CIMjournal
banner สูติ 1

ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์สัมพันธ์กับหัวใจเต้นผิดจังหวะระยะยาว


มีการศึกษา พบว่า สตรีที่มีความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ (
Pregnancy-induced hypertension, PIH) มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) ภายใน 1 ปี หลังคลอดเพิ่มขึ้น แม้จะไม่ใช่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายแก่ชีวิต แต่เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจสั่นพลิ้ว (Atrial fibrillation, AF) มากขึ้น

การศึกษา พบว่า ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ สัมพันธ์กับความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เพิ่มขึ้น แต่ผลระยะยาวรวมถึงข้อมูลเรื่องความดันโลหิตก่อนการตั้งครรภ์ยังมีน้อย จึงเป็นที่มาของงานวิจัยนี้ที่จะตอบคำถามว่าอุบัติการณ์ของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเพิ่มขึ้น หลังจากการมีความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์หรือไม่

จากฐานข้อมูลการประกันสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกับการตรวจคัดกรองสุขภาพแห่งชาติเกาหลี พบสตรีที่คลอดบุตรในปี ค.ศ. 2007 ถึง 2015 และได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพภายใน 1 ปี ก่อนการตั้งครรภ์ โดยไม่รวมสตรีที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะตั้งแต่ภายใน 1 ปี ก่อนตั้งครรภ์ ผลพบสตรีเป็นความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ 37,297 ราย และตั้งครรภ์ปกติ 1,998,387 ราย  จากทั้งหมด 2,035,684 ราย ติดตามภายใน 1 ปีหลังคลอด พบหัวใจเต้นผิดจังหวะรวม 5,029 ราย โดยมาจากกลุ่มที่เป็นความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์สูงกว่ากลุ่มที่ตั้งครรภ์ปกติ คือ 0.62% (230 จาก 37,297 ราย) และ 0.24% (4,799 จาก 1,998,387 ราย) ตามลำดับ อีกทั้งกลุ่มที่เป็นความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ ยังมีความเสี่ยงต่อหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว และการอุดกั้นของสัญญาณระหว่างหัวใจห้องบนสู่ห้องล่างมากกว่ากลุ่มที่ตั้งครรภ์ปกติ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลก่อนการตั้งครรภ์ของกลุ่มที่เป็นความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่มีน้ำหนักตัว ความดันโลหิต AST (Aminotransferase) ในเลือด น้ำตาล และไขมันในเลือดขณะอดอาหารสูงกว่า และสูบบุหรี่มากกว่ากลุ่มที่ตั้งครรภ์ปกติ

ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะภายใน 1 ปี หลังคลอด แต่ไม่ได้เพิ่มอุบัติการณ์ของหัวใจเต้นผิดจังหวะร้ายแรง  ซึ่งหัวใจเต้นผิดจังหวะดังกล่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ในอนาคตของสตรีที่มีประวัติความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์

 

เรียบเรียงโดย พญ. นิษฐา ปรุงวิทยา
ข้อมูลจาก
1.
https://specialty.mims.com/topic/pregnancy-induced-hypertension
2. https://www.ahajournals.org/doi/full/10.1161/JAHA.121.023013

 

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก