ประชากรวัยผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนยาวขึ้นในปี 2019 มากกว่าในปี 1990 โดยส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากการลดลงของอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง แต่อัตราการเกิดภาวะทุพพลภาพที่ทำให้เป็นอัปสรรคต่อการดำรงชีวิตยังคงที้สืบเนื่องจาก ภาวะถดถอยของร่างกาย ภาวะสูญเสียทางการได้ยิน และ อาการปวดหลัง
สาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะทุพพลภาพจนเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิต ที่พบบ่อยได้แก่ ภายะเสื่อมถอยของการทำบานของร่างกาย การลดลงทางการมองเห็นและการได้ยิน และ อาการปวดจากโรคต่าง ๆ
ในการศึกษาในประชากรอายุมากกว่า 70 ปี นาก 204 ประเทศ โดยใช้ฐานข้อมูลจาก Global Burden of Diseases, Injuries, and Risk Factors Study 2019 (GBD 2019) ในการวิเคราะห์แนวโน้มอัตราการเสียชีวิตและอัตราการเกิดทุพลลภาพ การศึกษาพบว่า อัตราการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุรวมกันลดลงนั้นลดลงแม้จำนวนประชากรสูงวัยจะสูงขึ้นทั่วโลกตั้งแต่ปี 1990 แต่ทว่าแลอัตราการเสียชีวิตจากการหกล้มเพิ่มสูงขึ้นระหว่างปี 1990 – 2019 ในกลุ่มประชากรอายุ 70 – 90 ปีนั้น โอกาสการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อมีค่าลดลง
นักวิจัยได้ลงความเห็นว่า ข้อมูลเหล่านี้ สามารถนำไปพัฒนาและต่อยอดการวางกลยุทธ์ในการรักษาภาวะเสื่อมถอยทางร่างกาย ภาวะการสูญเสียของระบบประสาทสัมผัส และ การหกล้มที่เพิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ โดยแผนพัฒนาควรมีความจำเพาะเจาะจงในแต่ละประเทศเพราะแต่ละประเทศนั้นมีความแตกต่างทั้งกลุ่มประชากร นักวิจัยยังเชื่อว่าโรค โควิด 19 อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของสาเหตุการเสียชีวิตและทุพพลภาพในกลุ่มประชากรอายุมากกว่า 70 ปีสำหรับปี 2020
ข้อมูลจาก https://specialty.mims.com