ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ส่วนใหญ่จะหายได้ภายใน 3 อาทิตย์หลังติดเชื้อ ประมาณ 30% ของผู้ติดเชื้อมีอาการนานเกินกว่า 4 อาทิตย์ เรียกว่า Post-acute COVID-19 syndrome (PACS) หรือ long COVID ซึ่งอาจเกิดผลร้ายแรง มีการศึกษาผู้ป่วย COVID-19 พบว่า Immunoglobulin (Ig) signature สามารถทำนายความเสี่ยงการเกิด PACS ได้ โดยไม่ขึ้นกับเวลาการเก็บตัวอย่างเลือด
ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะมีการตอบสนองต่อการติดเชื้อ โดยการเพิ่มความเข้มข้นของ Chemokines, Proinflammatory cytokines และ Tumor necrosis factor (TNF) และมีการปรากฏของ Activated monocytes, SARS-CoV-2-specific immunoglobulin M (IgM), IgA, IgG antibodies และ Interferon-γ-producing T cells จากงานวิจัยพิมพ์ใน Nature Communications นักวิจัย พบว่า นอกจากอายุ ประวัติโรคหอบหืด และอาการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงแรกของการติดเชื้อแล้ว การเกิด PACS นั้นยังมีความสัมพันธ์กับ Ig signature ที่ชัดเจนอีกด้วย โดยได้มีการแปลเป็นรูปแบบที่เรียกว่า PACS score และได้ถูกใช้ติดตามผู้ป่วย COVID-19 จำนวน 134 ราย ซึ่งการวัด Ig signature นั้น สามารถช่วยระบุตัวผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการพัฒนาเป็น PACS ได้ และเนื่องจากการวัดนี้ไม่ขึ้นกับเวลาการเก็บตัวอย่างเลือด จึงทำให้สามารถระบุ Ig signature นี้ได้ก่อนที่จะเกิดการติดเชื้ออีกด้วย
ในอนาคต PACS score สามารถถูกนำมาใช้ในกรณีที่การคาดคะเนของ false-positive มีความอันตรายกว่าของ false-negative ซึ่งจะสามารถช่วยชี้ตัวผู้ติดเชื้อที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด PACS โดยนักวิจัยได้แนะนำให้มีการใช้ PACS score ในการระบุผู้ป่วยนอกที่มีความเสี่ยง ผู้ป่วยโรคหืดที่มีความเสี่ยงสูง และผู้ป่วยในโรงพยาบาล การวัดค่า Ig แต่เนิ่น ๆ นั้น อาจช่วยในการตัดสินใจในทางคลินิกที่เหมาะสม และกำหนดกลยุทธ์การรักษาเฉพาะบุคคลได้
ข้อมูลจาก https://www.news-medical.net/news/20220127