CIMjournal
banner หัวใจทั่วไป 3

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Atrial fibrillation) กับการประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจก่อนผ่าตัด


โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
(Atrial fibrillation, AF) เป็นประเด็นความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และโรคอัมพาตที่สำคัญ แต่ปัจจุบันยังไม่ได้อยู่ระบบคะแนนความเสี่ยงก่อนผ่าตัด หากบรรจุโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เข้าไปในระบบคะแนนจะทำให้การจัดกลุ่มความเสี่ยง การดูแลและป้องกันความเสี่ยง ทำได้แม่นยำ และได้ประโยชน์สูงขึ้นจากเดิม

การประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจก่อนผ่าตัดที่ไม่ใช่การผ่าตัดหัวใจ ในปัจจุบันมีระบบคะแนนที่ใช้หลายตัวแปรเพื่อความแม่นยำ ระบบที่นิยมใช้กันมาก คือ Revised Cardiac Risk Index (RCRI) ใช้บอกโอกาสการเกิดอันตรายจากโรคหัวใจขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัด ในปัจจุบันมีข้อมูลที่ระบุว่าหากมี Atrial fibrillation จะเพิ่มโอกาสการเสียชีวิตหลังผ่าตัดในเดือนแรกสูงถึง 30% แต่ยังเป็นการคิดความเสี่ยงโรคเดี่ยว ยังไม่ได้ประเมินว่าร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ ของโรคหัวใจตาม RCRI

ผู้วิจัยทำการศึกษาย้อนหลังจากปี 2015 – 2019 ในผู้ป่วยผ่าตัดที่ไม่ใช่โรคหัวใจ จำนวนประมาณแปดล้านคน โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่เป็น AF ประมาณ 1.1 ล้านคน และกลุ่มที่มีข้อมูลพื้นฐานใกล้เคียงกลุ่มแรก แต่ไม่ได้เป็น AF ประมาณ 1.9 ล้านคน เนื่องจากเป็นการศึกษาย้อนหลัง ไม่ได้กำหนดเกณฑ์การวิจัยในขณะมีข้อมูล จึงใช้วิธี propensity score matching เพื่อให้ข้อมูลกลุ่มที่ไม่มี AF ใกล้เคียงกันมากพอที่จะเปรียบเทียบได้ พบว่า การมี AF เพิ่มอัตราการเสียชีวิตที่หนึ่งเดือนถึง 31% และหากคิด AF รวมเข้ากับ RCRI แล้วนั้น การมี AF เพิ่มอัตราการเสียชีวิต 1.3 เท่า เพิ่มหัวใจล้มเหลว 1.3 เท่า และเพิ่มอัมพาต 1.4 เท่า ในช่วงหลังผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่มี AF แต่ที่พบต่างออกไป คือ โอกาสการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจะลดลง เมื่อนำประสิทธิภาพของระบบคะแนนหลังใส่คะแนนของ AF พบว่า การใช้ AF จะเพิ่มความสามารถในการคัดแยกผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงได้มากกว่าการใช้ RCRI แบบเดิมอย่างชัดเจน

Sameer Prasada จาก Cleveland clinic และทีมงาน ได้ทำงานวิจัยตีพิมพ์ใน JACC online เสนอว่าต่อไปควรรวมการมี AF เข้าเป็นการประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจหลังผ่าตัด เพราะมีข้อมูลว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคชัดเจน ไม่ว่าจะคิดแยกเดี่ยว หรือรวมกับการคำนวณ RCRI ที่เคยทำอยู่เดิม และในอนาคตอาจมีการปรับการคำนวณ RCRI ให้มีหัวข้อ AF ในไม่ช้านี้

 

ผู้เรียบเรียง นพ. ชาคริต หริมพานิช
ข้อมูลจาก https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0735109722048276

 

 

PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก