งานวิจัยหลายการศึกษาค้นพบว่า ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการ Long COVID เรื้อรังอย่างต่อเนื่อง และพิสูจน์ได้ว่า COVID 19 อาจทำให้เกิดภาวะการทำงานของสมองส่วนความคิดและความจำในผู้ใหญ่เสื่อมลง
จากข้อมูลล่าสุดของ Medicare Advantage ได้รายงานว่า หนึ่งในสามของผู้ป่วย 87,000 ราย ที่มีอายุมากกว่า 65 ขึ้นไป ที่ป่วยเป็นโรคโควิด 19 เข้ารับการรักษาหลังจากที่อาคารดำเนินไปมากกว่า 21 วันหลังจากนั้น โดยจำนวนผู้ป่วยลองโควิดมีจำนวนมากกว่าถึงสองเท่าในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป โดยในผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการมีภาวะทางเดินหายใจล้มเหลว ภาวะอ่อนเพลีย โรคความดันโลหิตสูง ภาวะความจำเสื่อม โรคไต และโรคทางจิตเวช กลุ่มโรคที่มีการแข็งตัวของโลหิตที่ไวเกินกว่าปกติ กลุ่มโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะในอนาคตมากขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยกลุ่มอาการลองโควิดกับกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อไวรัสชนิดอื่น ๆอย่างเช่น ไข้หวัดใหญ่ มีเพียงภาวะทางเดินหายใจล้มเหลว ภาวะสมองเสื่อม และภาวะเหนื่อยล้า หลังจากการติดเชื้อไวรัสที่มีอุบัติการณ์การเกิดมากกว่าในกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด 19
การศึกษาจากหลาย ๆ สถาบันจาก อาทิเช่น จากประเทศอิตาลี ร้อยละแปดสิบสามของผู้ป่วยหนึ่งร้อยหกสิบห้าคนที่มีอายุมากกว่าหกสิบห้าปี รายงานว่ามี คนนั้นมีอาการอย่างน้อยหนึ่งอาการที่พบในกลุ่มลองโควิด เช่น อาการเหนื่อยง่าย อาการหายใจหอบเหนื่อย อาการปวดข้อ และไอเรื้อรัง แม้ว่าผู้ป่วยนั้นจะออกจากโรงพยาบาลเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว โดยหนึ่งในสาม รายงานว่า มีจำนวนอาการอย่างน้อย 2 อาการและร้อยละ 46 ของผู้ป่วยลองโควิดมีจำนวนอย่างน้อย 3 อาการขึ้นไป ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการค้นพบว่า 28% ของผู้ป่วย 817 คน มีภาวะสับสนและมีผลการรักษาที่แย่กว่ากลุ่มอื่น ๆ การศึกษาจากอู่ฮั่น ประเทศจีน ซึ่งเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยโควิดใน รพ. 1438 คนพบว่า 12% พบภาวะสับสนและสมองเสื่อมภายในหนึ่งปีหลังการติดเชื้อ
ภาวะเรื่องสมองเสื่อมเหล่านี้หากเกิดขึ้นแล้ว ไม่อาจสามารถรักษาให้เป็นดังเดิมได้ ดังนั้น เหล่าผู้วิจัยต่างให้ความเห็นว่าการรักษาภาวะเหล่าโดยการกายภาพฟื้นฟูผู้ป่วยโรคโควิด 19 ตั้งแต่แรกเริ่มและแตกต่างออกไปเฉพาะตัวบุคคล
ผู้เรียบเรียง นพ.วิชล ลิ้มพัฒนาชาติ
ข้อมูลจาก https://www.medscape.com/viewarticle/972852#vp_1?reg=1