ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 ส่วนใหญ่จะมีอาการและดีขึ้นใน 2 – 3 สัปดาห์ และมีบางรายที่ยังมีอาการหลงเหลืออยู่นานกว่า 4 สัปดาห์ เรียก Long COVID ทั้งนี้ยังมีผู้ป่วยที่มีอาการอยู่ในช่องว่างดังกล่าว อาจรวมเป็น Medium COVID โดยผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักเป็นผู้ป่วย อายุน้อยที่มีสุขภาพดี หลังติด COVID 2 – 3 สัปดาห์ผลทดสอบเป็นลบ แต่ยังคงมีอาการอยู่ ซึ่งอาจดีขึ้นก่อนเข้าสู่ Long COVID
ผู้ติดเชื้อโควิด 19 มักจะมีอาการหลังจากได้รับเชื้อโควิด 1 สัปดาห์ โดยอาการ ได้แก่ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ไอแห้ง เจ็บหน้าอก ปวดกล้ามเนื้อและข้อ อ่อนเพลีย นอนหลับยาก และอารมณ์แปรปรวน เพลีย เป็นต้น ซึ่งอาการมักจะดีขึ้นในช่วงพักฟื้นประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ โดย CDC ได้ให้คำนิยาม Long COVID ว่า เป็นภาวะที่มีอาการต่อเนื่องหลังติดเชื้อโควิด นานกว่า 4 สัปดาห์ ส่วน WHO ให้คำจำกัดความว่า มีอาการต่อเนื่องหลังติดเชื้อโควิด 19 ตั้งแต่ 3 สัปดาห์ขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ป่วยที่มีอาการอยู่ในช่องว่างดังกล่าว อาจรวมเป็น Medium COVID โดยจากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักเป็นผู้ป่วย อายุน้อยที่มีสุขภาพดี หลังติด COVID 2 – 3 สัปดาห์ผลทดสอบเป็นลบ แต่ยังคงมีอาการอยู่ ซึ่งอาการอาจดีขึ้นก่อนเข้าสู่ Long COVID ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นว่า ในผู้ป่วยที่อายุน้อยและมีสุขภาพดี มักมีอาการและไม่รุนแรงพอที่จะหยุดงาน หลังพักฟื้นกลับไปเริ่มงาน เริ่มสังเกตเห็นว่ามีบางอย่างผิดปกติ เช่น อ่อนล้าง่าย ต้องเข้านอนเร็วเนื่องจากหมดพลัง หรือแม้แต่การสังสรรค์ก็ทำได้น้อยลงเช่นกัน ในขณะที่บางท่านเห็นว่าเป็นความต่อเนื่องของอาการที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน ซึ่งยังไม่ทราบถึง Pathophysiology หรือ biomarker ที่บอกถึงภาวะหรือระยะเวลานั้นจริง ๆ
การศึกษาถึงกลไกของการเกิดอาการต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ในช่วง Long COVID รวมถึงอาการที่อาจรวมเข้าเป็น Medium COVID เป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อเพิ่มความเข้าใจและวางแผนการรักษาได้ดีขึ้น
ข้อมูลจาก https://www.medscape.com/viewarticle/973328