นักวิจัยค้นพบวิธีการเปลี่ยนแปลงเซลล์ขนในหูชั้นใน ให้เป็นเซลล์ขนด้านนอก (outer hair cell: OHC) และเซลล์ขนด้านใน (inner hair cell: IHC) นับเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยเหลือให้ผู้สูงอายุที่หูตึงกลับมาได้ยินได้เสียงได้
การสูญเสียการได้ยิน มีสาเหตุสำคัญมากจากการตายของเซลล์ขน นักวิจัยพยายามศึกษากระบวนการเปลี่ยนเซลล์ที่ตายแล้ว หรือเปลี่ยนแปลงเซลล์ชนิดอื่นให้เป็นเซลล์ขน เพื่อทำหน้าที่ทดแทนเซลล์ที่ตายไป เพิ่งมีการค้นพบยีนส์ TBX2 ที่ทำหน้าที่สำคัญในกระบวนการดังกล่าว
เซลล์ขนในหูชั้นใน มี 2 ชนิดคือ เซลล์ขนด้านนอก (outer hair cell: OHC) และเซลล์ขนด้านใน (inner hair cell: IHC) เซลล์ทั้ง 2 ชนิดนี้ทำหน้าที่ต่างกันในการรับสัญญาณเสียงเพื่อส่งไปยังระบบประสาท เซลล์ขนพัฒนาเต็มที่ตั้งแต่ระยะตัวอ่อนในครรภ์ แล้วไม่มีการพัฒนาต่ออีก การตายของ OHC เป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียการได้ยินแบบถาวร ก่อนหน้านี้มีการผลิตเซลล์ขนสังเคราะห์ได้สำเร็จ แต่ยังไม่สามารถเปลี่ยนเซลล์ขนสังเคราะห์ดังกล่าว ให้เป็น OHC หรือ IHC ได้ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2022 นักวิจัยชาวอเมริกัน จาก Northwestern Medicine กล่าวถึงการค้นพบยีนส์ใหม่ ชื่อ TBX2 มีหน้าที่สำคัญในการโปรแกรมเซลล์ขนให้เปลี่ยนเป็น OHC หรือ IHC โดยกระบวนการฟื้นฟูการได้ยิน คือการเปลี่ยนแปลง supporting cell ที่อยู่รอบๆเซลล์ขนเก่า ให้กลายเป็นเซลล์ขนใหม่เพื่อมาทำงานทดแทนเซลล์ขนเก่าที่ตายไปแล้ว ยีนส์ ATOH1 และ GF1 ทำหน้าที่เปลี่ยน supporting cell ให้เป็นเซลล์ขน เละยีนส์ TBX2 ทำหน้าที่โปรแกรมเซลล์ขนให้เปลี่ยนเป็นชนิด OHC หรือ IHC
โรคหูตึงในผู้สูงอายุ เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดย 8.5% ของผู้ใหญ่ที่อายุ 55 – 64 ปี จะเริ่มหูตึง และพบมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยมากกว่า 50% ของผู้สูงอายุ > 75 ปี มีภาวะหูตึง การค้นพบดังกล่าว เป็นความหวังสำคัญที่จะช่วยเหลือให้ผู้ป่วยหูตึงกลับมาได้ยินได้ กระบวนการดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการวิจัยในห้องทดลอง ยังคงต้องติดตามต่อไปว่านักวิจัยจะสามารถทำสำเร็จ และสามารถนำมาใช้ในมนุษย์ได้หรือไม่
- https://news.feinberg.northwestern.edu/2022/05/04/new-tool-to-create-hearing-cells-lost-in-aging/
- https://www.medscape.com/viewarticle/974462