบวก ตัวรับโปรเจสเตอโรนเป็นบวก และ ERBB2 เป็นลบ แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อนำข้อมูลผู้ที่มีดัชนีมวลกาย <25 กิโลกรัม/เมตร2 ในกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการผ่าตัดไม่พบอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งเต้านมที่แตกต่างกัน แต่มีอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งเต้านมลดลงในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดและมีดัชนีมวลกายเกิน 25 กิโลกรัม/เมตร2 เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ไม่ได้รับการผ่าตัด

การลดน้ำหนักจากการผ่าตัดกระเพาะอาหารมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมหลังจากผ่าตัด 5 ปีใกล้เคียงกับผู้ที่มีดัชนีมวลกาย <25 กิโลกรัม/เมตร2 นอกจากปัจจัยที่ปรับเปลี่ยนได้คือการลดน้ำหนัก ยังมีปัจจัยอื่นที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ซึ่งเป็นความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม เช่น พันธุกรรม ประวัติครอบครัว ประวัติการได้รับรังสี เป็นต้น ดังนั้นควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลไกที่อธิบายระหว่างโรคอ้วน การลดน้ำหนัก และมะเร็งเต้านม เพื่ออนาคตจะได้มีวิธีช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้หญิงที่มีความเสี่ยงสูง

 

เรียบเรียงโดย พญ. สุภัทรา จงศิริกุล
ข้อมูลจาก  https://www.medscape.com/viewarticle/991100

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก