ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับยาลดความดันโลหิตในกลุ่ม RASIs (Renin-angiotensin system inhibitors) มาก่อนที่จะได้รับการรักษาโรคโควิด 19 มีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่า หากเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยามาก่อน
ช่วงเวลาที่ผ่านมามีการศึกษาผลกระทบของการใช้ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม RASIs ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และมีการติดเชื้อโควิด 19 โดยยังมีข้อสรุปที่แตกต่างกันออกไป แต่หากพิจารณาตามลักษณะโครงสร้างของยาแล้ว มีโอกาสที่การได้รับยากลุ่ม RASIs จะทำให้เชื้อไวรัสโควิด19 ผ่านเข้าสู่เซลล์ได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ดีมีงานวิจัยหลายชิ้นได้ผลว่า การรับประทานยากลุ่มนี้ ไม่ได้มีผลทำให้การติดเชื้อโควิด 19 แย่ลง และไม่ได้เพิ่มอัตราการเสียชีวิตให้มากขึ้น
Mauro Gori และทีมงานจากอิตาลีได้ทำการศึกษา โดยได้นำข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโรคโควิด 19ในโรงพยาบาล Papa Giovanni XXIII ในประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ถึง 7 เมษายน ปี 2020 มาใช้ในการวิเคราะห์ พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด 688 ราย มี 240 ราย ที่เสียชีวิตขณะนอนโรงพยาบาลหรือหลังจากออกจากโรงพยาบาลไม่นาน และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกันพบว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 68 ปี หากได้รับยาลดความดันโลหิตต่อเนื่องมาตั้งแต่ก่อนนอนโรงพยาบาล จะมีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยามาก่อน ในขณะที่อัตราการเสียชีวิตไม่ได้แตกต่างกันในกลุ่มผู้ป่วยที่อายุน้อย ทางผู้วิจัยจึงได้แยกวิเคราะห์เพิ่มเติมสำหรับผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 68 ปี พบว่าการได้รับยาลดความดันโลหิตทั้งกลุ่ม ACEIs และ ARBs ทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงได้ถึง 0.57 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับยามาก่อน
ข้อมูลจากการศึกษา ทำให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและทานยาลดความดันโลหิตอยู่ ทั้งในกลุ่ม ACEIs และ ARBSs หากมีการติดเชื้อโควิด 19 แนะนำให้ทานยาลดความดันโลหิตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ
ข้อมุลจาก