การเล่นเครื่องดนตรี สามารถเพิ่มความเร็วของการไหลเวียนของเลือด ใน Middle cerebral artery (MCA) ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ขึ้นกับระดับความยากของการเล่นเครื่องดนตรี แต่อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาในกลุ่มประชากรขนาดใหญ่เพิ่มเติม
การเล่นดนตรี ถูกนำมาใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยหรือพัฒนาศักยภาพด้านร่างกาย จิตใจ ความคิด และทักษะทางสังคม โดนมีความเชื่อกันว่าดนตรีจะช่วยให้คนฟังผ่อนคลายจากอาการเจ็บป่วย และความกังวล หรือลดความเครียด และยังมีงานวิจัยที่ศึกษาผลของดนตรีต่อการเพิ่มการไหลเวียนสมองอีกด้วย
นักวิจัยทำการศึกษาในนักดนตรี 13 คน โดยให้เล่นเปียโน หรือไวโอลิน บรรเลงบทเพลงที่มีความยากแตกต่างกัน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับแรก คือบทเพลงที่เล่นเป็นครั้งแรก (First time: FS) ระดับที่สอง คือบทเพลงที่เคยฝึกแล้ว (Already Practicing: PR) และระดับสุดท้าย คือบทเพลงที่มีความซับซ้อน (Mastered: MS) และวัดความเร็วของการไหลเวียนของเลือดในส่วนต่าง ๆ ของสมอง (Blood flow velocity) โดยใช้เครื่อง Ultrasound Doppler ผลการศึกษาพบว่า ก่อนนักดนตรีทำการเล่นเครื่องดนตรีในความยากระดับต่าง ๆ ความเร็วของการไหลเวียนของเลือดในส่วนต่าง ๆ ของสมอง ไม่มีความแตกต่างกัน (0.54 vs 0.53 vs 0.52 m/s ก่อนทำการเล่นบทเพลงระดับ FS, PR, MS ตามลำดับ) และความเร็วการไหลเวียนเลือดบริเวณ middle cerebral artery (MCA) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อนักดนตรีเล่นเครื่องดนตรีระดับ Mastered และ Already Practicing (0.55 และ 0.56 m/s) โดยคิดเป็น 8.6% และ 5.2% ตามลำดับ แต่ไม่พบความแตกต่างในการเล่นระดับ First time
การเล่นเครื่องดนตรี สามารถเพิ่มความเร็วของการไหลเวียนเลือด (Blood flow velocity) ใน Middle cerebral artery ได้ แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้มีข้อจำกัด คือ การเล่นไวโอลินและเปียโน มีความแตกต่างกัน จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในผู้ที่เล่นไวโอลินเพียงอย่างเดียวในกลุ่มประชากรขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น
- https://specialty.mims.com/topic/playing-a-musical-instrument-boosts-brain-blood-flow
- PLoS One 2022;doi:10.1371/journal.pone.0269679