CIMjournal
banner สูติ 1

สูตินรีแพทย์แนะนำ ผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงที่ตั้งครรภ์ควรคลอดบุตรด้วยวิธี Cesarean section


ผู้ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อฝีดาษลิง ควรได้รับคำแนะนำข้อดีข้อด้อยของการคลอดบุตรแต่ละวิธี โดยเฉพาะการคลอดแบบ
cesarean section ในกรณีที่มีแผลติดเชื้อที่ช่องทางคลอดปกติ เพื่อลดความเสี่ยงการถ่ายทอดไวรัสจากแม่สู่ลูก การให้วัคซีนสามารถพิจารณาได้หากสัมผัสโรคขณะตั้งครรภ์โดยบุคลากรทางการแพทย์มีหน้าที่ให้ข้อมูลและตัดสินใจร่วมกันกับผู้ป่วย

จากการศึกษาโรคฝีดาษลิงตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน กลุ่มผู้ตั้งครรภ์ เด็กเล็ก และทารก เป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงเมื่อได้รับเชื้อฝีดาษลิง มีรายงานภาวะแทรกซ้อนในครรภ์เมื่อติดเชื้อ ก่อให้เกิดภาวะแท้ง ตายคลอด หรือการติดเชื้อฝีดาษลิงตั้งแต่แรกเกิดของทารก

บทความล่าสุดในวารสาร Ultrasound in Obstetrics & Gynecology ได้ให้คำแนะนำแก่สูติแพทย์ที่ดูแลผู้ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อฝีดาษลิง ในการให้คำปรึกษาข้อดีข้อด้อยของวิธีการคลอดบุตรรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะวิธีผ่าคลอดทางหน้าท้อง หรือ Cesarean section และความเสี่ยงการถ่ายทอดเชื้อจากแม่ไปสู่ลูก ให้แก่ผู้รับบริการที่ติดเชื้อทุกราย น.พ.มอร์ริส ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะผู้เขียนบทความและประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร ได้ร่วมทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และความเสี่ยงของมารดาและทารกต่อโรคฝีดาษลิง พบว่า เชื้อไวรัสอาจแพร่จากครรภ์แม่สู่ลูกได้หลายขั้นตอน อาทิ การแพร่ผ่านรกเกิดเป็นโรคฝีดาษลิงแรกเกิด การสัมผัสโดยตรงระหว่างการทำคลอดผ่านสารคัดหลั่งและเยื่อบุต่าง ๆ จากแม่สู่ลูก แม้หลักฐานจะยังมีไม่มากพอที่จะสนับสนุนการติดเชื้อผ่านช่องทางเหล่านี้ ตลอดจนวิธีการทำคลอดที่ช่วยลดการติดเชื้อก็ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่หากบุคลากรผู้ดูแลตรวจพบแผลจากการติดเชื้อไวรัสที่บริเวณช่องทางคลอดของผู้ป่วย ควรหลีกเลี่ยงการคลอดทางช่องคลอดเพื่อป้องกันทารกสัมผัสกับเชื้อไวรัสฝีดาษลิงโดยตรง และแยกทารกออกจากสมาชิกครอบครัวที่ติดเชื้อ เพื่อควบคุมโรคและสังเกตอาการ มารดาที่ติดเชื้อฝีดาษลิงควรเว้นการให้นมทารกไปก่อนจนกว่าโรคจะหายสนิท อย่างไรก็ตาม บุคลากรทางการแพทย์ควรสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อมารดาพ้นระยะแพร่เชื้อ โดยระหว่างการรักษาและกักตัว ควรสนับสนุนให้มารดากระตุ้นการผลิตน้ำนมโดยทิ้งน้ำนมที่ติดเชื้อไป

นอกจากนี้ ผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงขณะตั้งครรภ์ อาจได้รับการพิจารณารับวัคซีนฝีดาษ (smallpox) ภายใน 14 วันหลังสัมผัสโรค ซึ่งแม้ไม่ช่วยป้องกันการติดเชื้อชัดเจน แต่สามารถลดความรุนแรงของโรคฝีดาษลิงได้ ทั้งนี้ ข้อมูลของการให้วัคซีนฝีดาษในผู้ตั้งครรภ์ยังมีไม่มากนัก งานวิจัยที่ทำมีขนาดเล็ก รวมจำนวนผู้ตั้งครรภ์ไม่ถึง 300 ราย อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบผลข้างเคียงจากการให้วัคซีนในกลุ่มนี้ และยังพบว่าปลอดภัยสำหรับผู้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกด้วย กระนั้น คำแนะนำการให้วัคซีนในหญิงตั้งครรภ์ควรตัดสินใจเป็นราย ๆ ไป โดยให้เป็นการตัดสินใจบนการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันระหว่างผู้ตั้งครรภ์และผู้ให้บริการทางการแพทย์

 

เรียบเรียงโดย พญ. สลิล ศิรินาม
ข้อมูลจาก
1.
https://www.medscape.com/viewarticle/975257
2. Ultrasound in Obstetrics & Gynecology: “Monkeypox and pregnancy: What do obstetricians need to know?”
3. Royal College of Obstetricians & Gynaecologists: “New paper provides best practice for managing monkeypox in pregnancy.”

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก