ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 กลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากสุด คือ กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ป่วยที่มีประวัติการเป็นโรค โดยเฉพาะโรคเรื้อรังต่าง อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิต โรคอ้วน โรคเกี่ยวกับเมตาบอลิก โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับปอด มีงานวิจัยที่หากมีการศึกษาต่อยอด อาจช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ดีขึ้น
Suchitra Kamle และทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Brown ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเอนไซม์ที่ชื่อว่า chitinase 3-like-1 โปรตีนตัวนี้เป็นโมเลกุลที่พบเจอทั่วไปในเลือด และเป็นตัวแปรสำคัญในการกระตุ้นกระบวนการอักเสบ ทีมนักวิจัยได้ทำการค้นหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง chitinase 3-like-1 และ receptor ACE2 ซึ่งเป็นตัว spike protein ที่จะยึดติด SARS-CoV-2 เพื่อเข้าสู่เซลล์มนุษย์ โดยได้ทำการทดลองในหนูที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้มี chitinase 3-like-1 มากกว่าและน้อยกว่าปกติ งานทดลองแสดงให้เห็นว่า ปริมาณ chitinase 3-like-1 นี้มีการเพิ่มขึ้นตามอายุ และการเป็นโรคและการติดเชื้อ อาทิ โรคถุงลมโป่งพอง โรคหอบหืด และ COPD ซึ่งล้วนเป็นโรคที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชิ้อ COVID-19 และยังเป็นตัวกระตุ้นของ receptor ที่ SARS-CoV-2 ใช้ในการแพร่เชื้อ จากการศึกษานี้ นักวิจัยได้ทำการพัฒนา humanized monoclonal antibody เรียกว่า FRG ซึ่งจะไปโจมตี chitinase 3-like-1 ผลปรากฎว่า therapeutic antibody ตัวนี้สามารถขัดขวางการเหนี่ยวนำของ ACE2 receptor ได้ แปลว่า ตัวไวรัสจะไม่สามารถเข้าไปในระบบของ host ได้ ซึ่งแปลได้ว่าจะมีการติดเชื้อที่ลดลงหากมี therapeutic FRG antibody นี้อยู่ในร่างกาย
การค้นพบนี้สามารถนำต่อยอดในการพัฒนาการรักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เมื่อได้รับ antibody ตัวนี้ มันอาจทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันการติดเชื้อเมื่อมีการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ หรืออาจทำให้ลดความรุนแรงของอาการที่จะเกิดขึ้น หรืออีกอย่างที่สามารถเป็นได้ คือการให้ antibody ตัวนี้แก่ผู้ที่มีไวรัสอยู่ในตัว ซึ่งอาจชะงักการติดเชื้อและถูกรักษาไปในที่สุด ขณะนี้ทางทีมกำลังทดลองดูปฏิกิริยาของ antibody เหล่านี้ ต่อ SARS CoV-2 สายพันธุ์ต่าง ๆ เพิ่มเติม
ข้อมูลจาก
https://www.sciencedaily.com/releases/2021/11/211108130852.htm