การศึกษา พบว่า การบำบัดทางจิตสังคม (Psychosocial Interventions) เช่น การสะกดจิต การปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) ช่วยรักษาภาวะปวดท้องโดยไร้โรคในเด็กและวัยรุ่น ได้สำเร็จมากที่สุด
อาการปวดท้องเรื้อรังอย่างน้อย 2 เดือนโดยไม่มีสาเหตุจากโรคทางกาย หรือ “ภาวะปวดท้องโดยไม่มีโรค” เป็นอาการป่วยที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แม้จะมีหลักฐานบางอย่างว่าอาจเกิดจากความผิดปกติของการควบคุม brain-gut axis ที่ไวกว่าคนปกติ ทำให้เกิดอาการปวดท้องเรื้อรังได้
Gordon และทีมวิจัยจาก University of Central Lancashire ในประเทศอังกฤษ ได้ทำการศึกษาโดยรวบรวมการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการรักษาภาวะปวดท้องโดยไร้โรคในเด็ก ด้วยการบำบัดทางจิตสังคมจำนวน 33 การศึกษา ซึ่งตีพิมพ์ใน JAMA เป็นเด็กอายุระหว่าง 7 – 17 ปี ที่มีภาวะปวดท้องโดยไร้โรค รักษาด้วยรูปแบบการบำบัดจิตทางสังคม ได้แก่ การสะกดจิต (ชี้ไปที่ระบบย่อยอาหาร), การบำบัดด้วยความรู้ความเข้าใจพฤติกรรม, การทำสมาธิพร้อมผ่อนคลาย, โยคะ เป็นต้น จำนวน 2,657 คน ซึ่ง 2 ใน 3 เป็นผู้หญิง ผลวิจัย พบว่า การบำบัดจิตทางสังคม และการสะกดจิต ช่วยให้ประสบความสำเร็จในการรักษา โดยสามารถลดความถี่ของการปวดลงได้ 2.37 เท่า และลดความรุนแรงของอาการปวดลงได้ 2.86 เท่า เมื่อเทียบกับการไม่ได้บำบัดด้วยวิธีใด ๆ เลย ส่วนการบำบัดโดยวิธีโยคะ ให้ผลการรักษาไม่แตกต่างกับการรักษาโดยไม่ได้บำบัดด้วยวิธีใด ๆ เลย
ผลการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่าการรักษาภาวะปวดท้องโดยไร้โรคในเด็ก ควรใช้เวลาพูดคุย และร่วมกันหาแนวทางการรักษากับคนไข้และญาติ และการบำบัดทางจิตสังคมอาจช่วยให้อาการดี ๆ ขึ้นแม้ว่าจะไม่ใช่ทุกราย
ข้อมูลจาก
1. https://www.medscape.com/viewarticle/973336#vp_1
2. https://jamanetwork.com/journals/jamapediatrics/article-abstract/2790967