CIMjournal
banner นรี 2

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic ovary syndrome) เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจในระหว่างการคลอดบุตร


ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบพบได้มากในหญิงวันเจริญพันธุ์ โรคนี้มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือดในระหว่างและภายหลังการคลอดบุตรที่เพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจบีบตัวอ่อนแรง การเกิดลิ่มเลือดในหัวใจ ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลจากแพทย์เฉพาะทางอย่างใกล้ชิดทั้งในขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนที่พบได้ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบผู้มีภาวะนี้สูงถึง 5 ล้านคน โรคนี้ส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยากและเป็นบ่อเกิดของความผิดปกติทางเมตาบอลิซึมของหัวใจ เช่น การเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงและความดันโลหิตสูง ซึ่งทั้งสองภาวะนี้มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือดที่เกิดขึ้นแบบเฉียบพลันในระหว่างและภายหลังการคลอดบุตร อย่างไรก็ตาม การศึกษาเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือดที่สัมพันธ์กับภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบนี้ยังมีข้อมูลไม่มาก

การศึกษาวิจัยของ Dr. Erin Michos และคณะ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน Journal of the American Heart Association เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ปี ค.ศ. 2022 ที่ผ่านมา ทำการศึกษาแนวโน้ม ผลลัพธ์ทางคลินิก และปัจจัยทำนายการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเพศหญิง ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบและได้นอนโรงพยาบาลเพื่อคลอดบุตรในประเทศสหรัฐอเมริกา ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวถึงร้อยละ 76 เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจบีบตัวอ่อนแรงถึงร้อยละ 79 และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดในหัวใจถึงร้อยละ 82 เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบยังมีระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลระหว่างการคลอดบุตรที่นานกว่า และจากการศึกษาติดตามเป็นระยะเวลานานถึง 17 ปี พบว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบที่มานอนโรงพยาบาลเพื่อคลอดบุตรนั้น มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมถึง 27 เท่า

ผู้ป่วยที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบควรได้รับการตรวจติดตามอย่างใกล้ชิดทั้งในขณะตั้งครรภ์และภายหลังจากการคลอดบุตร สูตินรีแพทย์ผู้ดูแลควรมุ่งประเด็นไปที่การป้องกันโรคโดยให้ความรู้แก่ผู้ป่วยถึงความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจที่เพิ่มมากขึ้น ผู้ป่วยควรได้รับการส่งต่อเพื่อพบแพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจร่วมด้วย นอกจากนี้ในผู้ป่วยรายที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือด ควรได้รับการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตทั้งด้านอาหารและการออกกำลังกาย ตามด้วยการรักษาด้วยยากลุ่ม statin เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้น

 

ผู้เรียบเรียง พญ. พันธพันธุ์ สุรียะธนาภาส
ข้อมูลจาก
  1. https://www.medscape.com/viewarticle/976845#vp_1
  2. Zahid S, Khan MZ, Gowda S, Faza NN, Honigberg MC, Vaught AJ, Guan C, Minhas AS, Michos ED. Trends, Predictors, and Outcomes of Cardiovascular Complications Associated With Polycystic Ovary Syndrome During Delivery Hospitalizations: A National Inpatient Sample Analysis (2002-2019). J Am Heart Assoc. 2022 Jun 16:e025839. doi: 10.1161/JAHA.121.025839. Epub ahead of print. PMID: 35708290.

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก