CIMjournal
banner brain 12

ช่องว่างในสมองของทารกที่ขยายใหญ่ขึ้น เชื่อมโยงกับความเสี่ยงต่อออทิสติก


นักวิจัยพบว่า ช่องว่างรอบหลอดเลือด (
perivascular space) ในสมองของทารกที่ขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งเกิดจากการสะสมของน้ำไขสันหลังส่วนเกิน มีความสัมพันธ์ต่อโอกาสเป็นภาวะออทิสซึมในเด็กมากขึ้นกว่า 2.2 เท่า

เริ่มตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว มีการวิจัยเกี่ยวกับหน้าที่สำคัญของน้ำไขสันหลัง ในการควบคุมสุขภาพและพัฒนาการของสมอง และการศึกษาในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าปริมาณน้ำไขสันหลังที่มากเกินไปเมื่ออายุ 6 เดือน เชื่อมโยงกับช่องว่างรอบหลอดเลือดเลือดที่ขยายใหญ่ขึ้นเมื่ออายุ 24 เดือน โดยทุก ๆ 6 ชั่วโมงสมองจะปล่อยน้ำไขสันหลังที่ไหลผ่านช่องว่างรอบหลอดเลือด เพื่อกำจัดโปรตีนที่ทำให้เกิดการอักเสบของระบบประสาทที่อาจเป็นอันตราย เช่น อะไมลอยด์เบต้า จากการสะสมในสมอง กระบวนการทำความสะอาดน้ำไขสันหลัง จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อเรากำลังนอนหลับ เนื่องจากการไหลเวียนและการทำความสะอาดของน้ำไขสันหลังส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับ และการรบกวนการนอนหลับจะลดการเคลื่อนตัวของน้ำไขสันหลังจากช่องว่างรอบหลอดเลือดซึ่งนำไปสู่การขยายใหญ่ขึ้น กระบวนการที่หยุดชะงักของกระบวนการสำคัญนี้อาจนำไปสู่ความผิดปกติทางระบบประสาท การรับรู้ลดลง หรือพัฒนาการล่าช้าของเด็กได้

นักวิจัยได้ศึกษาทารกที่มีแนวโน้มในการพัฒนาออทิสติก เพราะพวกเขามีพี่น้องที่เป็นออทิสติก โดยติดตามทารกเหล่านี้ตั้งแต่อายุ 6 – 24 เดือน ก่อนที่จะถึงอายุที่จะวินิจฉัยโรคออทิสติก การศึกษานี้ตีพิมพ์ใน JAMA Network Open พบว่า ร้อยละ 30 ของทารกที่พัฒนาเป็นออทิสติกในเวลาต่อมา มีการขยายช่องว่างรอบหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นภายในอายุ 12 เดือน เมื่ออายุ 24 เดือน ทารกเกือบครึ่งหนึ่งที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นออทิสติกมีช่องว่างรอบหลอดเลือดสมองขยายใหญ่ขึ้น การวิจัยนี้ดำเนินการร่วมกับ Infant Brain Imaging Study (IBIS) ซึ่งเป็นเครือข่ายนักวิจัยทั่วประเทศที่ตรวจสอบพัฒนาการของสมอง ออทิสติก และความบกพร่องทางพัฒนาการที่เกี่ยวข้อง เครือข่ายประกอบด้วยมหาวิทยาลัย 5 แห่ง โดยมี University of North Carolina-Chapel Hill เป็นแกนนำ สำหรับการศึกษานี้นักวิจัยทำการวิเคราะห์ภาพถ่ายสมอง MRI จำนวน 870 ราย จาก IBIS เพื่อวัดปริมาตรน้ำไขสันหลังส่วนเกิน และช่องว่างรอบหลอดเลือดสมองที่ขยายใหญ่ขึ้น โดยภาพถ่ายสมอง MRI ได้มาจากทารกที่อยู่ระหว่างการนอนหลับตามธรรมชาติ เมื่ออายุ 6, 12 และ 24 เดือน เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป การค้นพบนี้นับเป็นครั้งแรกที่นักวิจัยค้นพบว่าทารกที่มีช่องว่างรอบหลอดเลือดสมองขยายใหญ่ผิดปกติ มีโอกาสพัฒนาเป็นออทิสติกได้มากกว่า 2.2 เท่า เมื่อเทียบกับทารกที่มีความเสี่ยงทางพันธุกรรมแบบเดียวกัน

ก่อนหน้านี้การวัดช่องว่างรอบหลอดเลือดสมอง คิดว่ามีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของผู้สูงอายุ เช่น ในภาวะสมองเสื่อมเพียงอย่างเดียว แต่จากการค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่าประชากรอายุน้อยอาจจำเป็นต้องได้รับการพิจารณาตรวจติดตามความผิดปกติของสมองในลักษณะนี้ด้วยเช่นกัน จากผลลัพธ์นี้เองชี้ให้เห็นว่าช่องว่างรอบหลอดเลือดสมอง สามารถทำหน้าที่เป็นเครื่องหมายเริ่มต้นของการประเมินความเสี่ยงของการเกิดออทิสติกได้ต่อไป

 

เรียบเรียงโดย พญ. พนิดา วิจารณ์
ข้อมูลจาก www.sciencedaily.com/releases/2024/01/240102142019.htm

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก