แนวปฏิบัติฯ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้แพทย์วินิจฉัยทารกการแพ้นมวัว อาจนำไปสู่การวินิจฉัยที่มากเกินไปได้ โดยมีการศึกษาพบว่า 3 ใน 4 ของทารกมีอาการตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไปในช่วงปีแรกของชีวิต ซึ่งแนวทางปฏิบัติกล่าวว่าอาจเกิดจากการแพ้นมวัว
อาการแพ้นมวัวสามารถแสดงได้ ทั้งแบบเฉียบพลันและแบบล่าช้า โดยอาการที่แสดงแบบล่าช้า สามารถแสดงได้หลายแบบ ทั้งอาการทางเดินอาหาร และอาการทางผิวหนัง เช่น อาเจียน แหวะ ขย้อนนม ถ่ายอุจจาระเหลว หรือ ท้องผูกก็ได้ ซึ่งอาการดังกล่าวยังสามารถพบในเด็กทารกที่ปกติอยู่แล้ว จึงเป็นสาเหตุให้ ทารกที่แพ้นมวัวแบบล่าช้ามักถูกวินิจฉัยได้ยากช่วงแรก โดยอาการที่พบจะแสดงออกเล็กน้อยถึงปานกลางทุกเดือน แต่จะแสดงออกบ่อย ๆ ตอนอายุ 3 เดือน จนเมื่ออายุ 6 เดือน อาการเหล่านี้จะเริ่มไม่เฉพาะเจาะจง สามารถพบได้ทั้งในเด็กที่แพ้และไม่แพ้นมวัว
จากการศึกษาของมหาวิทยาลัย Bristol ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Clinical and Experimental Allergy โดยการเก็บข้อมูลจากทารก 1,303 คน เป็นเวลา 3 เดือน โดยให้ผู้ปกครองคอยจดบันทึกอาการต่าง ๆ ที่พบในแต่ละเดือน โดยอ้างอาการจากแนวปฏิบัติ international Milk Allergy in Primary Care (iMAP) guideline ทีมวิจัย
พบว่าผู้ปกครอง 1 ใน 4 รายงานอาการ “เล็กน้อยถึงปานกลาง” ที่เป็นไปได้สองอย่างหรือมากกว่าทุกเดือน อาการจะเกิดขึ้นมากที่สุดเมื่ออายุได้ 3 เดือน เมื่อเด็กทุกคนได้รับนมแม่อย่างเต็มที่และไม่ได้กินนมวัวโดยตรง เมื่ออายุได้ 6 เดือน จำนวนเด็กที่มีอาการตั้งแต่ 2 อาการขึ้นไป ระหว่างผู้ที่บริโภคนมวัวกับการไม่บริโภคนมวัวไม่แตกต่างกัน
ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า อาการส่วนใหญ่ที่ระบุไว้ในแนวปฏิบัติฯทารกแพ้นมวัว เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ในเด็กปกติ และอาจไม่ได้มีสาเหตุจากการแพ้นมวัว จึงควรมีการวินิจฉัยให้เด็กอย่างเหมาะสม ช่วยให้ผู้ปกครองไม่กังวลใจมากเกินไป เวลาทารกมีอาการดังกล่าว ซึ่งอาจพบได้อยู่แล้วในวัยนี้
ข้อมูลจาก https://www.sciencedaily.com/releases/2021/12/211208090134.htm