การศึกษาในสัตว์ทดลอง พบโมเลกุลไขมันที่กระตุ้นสเต็มเซลล์เพื่อสร้างเซลล์ใหม่ที่ผลิตสมองเนื้อสีขาว (brain’s white matter)
นักวิจัยจาก Duke Health ประเทศสหรัฐฯ ทำการทดลองโดยใช้หนูแรกเกิดได้ค้นพบโมเลกุลไขมันในน้ำนมแม่หนู ที่ก่อให้เกิดกระบวนการสร้างสเต็มเซลล์ในสมอง ช่วยสร้างเซลล์ของ white matter ขึ้นมาใหม่ และซ่อมแซมเซลล์ที่ได้รับบาดเจ็บแล้ว
การศึกษานี้ตีพิมพ์ในวันที่ 3 สิงหาคม 2566 เผยแพร่ในวารสาร Cell Stem Cell โดย ดร. เอริค แบนเนอร์ จากภาควิชากุมารเวชศาสตร์ Duke University School of Medicine ระบุว่า การค้นพบนี้มีแนวโน้มที่ดี แต่ยังมีความจำเป็นต้องมีการศึกษาทดลองทางคลินิกเพิ่มเติม เนื่องจากการพัฒนาทางการแพทย์สำหรับวิธีการรักษา โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็กทารกยังทำได้ยากมาก เพราะมีข้อคำนึงถึงความปลอดภัยอย่างเข้มงวดพอสมควร เบนเนอร์ กล่าว “ข้อเท็จจริงที่ว่านี้ คือ การพบโมเลกุลที่ปลอดภัยต่อทารกคลอดก่อนกำหนด ยิ่งเป็นแรงสนับสนุนให้ทารกดื่มนมแม่เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าไขมันในน้ำนมแม่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาสมองของเด็ก แต่ในน้ำนมแม่มีไขมันหลายชนิด งานชิ้นนี้ได้ระบุโมเลกุลไขมันในนมแม่ที่ส่งเสริมการพัฒนา brain’s white matter ทำให้ตอนนี้ทีมวิจัยสามารถเริ่มต้นเพื่อพัฒนาการบำบัดที่จำเพาะและส่งไขมันนี้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งที่ปลอดภัยให้แก่ทารกเหล่านี้ ทั้งนี้ ดร. เอริค แบนเนอร์ เป็นแพทย์ทารกแรกเกิดที่ Duke University และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมผู้ก่อตั้ง Tellus Therapeutics บริษัทในเครือ Duke
ที่พัฒนาขึ้นด้วยความช่วยเหลือของ Duke University Office สำหรับการค้าเพื่อนำการบำบัดนี้มาสู่หออภิบาลทารกแรกเกิด โดยโมเลกุลไขมันที่ทำการศึกษาทดลองทางคลินิกที่กำลังจะเกิดขึ้นจะฉีดให้แก่ผู้ป่วยทางหลอดเลือดดำให้กับผู้ป่วยในการ ซึ่งเป็นช่องทางการให้ที่สำคัญเพราะทารกแรกเกิดจำนวนมากที่ป่วยมักมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และไม่สามารถให้นม หรือยาทางปากได้ เมื่อฉีดเข้าไปแล้วโมเลกุลของไขมันจะเข้าสู่สมองและจับกับเซลล์ต้นกำเนิด จากนั้นจะกระตุ้นให้สเต็มเซลล์ผลิตเซลล์ที่เรียกว่าโอลิโกเดนโดรไซต์ (oligodendrocytes) เป็นเหมือนฮับที่ช่วยให้การผลิตของ white matter ในระบบประสาทส่วนกลางขึ้นใหม่ โดยการผลิต brain’s white matter ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะช่วยป้องกัน
ความเสียหายทางระบบประสาทที่ส่งผลกระทบต่อเด็กความสามารถในการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นจุดเด่นของสมองพิการ (cerebral palsy)
ระยะเวลาของการบาดเจ็บที่สมองเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยากมาก ดังนั้น การรักษาที่สามารให้กับทารกที่คลอดก่อนกำหนดทุกคนที่มีความเสี่ยงได้อย่างปลอดภัย จะเป็นการปฏิวัติวงการการรักษาและป้องกันภาวะสมองพิการ และทีมผู้วิจัยยังมุ่งหวังที่จะสามารถเสนอการรักษานี้ให้แก่ครอบครัวที่มีทารกคลอดก่อนกำหนด และมีภาวะสมองบาดเจ็บ ซึ่งขณะนี้ยังคงไม่มีทางเลือกอื่น
- https://www.sciencedaily.com/releases/2023/08/230803113023.htm
- https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/37541211/