CIMjournal
banner เบาหวาน 3

ระยะรอบประจำเดือนส่งผลต่อการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 


มีการศึกษาพบว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่
1 เพศหญิงที่ออกกำลังกายในระยะหลังไข่ตก (ระยะ luteal) อาจจำเป็นต้องได้รับน้ำตาลกลูโคสขณะออกกำลังกายมากกว่าการออกกำลังกายในระยะก่อนไข่ตก (ระยะ follicular) เพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

การออกกำลังกายมีประโยชน์ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 แต่โดยทั่วไปผู้ป่วยมักมีความกังวลเกี่ยวกับการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขณะออกกำลังกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเพศหญิง โดยมีการศึกษาว่าการออกกำลังกายในช่วงที่มีระยะรอบประจำเดือนต่างกันมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 แกว่งขึ้นลงอย่างมาก แต่ยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนอย่างเพียงพอในปัจจุบัน

ระยะก่อนไข่ตก (follicular) เป็นระยะที่นับจากวันแรกของการมีประจำเดือนถึงกลางระยะรอบเดือน (ประมาณ 14 วันหลังจากมีประจำเดือนวันแรก) หลังจากนั้นจะตามมาด้วยระยะหลังไข่ตก (luteal) จนกระทั่งถึงวันที่ 28 ของทุกเดือน โดยมีข้อมูลว่าระยะ luteal สัมพันธ์กับการมีความไวของอินซูลินลดลง

มีการศึกษาของ Yardley และคณะ ในประเทศแคนาดา เพื่อดูผลของระดับน้ำตาลจากการออกกำลังกายแบบแอโรบิคแบบหนักปานกลางของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 เพศหญิงจำนวน 9 คน ที่ออกกำลังกายในระยะ follicular เปรียบเทียบกับระยะ luteal พบว่า ทั้งสองระยะมีระดับน้ำตาลลดลงขณะออกกำลังกาย และเพิ่มขึ้นหลังจากออกกำลังกาย โดยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของทั้งสองกลุ่ม และเพื่อความปลอดภัยในระหว่างการศึกษา ผู้ป่วยจะได้รับคาร์โบไฮเดรตเพิ่มหากระดับน้ำตาลขณะออกกำลังกายต่ำกว่า 4.5 มิลลิโมล/ลิตร ซึ่งพบว่าระยะ luteal มีผู้ป่วย 6 คนที่ได้รับคาร์โบไฮเดรตเพิ่ม ขณะที่ระยะ follicular มี 1 คน แต่ไม่พบจำนวนผู้ป่วยในระยะ luteal มีภาวะน้ำตาลต่ำหลังออกกำลังกายเพิ่มขึ้น นอกจากนี้พบว่าหลังออกกำลังกายในระยะ follicular ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลสูงกว่าระยะ luteal อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

จากการศึกษา สรุปได้ว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิคในระยะ luteal อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ดังนั้นแพทย์ควรแนะนำให้ผู้ป่วยจดบันทึกการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลโดยใช้เครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง (Continuous glucose monitoring, CGM) ประเภทการออกกำลังกายและความสัมพันธ์กับระยะรอบประจำเดือน แต่เนื่องจากเป็นการศึกษาขนาดเล็กและทำในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาคุมกำเนิด จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

 

เรียบเรียงโดย พญ. สุภัทรา จงศิริกุล
ข้อมูลจาก
  1. https://www.medscape.com/viewarticle/976569?src=#vp_1
  2. https://diabetesjournals.org/diabetes/article/71/Supplement_1/243-OR/145912

 

 

PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก