อาหารคีโตเจนิค (Ketogenic diets) ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นวิธีการรักษาที่มีแนวโน้มดีสำหรับโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease; PD) ในสัตว์ แต่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการรักษาแบบคีโตจีนิคในมนุษย์
Ketogenic diets หรือการรับประทานอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตน้อยและไขมันสูง ประกอบด้วยปริมาณไขมันสูง (ร้อยละ 55 – 60) ปริมาณโปรตีนปานกลาง (ร้อยละ 30 – 35) และปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่น้อยมาก (ร้อยละ 5 – 10) ในทางการแพทย์มีการศึกษาเพิ่มเติมในการบำบัดโรคที่เกี่ยวความผิดปกติของระบบประสาท ซึ่งรวมถึงโรคสมองเสื่อมและโรคพาร์กินสัน อาจรวมถึงการป้องกันในผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บทางสมองรวมถึงผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองด้วย
จากการวิจัย systematic review รวบรวมการวิจัยเกี่ยวกับอาหารคีโตเจนิคในโรคพาร์กินสัน 12 การศึกษา แบ่งเป็นการศึกษาในมนุษย์ 4 การศึกษา และการศึกษาในสัตว์ 8 การศึกษา ทำการศึกษาเพื่อดูผลของอาหารคีโตเจนิค, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของ medium-chain triglyceride (MCT), Caprylic acid และเครื่องดื่มคีโตนเอสเทอร์ ผลการศึกษาพบว่าอาหารคีโตเจนิค ไม่มีผลต่อการเพิ่มการเคลื่อนไหวและการประสานงาน (motor function and coordination), การเสื่อมของพุทธิปัญญา การควบคุมระดับไขมันและน้ำตาลในเลือด รวมทั้ง exercise performance หรือความผิดปกติของเสียงในผู้ป่วยพาร์กินสัน ทั้งนี้ผลการศึกษาจากหลายการศึกษาไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ในทางกลับกัน การศึกษาในสัตว์ทดลองแสดงให้เห็นแนวโน้มที่น่าพึงพอใจ ต่อ locomotor activity, dopaminergic activity, redox status และ inflammatory markers
จากผลการศึกษานี้ อาหารคีโตเจนิคมีผลที่น่าพอใจต่อ locomotor activity, dopaminergic activity, redox status และ inflammatory markers ในสัตว์ทดลอง แต่อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถหาข้อสรุปเกี่ยวกับประสิทธิภาพของอาหารคีโตจินิคในผู้ป่วยพาร์กินสันได้ และจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
- Maturitas 2022;doi:10.1016/j.maturitas.2022.06.001
- https://specialty.mims.com/topic/ketogenic-trials-with-parkinson-s-disease-specific-outcomes-lacking